อุทยานแห่งนี้สร้างขึ้นบนพื้นที่เหมืองแร่เหล็กอายุเก่าแก่นับร้อยปีที่มีชื่อว่าเหมืองแร่เหล็กต้าเหย่ (Daye Iron Mine) ซึ่งเป็นเหมืองแร่เปิดขนาดใหญ่ที่สุดของเอเชีย โดยหลังจากปี 1958 มีกองหินทิ้งและกากแร่กว่า 360 ล้านตันถูกทิ้งไว้ที่เหมืองแร่แห่งนี้
หลังจากการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วและการแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรนานกว่าทศวรรษ หวงสือได้รับการจัดอันดับให้เป็นเมืองที่ขาดแคลนทรัพยากรในปี 2009
ขณะบรรดาชาวบ้านท้องถิ่นได้เริ่มปลูกต้นไม้ที่เหมืองแร่แห่งนี้ในช่วงทศวรรษที่ 1980 เพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อม
เสี่ยวเมิ่ง เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำอุทยานฯ กล่าวว่าหลังจากที่ปลูกต้นไม้หลากหลายชนิด พบว่าต้นแคฝรั่งเป็นพืชที่เหมาะสมที่สุดที่สามารถปรับตัวในสภาพแวดล้อมที่ร้อนมากๆ ได้ จึงได้เริ่มขยายพื้นที่ปลูกต้นแคฝรั่งเป็นวงกว้างขึ้น จนปัจจุบันเหมืองแร่แห่งนี้ถูกปรับเปลี่ยนให้กลายเป็นอุทยานวัฒนธรรม
เสี่ยวเสริมว่าพวกเราปลูกต้นไม้ที่พื้นที่แห่งนี้มาเกือบ 40 ปีแล้ว โดยผู้คนเริ่มปลูกต้นไม้ที่นี่กันตั้งแต่รุ่นพ่อของเขา ซึ่งเคยทำงานเป็นนักขุดเหมืองแร่
เครดิต: ซินหัว