รู้หรือไม่ วัน "นอนหลับ" โลก 2566 ตรงกับ 17 มีนาคม ให้อาหารชีวิตด้วยการหลับให้เต็มอิ่ม เผยเคล็ด (ไม่) ลับ 10 เทคนิค "นอนหลับ" อย่างไรให้มีสุขภาพดี ลดเสี่ยงโรค
ข่าวที่น่าสนใจ
รู้หรือไม่ ทุกวันศุกร์ที่ของเดือนมีนาคมทุกปี ตรงกับวัน “นอนหลับ” โลก หรือ World Sleep Day ซึ่งในปีนี้ตรงกับวันที่ 17 มีนาคม 2566 ย้ำเตือนความสำคัญของการนอน ให้อาหารชีวิตด้วยการหลับให้เต็มอิ่ม
การนอน หลับที่ดีต้องคำนึงถึง 2 ปัจจัยหลัก ดังนี้
1. ระยะเวลาการนอน หลับที่เหมาะสมตามวัย
- ทารก 0-2 เดือน ต้องการนอน 12 – 18 ชม.
- ทารก 3 – 11 เดือน ต้องการนอน 14 – 15 ชม.
- เด็กต้องการนอน 11 – 12 ชม.
- วัยรุ่นต้องการนอน 8 – 9 ชม.
- ผู้ใหญ่และวัยสูงอายุต้องการนอน 7 – 8 ชม.
- สตรีมีครรภ์ต้องการนอน อย่างน้อย 8 ชม.ขึ้นไป
2. คุณภาพการนอน หลับที่ดีไม่ถูกรบกวนให้ตื่นระหว่างหลับ
- การนอน หลับอย่างเพียงพอและมีคุณภาพ
ข้อดีของการนอน หลับ หรือพักผ่อนเพียงพอ
- สร้างภูมิคุ้มกันและควบคุมอุณหภูมิในร่างกาย
- เพิ่มการหลั่งของฮอร์โมนที่ช่วยในการเจริญเติบโตและซ่อมแซมเนื้อเยื่อต่าง ๆ
- ลดการหลั่งของฮอร์โมนที่เพิ่มการย่อยสลายพลังงาน เพื่อเก็บสงวนพลังงานไว้ใช้ยามจำเป็น ทำให้ร่างกายได้พักผ่อน
- ช่วยให้ความทรงจำและการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ดีขึ้น
ในทางกลับกัน หากนอน หลับหรือพักผ่อนไม่เพียงพอจะส่งผลกระทบ ดังนี้
1. ผลกระทบระยะสั้น ได้แก่
- มีอาการง่วงนอนระหว่างวัน
- อารมณ์แปรปรวน
- การตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอกช้าลง
- มีอาการวูบหลับใน
- มีโอกาสเกิดอันตรายจากการขับรถหรือการทำงานที่ใช้ความระมัดระวังสูง มีความผิดพลาดในการตัดสินใจ
- สมาธิความจำไม่ดีส่งผลต่อการเรียน การทำงานในแต่ละวัน
2. ผลกระทบระยะยาว
- เกิดภาวะเจ็บป่วยง่าย
- โรคประจำตัวที่เป็นอยู่อาจกำเริบหรือควบคุมได้ยาก
10 เคล็ด (ไม่) ลับ “นอนหลับ” อย่างไรให้มีสุขภาพดี ลดเสี่ยงโรค
1. ควรเข้านอนและตื่นนอนให้ตรงเวลาทุกวัน
- ทั้งวันทำงานและวันหยุด
- ควรนอน หลับในระยะเวลาที่เหมาะสมกับช่วงอายุ
2. ไม่แนะนำให้งีบกลางวันนานเกินกว่า 30 นาที
- ไม่งีบหลับหลังบ่าย 3 โมง (เฉพาะในผู้ใหญ่ ส่วนเด็กอายุน้อยกว่า 6 ปี ควรนอนกลางวันตามปกติ)
3. หลีกเลี่ยงอาหารมื้อหนักและเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมคาเฟอีนอย่างน้อย 4 ชั่วโมงก่อนนอน
4. หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่อย่างน้อย 4 ชั่วโมงก่อนนอน
5. ควรผ่อนคลาย
- เพื่อลดความวิตกกังวลก่อนนอน
6. ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่ใกล้เวลานอนอย่างน้อย 2 ชั่วโมง
7. รับแสงแดดให้เพียงพอในตอนเช้าอย่างน้อย 30 นาทีทุกวัน
- หลีกเลี่ยงแสงสว่างตอนกลางคืน
8.ควรใช้เตียงนอนเพื่อการนอนเท่านั้น
9. ห้องนอนและเตียงนอนควรมีอุณหภูมิที่เหมาะสมเย็นสบาย
- ระบายอากาศดี
- ไม่ควรมีแสงเล็ดลอดเข้ามาและไม่ควรมีเสียงดัง
10. หากขึ้นเตียงนอนแล้วนอนไม่หลับภายใน 30 นาที
- ควรลุกจากที่นอนไปทำกิจกรรมผ่อนคลายอื่น
- เมื่อรู้สึกง่วงจัดค่อยกลับมานอนใหม่อีกครั้ง
ข้อมูล : กรมการแพทย์
ข่าวที่เกี่ยวข้อง