BTS โต้ “ชัชชาติ” แจงแก้ “รถไฟฟ้าสีเขียว” ไม่ตรงความจริง

สืบเนื่องจากผู้บริหารและพนักงาน บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ออกมาเคลื่อนไหวตอบโต้กระบวนการพิจารณาข้อกล่าวหาของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กรณีการจัดทำสัญญาว่าจ้างเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย รวมถึงเรียกร้องให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เร่งจัดการแก้ไขปัญหาหนี้สินค้างชำระจำนวนเกือบ 5 หมื่นล้านบาท

 

 

 

 

ขณะที่นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ระบุว่า กทม.พร้อมพูดคุยกับบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ รถไฟฟ้าบีทีเอส เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้ค่าจ้างเดินรถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย ที่คาราคาซังมานานกว่า 4 ปี หลังจากเมื่อวันที่ 14 มี.ค.66 พนักงานบีทีเอส ยื่นข้อเรียกร้องพล.อ.ประยุทธ์ ขอให้เข้ามาแก้ไขปัญหาหนี้สินจากการให้บริการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ภายใน 7 วัน หากไม่ดำเนินการจะพิจารณาหยุดการเดินรถส่วนต่อขยาย โดยมองว่าถ้าหากเกิดเหตุการณ์หยุดเดินรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายจะกระทบต่อประชาชน ซึ่งทางกทม.และบีทีเอส คงไม่ต้องการให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนขึ้นในการเดินทาง พร้อมยอมรับว่า คงต้องรอรัฐบาลชุดใหม่ ที่จะเข้ามาดูแลและพิจารณาประเด็นข้อพิพาทที่เกิดขึ้นนั้น

 

 

 

 

ล่าสุดนายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทระบบขนส่งมวลชน กรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC เปิดเผยกับทีมข่าว TOPEWS ว่า การที่พนักงานบริษัทได้เดินทางไปยื่นหนังสือที่ทำเนียบรัฐบาล เนื่องจากมีความกังวลในชีวิตของพนักงานในวันข้างหน้า เพราะเกรงว่าบริษัทจะไม่มีเงินค่าจ้างจ่ายเงินเดือนให้แก่พนักงาน จึงได้มีการรวมตัวกันและไปยื่นเรื่องต่อนายกรัฐมนตรี โดยทางผู้บริหารได้มีการเรียกพนักงานเหล่านั้น มาพูดคุยหารือกัน

 

 

 

 

โดยข้อเเรก เพื่อให้เกิดความสบายใจแก่พนักงาน บริษัทได้แจ้งว่า บีทีเอสไม่ได้มีธุรกิจรถไฟฟ้าสายสีเขียวเพียงธุรกิจเดียว แต่ยังมีธุรกิจอื่นๆ ร่วมด้วย จึงไม่ต้องกังวลและไม่ต้องเป็นห่วงต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน อีกทั้งในส่วนของนโยบายของบริษัท โดยเฉพาะนโยบายของนายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ที่ชัดเจนว่า

 

จะไม่มีการหยุดเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวอย่างแน่นอน และไม่เอาประชาชนมาเป็นตัวกัน โดยจะเดินรถจนถึงวันสุดท้ายที่บริษัททำไมไหว ซึ่งปัจจุบัน เงินที่ใช้ในการดำเนินธุรกิจ เป็นเงินกู้ เนื่องจากบริษัทมีรายได้เข้ามาน้อยมาก จึงต้องกู้เงิน และหากวันนี้ ทางด้านเจ้าหนี้ ยังให้ความเชื่อมั่นและยังให้บริษัทกู้เงินอยู่ บริษัทก็ยังจะเดินรถต่อไป แต่หากเจ้าหนี้ไม่เชื่อมั่น ไม่ให้บริษัทกู้เงิน อาทิ มีการปล่อยข่าวทำให้เจ้าหนี้มีความกังวล และไม่ให้กู้เงิน ก็จำเป็นที่จะต้องหยุดเดินรถ ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้น บริษัทจะมีการแจ้งให้ประชาชนผู้ใช้บริการได้รับทราบล่วงหน้า เพื่อจะได้เตรียมตัวได้ทัน โดยบริษัท ไม่ต้องการให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น จึงต้องการให้มีการแก้ไขปัญหาภาระหนี้โดยเร็ว

ข่าวที่น่าสนใจ

ผู้สื่อข่าว ถามถึงความกังวลเกี่ยวกับค่าจ้างเดินรถ ที่ทางด้าน นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ออกมาระบุว่า ในส่วนภาระหนี้ขณะนี้ยังไม่มีแนวโน้มหรือท่าทีที่จะจ่ายเงินให้แก่บริษัท แม้ว่าศาลปกครองกลางได้ตัดสินให้ทางกทม. และบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด หรือ เคที จ่ายเงินให้บริษัท นายสุรพงษ์ ยอมรับว่า เรื่องดังกล่าวบริษัทค่อนข้างมีความกังวล เนื่องจากบริษัททำงานมาอย่างต่อเนื่อง โดย 10 ปีที่ผ่านมา เคที และ กทม.ก็มีการจ่ายเงินค่าจ้างเดินรถให้แก่บีทีเอสมาโดยตลอด โดยเฉพาะส่วนต่อขยาย 1 และเหตุใดวันนี้จึงไม่จ่ายค่าจ้างเดินรถให้แก่บีทีเอส

 

ทั้งนี้ ตนเองเข้าใจว่า ขณะนี้ทางด้านของกทม. ได้มีการอ้างถึงคำสั่งของ ม.44 ที่ทำให้กทม.จ่ายเงินค่าจ้างเดินรถให้เอกชนไม่ได้ โดยต้องบอกว่า ในส่วนของคำสั่งม.44 นั้น ยังไม่ถึงขั้นตอนที่ทางบริษัทจะต้องไปทำข้อตกลง จึงเชื่อว่า ในส่วนของค่าจ้างเดินรถนั้น กทม. และเคที สามารถที่จ่ายเงินให้บีทีเอสได้ โดยให้จ่ายในส่วนที่จ่ายได้มาก่อน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้บริษัท และสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน และเจ้าหนี้ของบริษัท

ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่ทางด้านของผู้ว่าฯ กทม. ระบุว่าพร้อมพูดคุยกับบีทีเอส เพื่อร่วมกันหาทางออกนั้น นายสุรพงษ์ ระบุว่า ขณะนี้บริษัทยังรออยู่ ซึ่งเข้าใจว่าหลังจากที่ตนได้เดินทางไปยังกรุงเทพธนาคม เพื่อหารือกับคณะกรรมการของกรุงเทพธนาคม ได้แจ้งว่าจะมีการจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษารายละเอียดในการมาเจรจากับบีทีเอส ซึ่งขณะนี้บริษัทก็ยังคงรออยู่

 

ส่วนกรณีนายชัชชาติ ระบุถึงการเดินรถส่วนต่อขยายที่มีผู้ใช้บริการหลายแสนคน ป้อนเข้าสู่ส่วนสัมปทานที่เป็นเส้นทางไข่แดงแบบฟรีๆ ให้บีทีเอส ทำให้บีทีเอสมีรายได้และได้ค่าแรกเข้าทันที ถือเป็นผลประโยชน์ที่ทำให้บีทีเอสมีรายได้จุนเจือบ้าง แม้ยังไม่ได้ค่าจ้างซึ่งค่าเดินรถที่กทม.ยังไม่จ่ายนั้น นายสุรพงษ์ กล่าวว่า การเดินรถส่วนต่อขยายนั้น ทางบีทีเอสค่อนข้างมีประสบการณ์ในเรื่องนี้ ซึ่งเมื่อมีเส้นทางส่วนต่อขยายก็จะมีผู้โดยสาร อันดับแรก การเดินทางของประชาชนในช่วงเเรกๆ จะเป็นบุคคลเดิม ๆ ที่ใช้บริการรถไฟฟ้าสีเขียวอยู่แล้ว เพียงแต่เป็นการใช้บริการในระยะทางที่ไกลขึ้น ซึ่งเปิดให้บริการฟรี จึงไม่ถือเป็นการเพิ่มผู้โดยสารให้ในส่วนสัมปทานมากนัก ดังนั้น ผู้ใช้บริการจึงเป็นบุคคลเดิม ๆ

 

สอง การส่งผู้โดยสารเข้าส่วนสัมปทาน บริษัทได้จัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งมวลชนทางราง บีทีเอสโกรท หรือ BTSGIF ทำให้รายได้ที่ได้จากผู้โดยสารทั้งหมดจะต้องถูกส่งเข้ากองทุน BTSGIF ไม่ได้มีการนำเอารายได้เหล่านั้นเข้าสู่บริษัท แม้ว่าบริษัทแม่ของบีทีเอส จะมีการถือหน่วยลงทุนอยู่บางส่วน ซึ่งก็จะต้องรอเงินปันผล เช่นเดียวกันนักลงทุนทั่วไป ดังนั้น รายได้ที่เกิดขึ้นจากการจัดเก็บค่าโดยสารจึงไม่ใช่รายได้ของบริษัท และเป็นคนละส่วนกัน

 

สาม ต้องขอชี้แจงเพื่อสร้างความเข้าใจที่ตรงกัน เพราะเกรงว่าประชาชนจะเข้าใจว่า บริษัทให้บริการเดินรถส่วนต่อขยายเพื่อทำให้เกิดประโยชน์ในส่วนของสัมปทาน ว่า ในเรื่องของการเดินรถได้มีการหารือกันมานานร่วมกับรัฐบาลและเสนอขอตั้งแต่ช่วงที่มีการเชื่อมรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ที่พญาไท โดยสรุปว่าการดำเนินการส่วนต่อขยายโดยมีการเชื่อมเส้นทางจะเป็นประโยชน์ซึ่งกันและกัน เช่น กรณีส่วนต่อขยายหากคิดเป็นโครงการเดียวกับตรงพื้นที่สัมปทาน จะต้องนำตัวเลขส่วนต่อขยายมาคิดและรวมอยู่ในนี้ด้วย

 

 

 

แต่หากคิดแยกเป็นคนละโครงการ เช่น กรณีนี้ที่ส่วนสัมปทานจะเป็นของบีทีเอส และส่วนต่อขยายจะเป็นของกทม. ทางกทม.ก็จะมีรายได้จากค่าโดยสารของกทม. จะเป็นการส่งผู้โดยสารให้ซึ่งกันและกัน โดยผู้โดยสารจากส่วนกลางก็จะไปใช้บริการส่วนต่อขยาย และผู้โดยสารส่วนต่อขยายก็จะไปใช้บริการส่วนตรงกลาง ซึ่งจะได้ค่าโดยสาร

 

 

ซึ่งจากการหารือร่วมกันกับรัฐบาลก่อนที่บริษัทจะมาให้บริการเดินรถส่วนต่อขยายนั้น สรุปว่า ในการดำเนินการดังกล่าวจะเป็นการเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน และประชาชนจะได้ประโยชน์สูงที่สุด ที่จะได้รับความสะดวกเพิ่มขึ้น โดยตัวเลขรายได้ที่เกิดขึ้นสามารถที่จะคิดได้เพราะเป็นตัวเลขที่ตรงไปตรงมา

 

ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่นายชัชชาติ มีแนวคิดจะคืนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย ไปให้หน่วยงานเดิมดูแลนั้นจะส่งผลกระทบต่อบีทีเอสหรือไม่ นายสุรพงษ์ ระบุว่า ต้องขึ้นอยู่กับนโยบายของผู้บริหาร แต่ต้องการให้คำนึงถึงความสะดวกของประชาชนเป็นหลัก เพราะก่อนหน้านี้โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนตรงกลางหรือ ส่วนไข่แดง และส่วนต่อขยายที่ 1 เป็นของกทม. แต่ในส่วนของส่วนต่อขยายที่ 2 ที่ยังไม่มีการเก็บค่าบริการนั้น เป็นของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) รัฐบาลที่ผ่านมา โดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มีนโยบายให้โอนโครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายที่ 2 กลับมาเป็นของกทม. เพื่อต้องการให้ประชาชนได้รับความสะดวก ได้ใช้บริการโดยไม่ต้องเปลี่ยนขบวนรถ และมีความปลอดภัย ซึ่งของเดิมที่ทำไว้จะทำให้ประชาชนต้องเปลี่ยนขบวนรถ เพราะไม่ได้มีการเชื่อมต่อโดยตรงแบบปัจจุบันนี้ ส่วนในเรื่องของการจัดเก็บค่าแรกเข้านั้น ก็จะต้องขึ้นอยู่กับนโยบายของกทม. หรือ รัฐบาล

 

 

ผู้สื่อข่าวถามถึง กรณีภาระหนี้เกือบ 5 หมื่นล้านบาท ที่บีทีเอสแบกรับอยู่ในขณะนี้ และยังไม่มีแนวโน้มว่าจะหาข้อสรุปได้ในรัฐบาลชุดปัจจุบัน และอาจจะยืดเยื้อไปยังรัฐบาลชุดถัดไป จะส่งผลกระทบกับการดำเนินธุรกิจของบริษัทมากน้อยแค่ไหน

 

 

นายสุรพงษ์ ระบุว่าในเรื่องนี้ขึ้นอยู่กับ 3 ส่วนคือ กทม.กระทรวงมหาดไทย และรัฐบาลหรือ ครม. ที่จะต้องร่วมกันตัดสินใจว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป ซึ่งในส่วนหลักอาจจะอยู่ที่กทม. เพราะหากกทม แสดงจุดยืนที่ชัดเจนว่า จะดำเนินการอย่างไร กทม.ก็ควรตัดสินใจว่าจะทำอย่างไร เช่นหากจะคืนส่วนต่อขยายที่ 2 ให้รัฐบาล ถ้ามีความจำเป็น ก็ต้องทำ แต่ก็อย่าละเลยเรื่องความสะดวกปลอดภัยของผู้โดยสารที่ได้ดำเนินการมา ในส่วนของบริษัทจะได้รับผลกระทบหรือไม่ ตนเองมองว่า หากดำเนินการอย่างตรงไปตรงมา แฟร์ แฟร์ ก็ไม่ควรจะ เพราะบริษัทก็มีสัญญาว่าจ้างเดินรถอยู่ แต่หากจะเปลี่ยนคู่สัญญาก็สามารถที่จะทำได้

 

 

 

ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีหากรัฐบาลชุดปัจจุบันยังไม่มีคำตอบให้แก่บีทีเอส และยืดเยื้อไปยังรัฐบาลชุดใหม่ในส่วนของภาระหนี้ที่เกิดขึ้นจะดำเนินการเช่นไร นายสุรพงษ์ระบุว่า ในส่วนของค่าจ้างเดินรถที่เกิดขึ้น ไม่ได้เป็นของ บีทีเอสกับรัฐบาล แต่เป็นระหว่าง บีทีเอส กับ เคที ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ กทม. จึงมองว่า กทม.ก็ควรที่จะต้องเข้ามาแก้ปัญหา แต่หากกทม.ต้องการให้รัฐบาลเข้ามาสนับสนุนหรือช่วยอะไร ก็จะต้องร้องขอไปยังรัฐบาล

 

ส่วนกรณีที่ ป.ป.ช. แจ้งข้อกล่าวหาบีทีเอส นั้น นายสุรพงษ์ ระบุว่า ผมยังมองไม่เห็นว่าทำผิดตรงไหน และเราได้ทำหนังสือถามไปยังป.ป.ช.ว่าประเด็นที่ได้มีการกล่าวหารายละเอียดเป็นอย่างไรตามที่ได้มีการแถลงข่าวไปแล้ว พร้อมยอมรับว่ากระแสข่าวที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อหุ้นของบริษัทโดยเฉพาะในช่วงแรกที่ราคาหุ้นปรับตัวลดลงไปติดราคาฟลอร์ ทำให้ทางบริษัท ได้มีการเปิดประชุมร่วมกับ นักวิเคราะห์ นักลงทุน และผู้ถือหุ้น ซึ่งตนได้ชี้แจงถึงที่มาที่ไปถึงสาเหตุที่เกิดขึ้น ซึ่งหลังจากที่นักวิเคราะห์และนักลงทุนเข้าใจ ราคาหุ้นจึงปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอีกครั้ง

 

ผู้สื่อข่าวถามถึงกระเเสข่าวที่เกิดขึ้นและหากยังมีออกมาอย่างต่อเนื่อง จะส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนรวมถึงกระทบต่อราคาหุ้นของบริษัท ซึ่งจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) บริษัทมีความกังวลมาน้อยแค่ไหน นายสุรพงษ์ ระบุว่า เรื่องที่เกิดขึ้นค่อนข้างน่าเป็นห่วงที่มีการปล่อยข่าวทำนองนี้ออกมาซึ่งส่งผลกระทบต่อราคาหุ้น รวมถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนบางส่วน พร้อมหวังว่าจะไม่มีเหตการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอีก เพราะหากเกิดความเสียหายขึ้นอีก ทางด้านผู้ถือหุ้นก็อาจจะมีการฟ้องร้องดำเนินคดีกับผู้ที่ทำให้เกิดสิ่งเหล่านี้ได้ ซึ่งเบื้องต้น ฝ่ายกฎหมายของบริษัทได้มีการเก็บรวบรวมหลักฐานทั้งหมดไว้แล้ว

 

 

 

ส่วนความคืบหน้าการยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง ประกอบด้วย
– ครั้งแรกเป็นการยื่นฟ้องไปเมื่อเดือนกรกฎาคม 2564 โดยมีมูลหนี้ประมาณ 12,000 ล้านบาท เป็นค่าจ้างเดินรถของสัญญาส่วนต่อขยายที่ 1 เริ่มตั้งแต่ เดือน พ.ค. 2562 ที่ยังไม่มีการชำระ และสัญญาส่วนต่อขยายที่ 2 ตั้งแต่ปี 2560 จนถึงเดือน พ.ค 64 ซึ่งศาลปกครองกลางได้ตัดสินให้กทม. และกรุงเทพธนาคมร่วมกันชำระหนี้ก้อนนั้น พร้อม ดอกเบี้ย โดยขณะนี้ อยู่ระหว่างการส่งเอกสารเพิ่มเติม หลังจากกทม.และ เคทีได้มีการยื่นอุทธรณ์ ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลปกครองสูงสุด

 

– ส่วนคดีที่ 2 บริษัทมีการฟ้องเพิ่มเมื่อเดือน พ.ย. ที่ผ่านมา โดยมียอดหนี้ที่ 1.1 หมื่นล้านบาท โดยเป็นช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือน มิ.ย. 64 ถึงเดือน ต.ค. 65 ขณะนี้ อยู่ระหว่างเคทีทำคำคัดค้านส่งไปยังศาลฯ อาทิ สัญญาไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่ง BTSC ก็ได้รับคำคัดค้านนั้น และอยู่ระหว่างการเตรียมคำชี้แจงและคำอธิบายส่งไปยังศาลปกครองกลาง ขณะที่ส่วนของกทม. ยังไม่ได้ รับคำคัดค้านใด ๆ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ผู้ต้องหา ฆ่าตัดนิ้ว "แม่ยายอัยการ" เปิดปากรับสารภาพ ด้านตร.ไม่ปักใจเชื่อ เตรียมทำแผนวันนี้
ทนายบอสพอล เตรียมเข้าแจ้งความ “เจ๊พัช-ฟิล์ม รัฐภูมิ” ปมเรียกเงิน 20 ล้าน ภายในสัปดาห์นี้
สุดปัง “สับปะรดห้วยมุ่น” ผลไม้ไทยรายการแรก ขึ้นทะเบียน GI ญี่ปุ่น
โกลาหลกลางดึก เกิดเหตุไฟไหม้ "คุ้มเจ้าป้ากาญจนา" ทายาทตระกูลดัง เผาวอด
สภาพอากาศวันนี้ "กรมอุตุฯ" เผยอุณหภูมิลดลงเล็กน้อย-มีลมแรง เตือนภาคใต้ ยังเจอฝนตกหนัก
"จิราพร" ชวนคนไทยศึกษาโครงการหลวง สานต่อพระราชปณิธาน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน
“กัน จอมพลัง” รุดช่วยเด็ก 2 เดือน ถูกแม่เสพยาบ้า ทำร้าย
สพฐ. จับมือผู้บริหารเขตพื้นที่ชายแดนใต้ ขับเคลื่อนนโยบายเชิงรุก ร่วมใจสร้างคุณภาพทุกห้องเรียน
"สรวงศ์" ลุยแก้ปัญหา "เกาะกูด" ดึงนทท.ต่างชาติ ระดับไฮเอนด์ กระตุ้นการท่องเที่ยวในพื้นที่
ส่องเงินรางวัล "โอปอล สุชาตา" หลังคว้ารองอันดับ 3 เวที Miss Universe 2024

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น