ตะลึงพบ11หลุมยุบทำช้างป่าตก อธิบดีอุทยานฯสั่ง อช.ลำคลองงู เร่งแก้

อธิบดีเอ็ดดี้สั่งหมอล็อต ร่วมหน.อุทยานฯลำคลองงู เร่งแก้หลุมยุบที่ช้างป่าตก ตะลึงพบหลุมขนาดใหญ่มากถึง11หลุม และหลุมขนาดเล็กอีกเพียบ เร่งแก้ไขปิดปากหลุม พร้อมประสานธรณีวิทยาเข้าสำรวจพื้นที่

เมื่อเวลา 11.20น.วันที่ 23 มีนาคม 2566 นายพิเชษฐ์ ชัยสวัสดิ์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติลำคลองงู อ.ทองผาภุมิ จ.กาญจนบุรี เปิดเผยว่า หลังจากที่มีการช่วยเหลือ 2ช้างป่าแม่ลูก ที่ตกลงไปในหลุมยุบ ใกล้โรงเรียนเหมืองสองท่อ ตำบลชะแล อำเภอทองผาภูมิ ก็เร่งทำการสำรวจหลุบยุบเพิ่มเติม พบมีถึง 11 หลุม ที่มีขนาดใหญ่และลึก นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม นายอรรถพล เจริญชันษา รักษาการอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้มีความเป็นห่วงในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก ได้สั่งการให้ดำเนินการแก้ไขปิดหลุมยุบนี้โดยเร่งด่วน พร้อมให้นายสัตวแพทย์ภัทรพล มณีอ่อน หรือหมอล็อต สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานฯ ลงพื้นที่เข้าร่วมดำเนินการ

ทั้งนี้ นายพิเชษฐ์ ชัยสวัสดิ์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติลำคลองงู นายสัตวแพทย์ภัทรพล มณีอ่อน หรือหมอล็อต สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานฯ ได้ประชุมร่วมกับชุมชนเหมืองสองท่อ มูลนิธิพิทักษ์คชสาร และเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เพื่อทำแผนปฏิบัติการกลบหลุมยุบ ในพื้นที่บ้านเหมืองสองท่อ โดยหลุมดังกล่าวทั้งหมด อยู่ในพื้นที่ป่าสงวน และพื้นที่เหมือนเก่า

ข่าวที่น่าสนใจ

ด้านนายสัตวแพทย์ภัทรพล มณีอ่อน หรือหมอล็อต เผยว่า เดิมทีตามแผนเดิม ต้องการที่จะกลบหลุมยุบ ทุกหลุมที่พบ ซึ่งต้องใช้ดินจำนวนมาก และความลึกของหลุมไม่แน่นอน อาจทำให้กลบปิดหลุมไม่มิด อีกทั้งต้องใช้งบประมาณมาก หากปล่อยไว้เนิ่นนาน อาจมีช้างป่าตกลงไป จนได้รับบาดเจ็บอีก  ซึ่งที่ผ่านมาก็มีชาวบ้านแจ้งให้ทราบว่า เคยมีเด็กและสัตว์เลี้ยง ตกลงไปในหลุมหยุบดังกล่าว จึงได้ทำมาตรการเพื่อลดโอกาส และความเสี่ยง ที่ช้างป่าจะตกไปในหลุมก่อน จำนวน 3 หลุม

โดยหลุมที่ 1 จะไม่ปิดปากหลุม แต่จะทำทางลาด เพื่อให้ช้างลงไปแล้วสามารถขึ้นได้เอง

หลุมที่ 2 หลุมนี้มีขนาดปากหลุม ที่แคบ และลึก ปากหลุมมีก้อนหินขนาดใหญ่ล้อมรอบ จึงต้องจัดหาท่อนไม้และเสาปูน ที่ไม่ได้ใช้งาน นำมาปิดปากหลุม ให้แคบลง

ส่วนหลุมที่ 3 เป็นหลุมที่มีต้นมะเดื่อและต้นกล้วย ซึ่งดึงดูดให้ช้างมาที่ปากหลุม และเสี่ยงอันตราย จึงได้ทำการ ล้อมรั้วลวดหนาม เพื่อป้องกันช้างตกหลุม ในระดับความสูงของลวดหนาม ที่สามารถกันช้าง ที่มีขนาดต่างกันได้ ซึ่งช้างยังสามารถกินลูกมะเดื่อจากต้นได้เช่นเดิม  ส่วนการดำเนินการต่อไป จะมีการปลูกหญ้าแฝกและต้นไผ่ บริเวณปากหลุมทุกหลุม เพื่อป้องกันดินทรุดยุบตัว เวลาที่ช้างเดินมาใกล้ปากหลุม อีกทั้งรั้วลวดหนาม ยังป้องกันคนและสัตว์เลี้ยง เข้ามาบริเวณนี้ด้วย

อย่างไรก็ตาม จะมีการรวบรวมผลการดำเนินงาน และรายงานข้อมูลต่างๆ ให้ผู้บังคับบัญชาทราบ เพื่อประสานให้นักวิชาการทางด้านธรณี และน้ำบาดาล เข้าวิเคราะห์สาเหตุ และแนวทางการจัดการ ด้านความปลอดภัยที่เหมาะสม ให้กับคนและช้างป่าในพื้นที่ต่อไป อีกทั้งในการดำเนินการแก้ไขหลุมยุบ ของเจ้าหน้าที่ในครั้งนี้ สร้างความประทับใจ และพึงพอใจ แก่ชาวบ้านในพื้นที่ เป็นอย่างมาก ที่คิดเร็ว ทำเร็ว ในการแก้ไขปัญหา

วุฒิเดช ก้อนทองคำ / วิริยา บุญสูง (กาญจนบุรี)

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เปิดตัว "TKR Connect" แพลตฟอร์มจัดหางานครบวงจร สร้างมิติใหม่รองรับแรงงานต่างด้าวอย่างถูกกม.
ออกหมายจับ "หมอบุญ" พร้อมพวกรวม 9 คน “ฉ้อโกง-ฟอกเงิน” ปลอมลายเซ็นอดีตลูกสะใภ้กู้เงิน 8 พันล้าน
ระทึกกลางดึก ไฟไหม้ "ร้านกาแฟ" เผาวอดทั้งหลัง เสียหายกว่า 7 แสนบาท
"อุตุฯ" เผย "เหนือ-อีสาน-กลาง" อากาศเย็นตอนเช้า เตือนใต้ยังรับมือฝนตก
แม่ทัพภาคที่ 2 ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนครอบครัวกำลังพล ห่วงใยไปถึงบ้าน เพราะเราคือครอบครัวกองทัพบก
สวนนงนุชพัทยาเปิดเวที CHONBURI PROUD EXPO 2024 หนุน SMEs ชลบุรีสู่ตลาดโลก
“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น