กรมประมง ประกาศ “ปิดอ่าว 2566” อันดามัน 3 เดือน ให้ปลาวางไข่

ปิดอ่าว 2566, อันดามัน, อ่าวอันดามัน, ภูเก็ต, พังงา, กระบี่, ภูเก็ต, ทรัพยากรสัตว์น้ำ, สัตว์น้ำ, ฤดูสัตว์น้ำมีไข่ วางไข่ เลี้ยงตัวอ่อ, ทะเลอันดามัน, ทรัพยากรสัตว์น้ำ,​ กรมประมง, เรือประมง

กรมประมง ประกาศ "ปิดอ่าว 2566" อันดามัน 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. – 30 มิ.ย. เพื่อให้ปลาทะเลได้วางไข่

กรมประมง ประกาศ “ปิดอ่าว 2566” อันดามัน 3 เดือน ในเขตพื้นที่จ.ภูเก็ต พังงา กระบี่ และตรัง ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน – 30 มิถุนายน ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

“ปิดอ่าว 2566” จากผลสำรวจในปี 2565 พบสัตว์น้ำวัยอ่อนที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจหลายชนิดในช่วงมาตรการฯ มีความชุกชุมมากกว่าช่วงก่อนมาตรการฯ ถึง 2 เท่าตัว สะท้อนความเหมาะสมทั้งช่วงเวลาและพื้นที่ที่มีการบังคับใช้มาตรการฯ จึงคงพื้นที่ ห้วงเวลา และเครื่องมือตามมาตรการเดิมไว้

นายเฉลิมชัย สุวรรณรักษ์ อธิบดีกรมประมง กล่าวว่า จากนโยบาย ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ให้ความสำคัญในเรื่องการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำอย่างมีส่วนร่วมกับชุมชน เพื่อให้ชุมชนมีบทบาทในการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำในท้องถิ่นและใช้ประโยชน์ทรัพยากรสัตว์น้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด นำไปสู่การสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้แก่พี่น้องชาวประมง

 

ปิดอ่าว 2566, อันดามัน, อ่าวอันดามัน, ภูเก็ต, พังงา, กระบี่, ภูเก็ต, ทรัพยากรสัตว์น้ำ, สัตว์น้ำ, ฤดูสัตว์น้ำมีไข่ วางไข่ เลี้ยงตัวอ่อ, ทะเลอันดามัน, ทรัพยากรสัตว์น้ำ,​ กรมประมง, เรือประมง

 

ตามแนวทางสำคัญในการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำให้มีความยั่งยืน กรมประมงจึงได้มีการประกาศ “ปิดอ่าว 2566” ใช้มาตรการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำในฤดูสัตว์น้ำมีไข่ วางไข่ เลี้ยงตัวอ่อน ฝั่งทะเลอันดามันมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2528 ระหว่างวันที่ 1 เมษายน – 30 มิถุนายนของทุกปี ในบางส่วนของพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่

  • จ.ภูเก็ต
  • พังงา
  • กระบี่
  • ตรัง

ควบคู่ไปกับการรวบรวมและวิเคราะห์ผลการศึกษาทางวิชาการอย่างสม่ำเสมอ เพื่อนำมาปรับปรุงมาตรการให้สอดคล้องกับสภาวะของทรัพยากรสัตว์น้ำ สิ่งแวดล้อม และสังคมในปัจจุบัน

ผลการศึกษาทางวิชาการในช่วงการประกาศใช้มาตรการฯ ปี 2565 พบว่าสัตว์น้ำที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจหลายชนิด มีความสมบูรณ์เพศสูง (ร้อยละ 90 – 100) โดยเฉพาะในเดือนมิถุนายน พบสัตว์น้ำวัยอ่อนมีความหนาแน่นสูงสุดถึง 1,197 ตัว/1,000 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งมากกว่าช่วงก่อนประกาศใช้มาตรการฯ ที่มีความหนาแน่นเพียง 470 ตัว/1,000 ลบ.ม.

 

ปิดอ่าว 2566, อันดามัน, อ่าวอันดามัน, ภูเก็ต, พังงา, กระบี่, ภูเก็ต, ทรัพยากรสัตว์น้ำ, สัตว์น้ำ, ฤดูสัตว์น้ำมีไข่ วางไข่ เลี้ยงตัวอ่อ, ทะเลอันดามัน, ทรัพยากรสัตว์น้ำ,​ กรมประมง, เรือประมง

 

อีกทั้ง ข้อมูลขนาดสัตว์น้ำที่จับได้จากเครื่องมือประมงที่อนุญาตให้ใช้ในช่วงประกาศใช้มาตรการฯ เช่น อวนกุ้งและอวนปู พบว่ามีขนาดเหมาะสม โดยมีขนาดความยาวมากกว่าความยาวแรกสืบพันธุ์ จึงเป็นการยืนยันได้ว่ามาตรการที่ใช้มีความสอดคล้องกับผลการศึกษาทางวิชาการทั้งในด้านพื้นที่และช่วงเวลาในมาตรการฯ ว่ามีความถูกต้อง และเหมาะสมกับฤดูสัตว์น้ำมีไข่ วางไข่ และยังเป็นส่วนหนึ่งในการเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำ เพื่อคงความสมดุลทางธรรมชาติอีกด้วย

ดังนั้น กรมประมงจึงประกาศ “ปิดอ่าว 2566” ใช้มาตรการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำในฤดูสัตว์น้ำมีไข่ วางไข่ เลี้ยงตัวอ่อน ฝั่งทะเลอันดามันประจำปี 2566 ในเขตพื้นที่บางส่วนของ

  • จ.ภูเก็ต
  • พังงา
  • กระบี่
  • ตรัง

ตั้งแต่ปลายแหลมพันวา จ.ภูเก็ต – ปลายแหลมหยงสตาร์ จ.ตรัง ครอบคลุมพื้นที่ 4,696 ตารางกิโลเมตร ระหว่างวันที่ 1 เมษายน – 30 มิถุนายน 2566 ตามประกาศฯ และกำหนดชนิดของเครื่องมือประมง วิธีการทำการประมง และเงื่อนไขที่สามารถทำการประมงได้ในช่วงประกาศใช้มาตรการฯ ดังนี้

 

ปิดอ่าว 2566, อันดามัน, อ่าวอันดามัน, ภูเก็ต, พังงา, กระบี่, ภูเก็ต, ทรัพยากรสัตว์น้ำ, สัตว์น้ำ, ฤดูสัตว์น้ำมีไข่ วางไข่ เลี้ยงตัวอ่อ, ทะเลอันดามัน, ทรัพยากรสัตว์น้ำ,​ กรมประมง, เรือประมง

 

  • เครื่องมืออวนลากแผ่นตะเฆ่ ที่ใช้ประกอบเรือกลที่มีขนาดความยาวไม่เกิน 14 เมตร และต้องทำการประมงในเวลากลางคืนนอกเขตทะเลชายฝั่ง
  • เครื่องมืออวนล้อมจับปลากะตัก ทำการประมงเฉพาะในเวลากลางวัน และต้องทำการประมงนอกเขตทะเลชายฝั่ง
  • เครื่องมืออวนติดตาปลาที่มีขนาดช่องตาอวน ตั้งแต่ 4.7 เซนติเมตรขึ้นไป มีความยาวอวน ไม่เกิน 2,500 เมตรต่อเรือประมง 1 ลำ ทำการประมงในเขตทะเลชายฝั่ง และเครื่องมืออวนติดตาปลาที่มีช่องตาอวนตั้งแต่ 4.7 เซนติเมตรขึ้นไป มีความยาวอวนเกิน 2,500 เมตร ต่อเรือประมง 1 ลำ ทำการประมงนอกเขตทะเลชายฝั่ง
  • เครื่องมืออวนปู อวนลอยกุ้ง อวนหมึก
  • เครื่องมืออวนครอบ อวนช้อน หรืออวนยกหมึก ที่ใช้ประกอบกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (เครื่องปั่นไฟ) ทำการประมงนอกเขตทะเลชายฝั่ง
  • ลอบปูที่มีขนาดตาอวนโดยรอบตั้งแต่ 2.5 นิ้วขึ้นไป ใช้ทำการประมงไม่เกิน 300 ลูก ต่อเรือประมง 1 ลำ ทำการประมงในเขตทะเลชายฝั่ง และลอบปูที่มีขนาดช่องตาท้องลอบตั้งแต่ 2.5 นิ้วขึ้นไป ทำการประมงนอกเขตทะเลชายฝั่ง
  • ลอบหมึกทุกชนิด

 

 

  • ซั้งทุกชนิดที่ใช้ประกอบทำการประมงพื้นบ้านในเขตทะเลชายฝั่ง
  • คราดหอยที่ใช้ประกอบเรือกลที่มีขนาดความยาวไม่เกิน 18 เมตร มีความกว้างของปากคราดไม่เกิน 3.5 เมตร ช่องซี่คราดไม่น้อยกว่า 1.2 เซนติเมตร และจำนวนของเครื่องมือคราดหอยต้องไม่เกิน 3 อัน (หน่วย) ต่อเรือกล 1 ลำ ที่ทำการประมงนอกเขตทะเลชายฝั่ง โดยต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดเครื่องมือทำการประมง รูปแบบ และพื้นที่ทำการประมงของเครื่องมือคราดหอยที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำ พ.ศ. 2560 ลงวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
  • อวนรุนเคย โดยต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ออกตามความในมาตรา 68 แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558
  • จั่น ยอ แร้ว สวิง แห เบ็ด สับปะนก ขอ ลอบ ฉมวก แผงยกปูจักจั่น
  • เครื่องมืออื่นใดที่ไม่ใช้ประกอบเรือกลขณะทำการประมง
  • การใช้เรือประมงที่มีขนาดต่ำกว่า 10 ตันกรอส ที่ใช้เครื่องยนต์มีกำลังแรงม้าไม่ถึง 280 แรงม้า ประกอบเครื่องมือทำการประมงอื่นใดที่ไม่เป็นเครื่องมือประมงพาณิชย์ ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดให้การใช้เรือประมงทุกขนาดประกอบเครื่องมือทำการประมงบางประเภทเป็นประมงพาณิชย์ พ.ศ.  2560 ลงวันที่ 15 ธันวาคม 2560 และต้องไม่เป็นเครื่องอวนครอบ อวนช้อน หรืออวนยกปลากะตัก ที่ใช้ประกอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (เครื่องปั่นไฟ) และต้องไม่เป็นเครื่องมือที่ถูกห้ามตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดเครื่องมือทำการประมง วิธีการทำการประมงและพื้นที่ทำการประมงที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำเขตทะเลชายฝั่ง พ.ศ. 2560 ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน 2560

 

ปิดอ่าว 2566, อันดามัน, อ่าวอันดามัน, ภูเก็ต, พังงา, กระบี่, ภูเก็ต, ทรัพยากรสัตว์น้ำ, สัตว์น้ำ, ฤดูสัตว์น้ำมีไข่ วางไข่ เลี้ยงตัวอ่อ, ทะเลอันดามัน, ทรัพยากรสัตว์น้ำ,​ กรมประมง, เรือประมง

 

ทั้งนี้ “ปิดอ่าว 2566” การทำการประมงโดยใช้เครื่องมือในข้อ 3 , 4 , 5 , 6 และ 7 จะต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงเกษตรฯ ลงวันที่  9 พฤศจิกายน 2560 และจะต้องไม่เป็นเครื่องมือที่ห้ามใช้ทำการประมง ตามมาตรา 67  69 หรือ 71 (1) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

จึงขอเน้นย้ำให้พี่น้องชาวประมงให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด และระมัดระวังการทำประมง โดยให้ทำประมงเฉพาะเครื่องมือที่ประกาศให้ใช้ได้เท่านั้น เครื่องมืออื่น ๆ ห้ามทำโดยเด็ดขาด

หากผู้ใดฝ่าฝืนจะเป็นความผิดตามมาตรา 70 แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 ต้องระวางโทษ ปรับตั้งแต่ 5,000 บาท-30,000,000 ล้านบาท ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับขนาดของเรือประมง หรือปรับจำนวน 5 เท่าของมูลค่าสัตว์น้ำที่ได้จากการทำการประมง แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า และต้องได้รับโทษทางปกครอง

ข้อมูล : กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เยอรมนีจ่อเปลี่ยนสถานีรถไฟใต้ดินเป็นที่หลบระเบิด
จีนเตือนไม่มีใครชนะในสงครามการค้า
อัยการนัดฟังคำสั่งคดี "เชน ธนา-ภรรยา" ถูกกล่าวหาฉ้อโกง 29 พ.ย.นี้
“ลุงป้อม” ปัดตอบปม “สิระ” อ้างคนในป่าต่อสายช่วย “สามารถ”
"ทนายพจน์" ยื่นหนังสือสำนักพุทธฯ จี้คณะสงฆ์แจ้ง "พระปีนเสา" สละสมณเพศ หลังถูกขับพ้นวัดวังกวาง
ตร.นำกำลังทลายแคมป์ "แรงงานต่างด้าวเถื่อน" นับร้อย ย่านหนองใหญ่-ชลบุรี เตรียมผลักดันออกนอกประเทศ
‘โฆษก ทบ.’ แจง ‘เจ้ากรมยุทธฯ’ ทำร้ายทหาร เหลือสอบพยาน 2-3 ราย ทำได้แค่ตักเตือน ส่วนคดีอาญา เจ้าทุกข์ต้องดำเนินการ
"อ.ปานเทพ"กางเอกสาร JC2544 อ้างไทย-กัมพูชา เคยรับรอง MOU 44 เป็นสนธิสัญญา
"ดร.ศิลปฯ" อดีตผู้สมัคร สส.เพื่อไทย รับรางวัลศิษย์เก่าดีเด่นโรงเรียนทวีธาภิเศก ปี 67 ปักธงสนับสนุนด้านกีฬากับเยาวชน
"แม่บ้าน" ส่อชวดรับมรดก 100 ล้าน หลัง "แหม่มฝรั่งเศส" ยกมรดก 100 ล้าน ให้ก่อนจบชีวิต

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น