“ดร.สามารถ” ชี้ชัดค่าไฟแพง เหตุรัฐแบกต้นทุนสั่งสำรองเกินจริง แนะกฟผ.ผลิตเพิ่มลดซื้อเอกชน

"ดร.สามารถ" ชี้ชัดค่าไฟแพง เหตุรัฐแบกต้นทุนสั่งสำรองเกินจริง แนะกฟผ.ผลิตเพิ่มลดซื้อเอกชน

สืบเนื่องจากเสียงสะท้อนจากประชาชนคนไทยที่ต้องจ่ายค่าไฟฟ้าแพงขึ้นต่อเนื่อง รวมถึงผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม สะท้อนว่าค่าไฟฟ้าของไทย แพงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้กระทบความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจ ในขณะที่โรงไฟฟ้าเอกชนหลายรายต่างมีผลกำไรกันถ้วนหน้า แต่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจหลักที่มีภารกิจสำคัญในการรักษาความมั่นคงระบบไฟฟ้าของประเทศ เหลือสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าเพียงประมาณ 30% และแบกรับภาระต้นทุนค่าไฟฟ้าที่เกิดขึ้นตามแนวทางบริหารค่าไฟฟ้า ร่วม 1 แสนล้านบาท

ล่าสุด ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยกับทีมข่าว TOPNEWS ระบุว่า สาเหตุที่ค่าไฟฟ้าของประเทศไทยแพง ส่วนหนึ่งเกิดจากกำลังการผลิตไฟฟ้าสำรองของไทยสูงเกินกว่าความต้องการมาก และ การที่กำลังการผลิตไฟฟ้าสำรองสูง ทำให้เราจะต้องจ่ายค่าความพร้อมจ่ายหรือ ค่า AP (Availability Payment) ให้แก่เอกชนผู้ผลิตไฟฟ้าแพงตามไปด้วย และต้องจ่ายมากด้วย

ค่าความพร้อมจ่าย คือ เอกชนที่ผลิตไฟฟ้า ที่สร้างโรงงานไฟฟ้าขึ้นมา แม้ว่าจะไม่มีการผลิตไฟฟ้าให้ ก็ต้องจ่ายเงินให้แก่เอกชน เพราะมีต้นทุนในการก่อสร้างโรงไฟฟ้า ต้นทุนในการบำรุงรักษาโรงไฟฟ้า จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ค่าไฟฟ้าแพง เค้าเรียกว่าค่าความพร้อมจ่าย หรือ ค่า AP

โดยในส่วนของการบริหารจัดการการผลิตไฟฟ้าไฟฟ้าปัจจุบันมองว่าเป็นอย่างไร สอดคล้องกับสถานการณ์การใช้ของประชาชนมากน้อยแค่ไหน ดร.สามารถ ระบุว่า การบริหารจัดการการผลิตไฟฟ้า ต้องดำเนินการ ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ หรือ PDP (Power Development Plan) ซึ่งแผนนี้จะคาดการณ์การใช้ไฟฟ้า ความต้องการใช้ไฟฟ้า ในอนาคตไว้ทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาคครัวเรือน ภาคอุตสาหกรรม รวมถึงการสำรองการผลิตไฟฟ้าไว้ไม่ให้มีการขาดแคน ซึ่งการคาดการณ์หรือการพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้า ถือเป็นเรื่องที่ยาก ที่จะทำให้ใกล้เคียงความจริงได้ เพราะบางช่วงมีการคาดการณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าสูง แต่ความเป็นจริงเศรษฐกิจไม่ได้โตตามที่คาดการณ์ไว้ ความต้องการใช้ไฟฟ้าจึงลดน้อยลง อย่างเช่น โครงการอีอีซีที่มีการคาดการณ์ว่าจะเปิดในช่วงเวลานั้น เวลานี้ ต้องการไฟฟ้าจำนวนเท่านี้ พอถึงระยะเวลาจริง ก็ไม่ได้เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ทำให้การคาดการณ์การใช้ไฟฟ้าสูงเกินความเป็นจริง จึงทำให้มีการสำรองกำลังการผลิตไฟฟ้าสูงตามไปด้วย

 

ข่าวที่น่าสนใจ

สำหรับการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย ดร.สามารถ มองว่า จะต้องมีการส่งเสริมให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) หรือ EGAT ผลิตไฟฟ้าให้มากขึ้น เช่น อาจจะผลิตไฟฟ้าให้เกิน 50% ลดการซื้อไฟฟ้าจากเอกชนให้เหลือน้อยลง ซึ่งจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่จะทำให้ค่าไฟฟ้าของไทยถูกลงได้ ซึ่งในส่วนของการเพิ่มกำลังการผลิตจะต้องดูว่า ความต้องการใช้ไฟฟ้าในอนาคตเป็นอย่างไร และจะมีการเเบ่งสัดส่วนให้กฟผ. ผลิตไฟฟ้ามากน้อยแค่ไหน และเอกชนมีการผลิตเท่าใด ซึ่งหากเอกชนมีการผลิตไฟฟ้าน้อยลง ค่าความพร้อมจ่าย หรือ AP ก็จะลดลงด้วย

ส่วนกรณีการลดปริมาณการซื้อไฟฟ้าจากภาคเอกชนจะเพียงพอกับความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าหรือไม่ ดร. สามารถ ระบุว่า ในการลดการซื้อไฟฟ้าเอกชนลง กฟผ.จะต้องเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้น เพื่อให้มีพลังงานไฟฟ้าเพียงพอกับความต้องการ และไม่ส่งผลกระทบไปยังประชาชน โดยเมื่อเปรียบเทียบต้นทุนการผลิตไฟฟ้า จะพบว่า ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าของ กฟผ. จะถูกกว่าการที่จะซื้อไฟฟ้าจากเอกชน ซึ่งการผลิตทั้งของเอกชน และกฟผ. จะต้องสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนทุกภาคส่วน

 

ทั้งนี้ ในส่วนของการบริหารจัดการไฟฟ้าของกฟผ. เป็นสาเหตุที่ทำให้ค่าไฟฟ้าในปัจจุบันสูงขึ้นหรือไม่ ดร. สามารถ บอกว่า ค่าไฟฟ้าจะสูงขึ้นหรือลดลง ขึ้นอยู่กับการคาดการณ์ความต้องการการใช้ไฟฟ้าในอนาคต ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ หรือ PDP ถูกต้องหรือใกล้เคียงความเป็นจริงหรือไม่ หากพยากรณ์ความต้องการเกินความเป็นจริง กำลังการผลิตไฟฟ้าสำรองสูง ทำให้จะต้องจ่ายค่าความพร้อมจ่ายสูงขึ้นตามไปด้วย

สำหรับแนวทางการแก้ปัญหา และบริหารจัดการการใช้ไฟฟ้าในประเทศไทย ให้มีความมั่นคงยั่งยืน มีเพียงพอกับความต้องการของประชาชนนั้น ดร.สามารถ ระบุว่า
1. จะต้องมีการทบทวนการพยากรณ์การใช้ไฟฟ้าในอนาคตว่า มีมากน้อยแค่ไหน จึงจะสามารถสำรองกำลังการผลิตไฟฟ้าได้อย่างเหมาะสม ไม่เกินความจำเป็น โดยจะต้องมี การทบทวนและพยากรณ์ให้ใกล้เคียงความจริงมากที่สุด
2. ส่งเสริมให้กฟผ. (EGAT ) ผลิตไฟฟ้าให้มากขึ้น เพื่อลดการซื้อไฟฟ้าจากเอกชน
3. มีการสนับสนุนให้มีการใช้พลังงานหมุนเวียน โดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศที่มีแดดจัด โดยส่งเสริมให้ภาคครัวเรือนผลิตไฟฟ้าโดยใช้โซลาร์รูฟท็อป ซึ่งปัจจุบันมีการใช้ค่อนข้างน้อย เนื่องจากต้นทุนการติดตั้งแผงโซลาเซลล์ค่อนข้างสูง รวมถึงราคาแบตเตอรี่ ที่จะนำมากักเก็บพลังงานไฟฟ้าไว้ก็อยู่ในระดับที่สูงเช่นเดียวกัน เช่น ติดตั้งแผงจัดเก็บไฟฟ้า 5 กิโลวัตต์ อยู่ที่ 200,000 บาท ค่าแบตเตอรี่ เก็บพลังไฟฟ้าอยู่ที่ ประมาณ 200,000 บาท เนื่องจากการกักเก็บพลังงานไฟฟ้า โดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์ หากผู้ติดตั้งไม่อยู่บ้านในช่วงกลางวัน ก็จะไม่ได้นำไฟฟ้ากักเก็บได้มาใช้ และจะต้องขายให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ ทำให้ในช่วงเวลากลางคืนจะต้องซื้อพลังงานไฟฟ้ากลับคืนมา ซึ่งการแก้ปัญหาจะต้องมองว่าทำอย่างไรที่จะทำให้ค่าติดตั้งถูกลง โดยเฉพาะการซื้อแบตเตอรี่มากักเก็บพลังงานไฟฟ้าให้ถูกลง

นอกจากนี้ ยังมีในเรื่องของการสูตรการคำนวณคิดค่าไฟฟ้าที่ปัจจุบันมีด้วยกัน 2 วิธี โดยไฟฟ้าที่มาจากโซลาร์รูฟท็อป โดยปัจจุบันได้มีการใช้วิธี NET Billing หรือ บิลค่าไฟฟ้าสุทธิ ซึ่งหมายถึงการคิดค่าไฟฟ้าโดยการหักลบระหว่าง ค่าไฟฟ้าที่มีการซื้อมาจากการไฟฟ้าฯ กับค่าไฟฟ้าที่มีการขายคืนให้กับการไฟฟ้าฯ

สมมุติว่า ในเดือนปัจจุบันมีการใช้ไฟฟ้า จำนวน 500 หน่วย ราคาอยู่ที่หน่วยละ 5 บาท 500 × 5 จะคิดเป็นเงินอยู่ที่ 2,500 บาท ซึ่งเป็นราคาที่ซื้อมาจากการไฟฟ้าฯ ขณะที่การขายคืนไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าฯ โดยผลิตไฟฟ้าได้ 300 หน่วย ขายคืนให้การไฟฟ้าฯ ในราคาหน่วยละ 2.20 บาท จะคิดเป็นเม็ดเงินอยู่ 660 บาท เมื่อนำมาหักลบกันจะทำให้ต้องจ่ายค่าไฟฟ้า ที่ 2,500 บาท ลบ 660 บาท เหลือที่ต้องจ่ายจริง 1,840 บาท

 

ดังนั้น จะเป็นไปได้หรือไม่ที่จะใช้สูตรคำนวณไฟฟ้าแบบที่ 2 คือ Net Metering หรือ การหักลบกลบหน่วย คือ การคิดค่าไฟฟ้าโดยหักลบจำนวนหน่วยที่ซื้อจากการไฟฟ้าฯ กับจำนวนหน่วยที่ขายคืนให้กับการไฟฟ้าฯ ยกตัวอย่าง ในเดือนนี้ เราใช้ไฟฟ้า 500 หน่วย และเรามีการผลิตไฟฟ้าได้และขายคืน 300 หน่วย นำไปลบกับจำนวนหน่วยที่ซื้อจากการไฟฟ้า 500 -300 เหลือ 200 หน่วย โดยนำ 200 หน่วยที่เหลือ มาคิดหน่วยละ 5 บาท จะทำให้ในเดือนนี้ เราจ่ายค่าไฟฟ้าที่ 1,000 บาท ซึ่งถูกกว่า การคิดตามสูตรที่ 1 ถึงกว่า 800 บาท ดังนั้น จะมีความเป็นไปได้หรือไม่ ที่จะนำสูตรคำนวณ การหักลบกลบหน่วย นี้มาใช้แทน

ดร. สามารถ ย้ำว่า ปัจจุบันค่าไฟฟ้าของไทยถือว่าแพง โดยจะต้องทำอย่างไรให้การใช้ไฟถูกลงได้ โดยเฉพาะในภาคครัวเรือนที่จะต้องมีการส่งเสริมการใช้โซลาร์รูฟท็อปให้มากขึ้น ให้การติดตั้งถูกลง และค่าแบตเตอรี่เก็บพลังงานไฟฟ้าถูกลง รวมถึงเป็นไปได้หรือไม่ที่ใช้ระบบหักลบกลบหน่วยมาใช้ในการคำนวนค่าไฟฟ้า

ส่วนข้อเรียกร้องของภาคเอกชนที่มองว่าค่าไฟของประเทศไทยอยู่ในระดับที่แพงเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านส่งผลต่อความสามารถภาพรวมและศักยภาพการแข่งขันของภาคธุรกิจ ดร.สามารถ ระบุว่า จะต้องนำมาเปรียบเทียบกันว่าค่าไฟฟ้าของประเทศไทยแพงกว่าของประเทศเพื่อนบ้านจริงหรือไม่อย่างไร ซึ่งหากค่าไฟของประเทศไทยแพงกว่าก็จะต้องมาพิจารณาว่าจะทำอย่างไร ให้ค่าไฟของประเทศไทยถูกลงเพื่อให้การผลิตของเราในภาคอุตสาหกรรม ถูกลงและมีศักยภาพในการแข่งขันได้

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น