“ไนโตรเจน” ในอาหาร กาง 3 เทคนิค ทานอย่างไรให้ปลอดภัย

รู้หรือไม่ กระแสควันในละอองอาหารที่หลายคนชื่นชอบ เป็น "ไนโตรเจน" ในอาหาร แนะ 3 เทคนิค ทานอาหารหน้าตาสวย ๆ แบบนี้อย่างไรให้ปลอดภัยไร้พิษสง

องค์การอาหารและยา แนะ 3 เทคนิค ที่สายกิน สายโซเชียล ต้องรู้ ก่อนทาน “ไนโตรเจน” ในอาหารให้ปลอดภัย ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

 

ข่าวที่น่าสนใจ

เทรนด์อาหารมีควัน เป็นอีกหนึ่งกระแสมาแรงที่ใคร ๆ ก็ชื่นชอบ เพราะนอกจากจะทำให้อาหารดูแพงแล้ว ยังถ่ายรูปเก๋ ๆ ให้หลายคนได้เช็คอินสวย ๆ บนโลกโซเชียลอีกด้วย แต่รู้ไหมว่า ควันละอองที่ใคร ๆ ชอบนั้น คือ “ไนโตรเจน” เหลว ซึ่งก่อนหน้านี้เคยมีข่าวออกมามากถึงอันตรายของเมนูเหล่านี้ วันนี้ TOP News มี 3 เทคนิค ให้สายกิน สายเช็คอิน ได้ทานอาหารแบบอิ่มกายสบายใจไร้พิษสงมาฝากกันค่า

 

ไนโตรเจน, ไนโตรเจนในอาหาร, อางค์การอาหารและยา, สายกิน, ไนโตรเจนเหลว, ก๊าซไนโตรเจน, อาหารมีควัน

ไน โตรเจนเหลว (Liquid Nitrogen) คืออะไร?

  • การนำก๊าซไน โตรเจนที่มีคุณสมบัติไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรสไม่เป็นพิษ ไม่ติดไฟและไม่ไวต่อการเกิดปฏิกิริยา มาผ่านกระบวนการผลิต
  • เพื่อเปลี่ยนสถานะจากก๊าซเป็นของเหลว ที่เรียกว่า Liquefaction โดยการเพิ่มความดันพร้อมกับการลดอุณหภูมิ
  • นำมาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมอาหารที่หลากหลายรวมถึงถูกดัดแปลงเพื่อใช้ประกอบในขั้นตอนการปรุงอาหารที่ต้องการความเย็นจัด เนื่องจากสามารถทำให้อาหารลดอุณหภูมิลงและเกิดการแข็งตัวอย่างรวดเร็ว
  • ซึ่งหลังจากที่ราดหรือเทลงบนอาหารแล้วไน โตรเจนเหลวจะเปลี่ยนสถานะจากของเหลวกลับสู่สถานะก๊าซ จนมีลักษณะคล้ายไอเย็นหรือควันลอยออกมาจากอาหารดังกล่าว

 

ไนโตรเจน, ไนโตรเจนในอาหาร, อางค์การอาหารและยา, สายกิน, ไนโตรเจนเหลว, ก๊าซไนโตรเจน, อาหารมีควัน

การนำก๊าซไน โตรเจนหรือไน โตรเจนเหลวมาใช้ในกระบวนการผลิตหรือประกอบอาหารสามารถทำได้ หากมีคุณภาพหรือมาตรฐานเป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยวัตถุเจือปนอาหารและใช้ในเงื่อนไขตามที่กฎหมายกำหนด

ทั้งนี้ การใช้ก๊าซไน โตรเจนหรือไน โตรเจนเหลวในรูปแบบที่อาจทำให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค จะถือว่าเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายอาหารไม่บริสุทธิ์ และมีโทษตามกฎหมาย

 

ไนโตรเจน, ไนโตรเจนในอาหาร, อางค์การอาหารและยา, สายกิน, ไนโตรเจนเหลว, ก๊าซไนโตรเจน, อาหารมีควัน

 

3 เทคนิค ทานอาหารที่มี “ไนโตรเจน” อย่างไร ให้ปลอดภัยไร้พิษสง

1. หลีกเลี่ยงการรับประทานหรือสัมผัสโดยตรง

  • เพราะ ไน โตรเจนเหลวมีอุณหภูมิที่ต่ำมากอันตรายจากความเย็นจัด
  • เมื่อไน โตรเจนเหลวสัมผัสถูกผิวหนังหรือเนื้อเยื่อโดยตรง ไน โตรเจนเหลวจะดูดซับความร้อนจากผิวหนังเพื่อการระเหยอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ผิวหนังหรือเนื้อเยื่อถูกทำลาย บวมพอง เกิดเนื้อตาย
  • โดยเฉพาะเนื้อเยื่ออ่อนของทางเดินอาหาร มีอาการคล้ายกับผิวหนังที่ถูกเผาไหม้

2. ไม่สูดดมก๊าซไน โตรเจนที่เกิดขึ้นโดยตรง

  • การสูดดมก๊าซไน โตรเจนอาจทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนในปริมาณที่ลดลง
  • ดังนั้น ต้องรอให้ก๊าซของไน โตรเจนเหลวระเหยออกไปให้หมดก่อน จึงจะรับประทานได้

 

ข้อมูล : องค์การอาหารและยา

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สุดเศร้า "นักเรียน ม.4" เรียนวิชาพละ  วิ่งได้ 200 เมตร หัวใจวายเสียชีวิต
"ณัฐวุฒิ" โอ่คนไทยอ่านขาดแล้ว เกมฝ่ายขวาจัด ปลุกชาตินิยม ล้มรบ. เย้ยรอบนี้ไม่ง่ายเหมือนก่อน
เปิด 40 รายชื่อ สรุปยอดผู้สมัคร ป.ป.ช. พบคนดังเพียบ
"ยายวัย 80 ปี" เครียดอยากจบชีวิต หลังถูก "แก๊งคอลเซ็นเตอร์" หลอกโอนเงินเก็บเกลี้ยงบัญชี
"ร้านเนื้อย่างดัง" โพสต์ตามหา "ลูกค้า" โอนเงินค่าอาหารเกิน 2 แสนบาท
กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 10 เตือน ปชช.ไทยตอนบนอากาศแปรปรวน ภาคใต้ฝนตกหนัก เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน
ระทึก ! บุกยิงบ้านผู้ใหญ่ โบว์ คาดว่า การเมือง ท้องถิ่นเป็นเหตุ
‘บิ๊กต่าย’ เผยตร.ทำงานยังคงทำคดี ‘ดิไอคอน’ ตามที่ DSI ร้องขอ
ครูบาอริยชาติ เกจิภาคเหนือวัดแสงแก้วโพธิญาณ เชียงราย สร้างพระพุทธเมตตา จากหยกรัสเซียใหญ่ที่สุดในโลก น้ำหนักกว่า 10 ตัน
นายกฯ-สามี พา "น้องธิธาร" ลูกสาว วิ่งเล่นสนามหญ้าหน้าตึกไทยคู่ฟ้า

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น