สิทธิความเป็นส่วนตัว "ลูกจ้าง" ที่ทำงานที่บ้าน มีสิทธิปฏิเสธการติดต่อหลังเลิกงาน ไม่รับสายได้ เริ่ม 18 เมษายน 2566
ข่าวที่น่าสนใจ
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2566 มาตรา 23/1 ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2566 มีผลบังคับเมื่อพ้น 30 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา (มีผลบังคับวันที่ 18 เมษายน 2566) กฎหมายฉบับนี้มีเจตนารมณ์เพื่อประโยชน์ในการประกอบกิจการของนายจ้างและเป็นการส่งเสริม คุณภาพชีวิตและการทำงานของลูก จ้าง โดยกำหนดให้นายจ้างและลูก จ้าง อาจตกลงให้ลูก จ้าง นำงานในทางการที่จ้างไปทำงานนอกสถานประกอบกิจการหรือนอกสำนักงานของนายจ้าง หรือที่พักอาศัยของลูก จ้าง หรือตกลงให้ลูก จ้าง ทำงานผ่านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสถานที่ใด ๆ ได้ โดยให้ทำความตกลงเป็นหนังสือหรือข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเข้าถึงและนำกลับมาใช้ได้โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง และกำหนดรายละเอียดต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความชัดเจน เช่น
- ช่วงระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการตกลง
- ขอบเขตหน้าที่การทำงานของลูก จ้าง และการควบคุมหรือกำกับการทำงาน เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ประการสำคัญคือการคุ้มครอง “สิทธิความเป็นส่วนตัวของลูกจ้าง” (Right to disconnect) กฎหมายกำหนดว่า เมื่อสิ้นสุดเวลาทำงานปกติตามที่ตกลงกันลูก จ้าง ซึ่งทำงานที่บ้านฯ “มีสิทธิปฏิเสธ” ในการติดต่อสื่อสารไม่ว่าในทางใด ๆ กับนายจ้าง หัวหน้างานผู้ควบคุมงาน หรือผู้ตรวจงาน เว้นแต่ลูก จ้าง จะได้ให้ความยินยอมโดยทำหนังสือไว้ล่วงหน้าก่อน ซึ่งลูก จ้าง ที่ทำงานที่บ้าน มีสิทธิเช่นเดียวกับลูก จ้าง ที่ทำงานในสถานประกอบกิจการหรือสำนักงานของนายจ้าง
ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยหรือมีปัญหาด้านแรงงาน สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดทุกจังหวัด สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 1 – 10 หรือโทรมาปรึกษาได้ที่ สายด่วน 1506 กด 3 หรือ 1546
ข่าวที่เกี่ยวข้อง