มหิดลกาญจน์ ชวนจัดการขยะเริ่มต้นที่ตัวเรา ช่วยลดปัญหาขยะล้นเมือง

สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและการจัดการภัยพิบัติ ม.มหิดล กาญจน์ ชวนจัดการขยะเริ่มต้นที่ตัวเรา ช่วยลดปัญหาขยะล้นเมือง

อาจารย์ ดร.จุฑามาส  แก้วสุข  หัวหน้าสาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและการจัดการภัยพิบัติ  มหาวิทยาลัยมหิดล  วิทยาเขตกาญจนบุรี  ได้กล่าวถึง  ปัญหาขยะในพื้นที่ ของจังหวัดกาญจนบุรี ที่เกิดการสะสมของปริมาณขยะที่เพิ่มมากขึ้น และยังไม่สามารถบริหารจัดการขยะเหล่านั้นได้อย่างยั่งยืน  ลำดับแรก คือ สิ่งที่ประชาชนจะร่วมช่วยกัน คือเริ่มต้นที่ตัวเราก่อน

“ขยะ”อาจจะเป็นคำที่ไม่น่าสนใจ ไม่น่าต้องใส่ใจ แค่โยนใส่ถังก็น่าจะจบ ขยะชิ้นต่อไปก็ใส่ถังไปเรื่อยๆ เดี๋ยวก็มีเจ้าหน้าที่มาเก็บ บ้านเราก็สะอาดเหมือนเดิม ไม่เห็นต้องมีอะไรให้กังวล คุณคิดแบบนี้ใช่หรือไม่? เคยสงสัยหรือไม่ว่าขยะที่ถูกเก็บไปนั้น มีที่หมายปลายทางอย่างไร ?? การทิ้งลงถังแล้วขยะก็ถูกขนส่งออกไปจากบ้านเรานั้น ปัญหามันจบแค่นั้นหรือไม่ ความจริงที่น่ากังวลของผู้คนเกือบจะทุกจังหวัดในประเทศไทย ก็คือขยะที่เราทิ้งไปนั้นมันถูกนำไปกองไว้เป็นภูเขาลูกโต บางแห่งเริ่มทับทมกันมานานนับ 20 ปีที่ไม่รู้ว่าจะจัดการอย่างไรได้หมด

ข่าวที่น่าสนใจ

การเห็นขยะกองโตว่าเป็นปัญหาแล้ว หากคิดให้ลึกซึ้งถึงพฤติกรรมการทิ้งขยะของเรานั้น เราจะพบว่าเราทิ้งทุกอย่างลงถังเดียวกัน ทั้งขยะเปียก ขยะแห้ง หรือแม้แต่ขยะที่มีสารพิษอย่างถ่านไฟฉาย เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ใช้แล้ว หลอดไฟ ขวดใส่น้ำยาที่มีฤทธิ์กัดกร่อนต่างๆ ถึงแม้จะมีการรณรงค์จากส่วนราชการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  แต่การให้ความร่วมมือของประชาชนก็มีเพียงแค่บางส่วนเท่านั้น ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อเราทิ้งทุกอย่างให้กับรถเก็บขยะ ระบบการแยกขยะที่ปลายทางนั้น บางแห่งก็มีเพียงพนักงานท้ายรถขนขยะเท่านั้นที่อาจทำการแยกขยะ ซึ่งก็คัดแยกเพียงแค่ขยะ บางชนิดที่ขายได้เท่านั้นเอง

และหลังจากนั้น  ขยะส่วนใหญ่ทั้งที่มีพิษและไม่มีพิษจะไปรวมกองกันอยู่บนภูเขาลูกนี้ และเกิดเป็นน้ำสีน้ำตาลๆ ดำๆ มีกลิ่นเหม็นรุนแรงไหลออกมาสู่พื้นดิน ซึ่งปลายทางของน้ำเหล่านี้ก็คือลงสู่ชั้นใต้ดิน และอาจจะลงสู่แม่น้ำ ลำคลอง หากอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียง จากการศึกษาวิจัยพบว่า  บางแห่ง มีร่องรอยของการกระจายตัวของสารพิษจากกองขยะสู่น้ำใต้ดินชั้นตื้นและพื้นที่โดยรอบ ซึ่งมีพื้นที่เกษตรรวมอยู่ด้วย จะเห็นได้ว่าขยะที่เราทิ้งลงถังนั้น ได้ย้อนกลับมาหาเราในรูปแบบอื่น ในรูปแบบของสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษ หากหน่วยงานผู้รับผิดชอบในพื้นที่ไม่ทำอะไรเลย ขยะของโตนี้จะใหญ่โตมากขึ้น สะสมสารพิษมากขึ้น มีหลายกองมากขึ้น เหมือนเป็นระเบิดเวลา เหมือนเป็นภัยมืดที่คืบคลานเข้ามารบกวนคุณภาพชีวิตของเรา ซึ่งมีแนวโน้มที่จะรุนแรงและแก้ไขยากขึ้นเรื่อยๆ

กล่าวมาถึงตรงนี้คงต้องเข้าเรื่องชักชวนทุกคนให้จัดการขยะที่ตัวเรา อาจจะต้องเริ่มจากการที่ชวนให้ทุกคนเห็นความสำคัญของตัวเอง ตัวเรานั้นมีอำนาจในการกำหนดจุดหมายปลายทางของขยะในมือเราเป็นอย่างมาก

เช่นหากเราซื้อน้ำดื่มมา 1 ขวด เราจะกลายเป็นผู้กุมชะตาชีวิตน้ำขวดนี้ทันทีเมื่อเราดื่มน้ำเสร็จแล้ว เราจะมีทางเลือกคือ 1) ให้ขวดน้ำนี้ไปจบชีวิตบนภูเขากองโต   หรือ 2) ต่อชีวิตให้ขวดน้ำนี้โดยส่งไปที่โรงงานรีไซเคิล  เพื่อได้มีโอกาสเกิดใหม่เป็นเม็ดพลาสติก หรืออาจมาเป็นเสื้อผ้าขายในร้านค้าต่อไป ซึ่งการกำหนดชะตาชีวิตขวดน้ำในครั้งนี้เกิดขึ้นตอนที่เรากำลังจะทิ้งขวดลงถังซึ่งหากเราทิ้งลงถังที่เส้นทางคือรถเก็บขยะ แน่นอนว่าปลายทางคือภูเขาขยะกองโต แต่ถ้าเราทิ้งลงถังที่ปลายทางคือร้านรับซื้อขยะรีไซเคิล   รับรองได้เลยว่าชีวิตน้อยๆ ของขวดน้ำนี้สดใสกลายเป็นเสื้อผ้าให้เราได้ซื้อมาใส่อย่างแน่นอน แถมยังสร้างงาน สร้างเงิน และไม่เป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

ด้วยปัญหาที่เกิดขึ้นกับสถานที่จัดการขยะ  ที่ปัจจุบันต้องปิดรับขยะ ทำให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเก็บขยะ   ที่ต้องนำขยะไปทิ้ง ไม่มีที่ทิ้งขยะ จึงไม่สามารถรับขยะ จากอาคารบ้านเรือน ในชุมชนได้  เป็นเหตุการณ์ที่เราต้องใช้อำนาจที่เรามีในการกำหนดชะตาชีวิตของขยะทุกชิ้นที่เราผลิตขึ้น เพื่อจัดการกับวิกฤติในครั้งนี้

การบริหารอำนาจของเรานั้นต้องมีลำดับขั้นตอนที่ถูกต้อง ชีวิตของเราก็จะง่ายขึ้นมาก แค่ 3 ขั้นตอน

1.อำนาจในการตัดสินใจก่อนซื้อของ ให้สังเกตุว่าเมื่อมันกลายเป็นขยะมันจัดการยากไหม เช่น ย่อยสลายตามธรรมชาติได้ไหม ขายได้ไหม เป็นต้น

2.อำนาจในการบริหารจัดการ เตรียมถังขยะให้ครบทุกประเภทขยะที่ต้องการแยก โดยแนะนำให้มีทั้งหมด 5 ถัง ดังนี้

a.ถังขยะที่ขายได้ (กระดาษ พลาสติก PET พลาสติกขุ่น อะลูมิเนียม เหล็ก แก้ว) อันนี้แต่ละพื้นที่จะไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับร้านรับซื้อขยะ

b.ขยะอันตราย

c.ขยะติดเชื้อ

d.ขยะเปียก

e.ขยะที่ขายไม่ได้ (ขยะกำพร้า)

3.อำนาจในการทิ้งขยะให้ตรงถัง และส่งต่อชะตาชีวิตขยะให้ถูกที่ ดังนี้  (ภาพประกอบ : ทิ้งขยะตรงถัง ส่งต่อขยะให้ถูกที่ )

ง่ายๆ แค่ 3 ขั้นตอน เราก็จะสามารถกำหนดชะตาชีวิตของขยะที่เราสร้างขึ้น โดยไม่ต้องกังวลกับภูเขาขยะกองโตอีกต่อไป เรามาร่วมกันจัดการขยะที่ตัวเรา ลดมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม และเราจะผ่านวิกฤติครั้งนี้ไปด้วยกัน ด้วยการสร้างมาตรฐานใหม่ในการจัดการขยะที่ต้นทาง ด้วยพลังของชุมชน   ทั้งนี้  มหาวิทยาลัยมหิดล  วิทยาเขตกาญจนบุรี มีการรณรงค์เชิญชวน ให้บุคลากรและนักศึกษา เริ่มต้นการจัดการขยะด้วยตัวเอง  เพื่อให้เกิดพฤติกรรม ในการปฏิบัติต่อขยะ 1 ชิ้น อย่างถูกต้อง ช่วยลดปัญหาขยะในมหาวิทยาลัยได้ อย่างยั่งยืน  หากชุมชน หรือหน่วยงานต่าง ๆ  ที่ต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต   สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและการจัดการภัยพิบัติ  มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี   อำเภอไทรโยค  จังหวัดกาญจนบุรี  โทรศัพท์ 034 585058

 

ศูนย์ข่าวภาคตะวันตก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ผอ.คลองเตย" แจงสอบเบื้องต้น "สวนชูวิทย์" ไม่ใช่ที่ดินสาธารณะ
"ศุภมาส" ดีเดย์จัดงาน "One Stop Open House 2024" สานต่อผลสำเร็จ "อว.แฟร์"
DSI แถลงจับกุม "สามารถ-แม่" พบหลักฐานเอกสาร เข้าข่ายความผิดร่วมกันฟอกเงิน
รพ.สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ ร่วมกิจกรรมน้อมรำลึก เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต ร.6
“ทนายอาคม” จ่อวางโฉนดบ้าน ยื่นขอประกัน “เดือน” อึ้ง “ตั้ม” ไม่ยอม ถามกลับแล้วผมจะเอาหลักทรัพย์อะไรประกัน
กองทัพเรือ ร่วมทุกภาคส่วน วางพวงมาลารำลึก 99 ปี แห่งการสวรรคต รัชกาลที่ 6
“แพท ณปภา” พร้อมแฟนหนุ่ม โร่แจ้งความเอาผิดมือดี ตัดต่อภาพโปรโมตเว็บพนันออนไลน์
“บิ๊กป้อม” บอกผมไม่รู้ หลัง "สามารถ" ถูกจับคดีฟอกเงิน ปมนักการเมืองดังตบทรัพย์ "ดิไอคอน"
"ชูศักดิ์" เผยทีมกม.เพื่อไทย เร่งร่างคำฟ้องกลับ “ธีรยุทธ” เตือนนักร้องอย่าสรุปผิดเอง
"ผบ.ตร." กำชับคุมเข้ม เตรียมส่งตัว “สามารถ” จากเชียงรายกลับกรุง

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น