การพัฒนากำลังรบกองทัพเรือในการนำอากาศยานไร้คนขับ (UAV) S-100 Camcopter ปฏิบัติงานร่วมกับ ร.ล.ประจวบคีรีขันธ์ เรือรบที่กองทัพเรือไทยต่อเอง ยิงอาวุธปล่อยนำวิถีHarpoon

การพัฒนากำลังรบกองทัพเรือในการนำอากาศยานไร้คนขับ (UAV) S-100 Camcopter ปฏิบัติงานร่วมกับ ร.ล.ประจวบคีรีขันธ์ เรือรบที่กองทัพเรือไทยต่อเอง ยิงอาวุธปล่อยนำวิถีHarpoon

การยิงอาวุธปล่อยนำวิถี พื้น – สู่ – พื้น แบบ Harpoon จาก ร.ล.ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อ 28 มีนาคม 2566 ในการฝึกกองทัพเรือประจำปีงบประมาณ 2566 นั้น ชุดเคลื่อนที่อากาศยานไร้คนขับ S-100 Camcopter จากกองการบินทหารเรือ กองเรือยุทธการ ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญปฏิบัติการร่วมระหว่างเรือกับอากาศยาน โดย UAV S-100 Camcopter ที่กองทัพเรือมีประจำการอยู่นั้นมีขีดความสามารถขึ้นลงแนวดิ่ง (Vertical Takeoff Landing:VTOL) ทำให้มีความเหมาะสมในการปฏิบัติงานร่วมกับเรือที่มีดาดฟ้าเฮลิคอปเตอร์ รัศมีปฏิบัติการไกลถึง 100 กิโลเมตร ได้ทำการตรวจการณ์ และชี้เป้าให้กับ ร.ล.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็นเรือประเภทเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง หรือ OPV โดยกองทัพเรือดำเนินการต่อขึ้นเองตามแนวทางพระราชดำริ

เศรษฐกิจพอเพียงในการพึ่งพาตนเองของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ทั้งนี้การยิงอาวุธปล่อยนำวิถี พื้น – สู่ – พื้น แบบ Harpoon จาก ร.ล.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกของการทำการยิงบนเรือประเภทนี้ถูกเป้าอย่างแม่นยำ ที่ระยะ 55 ไมล์ทะเล (ประมาณ 100 กิโลเมตร) จาก ร.ล.ประจวบคีรีขันธ์ โดยทำการยิงในพื้นที่ทะเลอันดามันห่างบริเวณทางทิศตะวันตกของหมู่เกาะสิมิลัน ในเขตเศรษฐกิจจำเพาะ (ห่างจากเกาะภูเก็ตประมาณ 100 กิโลเมตร)
สำหรับอาวุธปล่อยนำวิถี พื้น – สู่ – พื้น แบบ Harpoon เป็นอาวุธสำคัญที่ใช้ในกลุ่มประเทศนาโต และเป็นอาวุธทางเรือที่มีผลการยิงที่แม่นยำมาก ทำให้มีประจำการอยู่ในกองทัพเรือหลายประเทศ ที่ผ่านมากองทัพเรือไทยได้ประสบความสำเร็จในการฝึกยิงกับเรือประเภทอื่นที่ไม่ใช่เรือประเภทเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง (OPV) แต่ในการฝึกกองทัพเรือครั้งนี้

ร.ล.ประจวบคีรีขันธ์ ถือเป็นเรือที่มีขนาดเล็กกว่าเรือประเภทเรือฟริเกตซึ่งมีขนาดใหญ่ และมีสมมรถนะในการรบที่มากกว่า แต่กองทัพเรือไทยก็ประสบผลสำเร็จด้วยการทำการติดตั้งระบบของอาวุธปล่อยที่ทันสมัยได้เองบนเรือรบที่ต่อขึ้นเอง ซึ่งในการฝึกครั้งนี้ยังเป็นครั้งแรกในการนำอากาศยานไร้คนขับ (UAV) S-100 Camcopter มาปฏิบัติการร่วมกับกองเรือในทะเลได้อย่างมีประสิทธิภาพ นับเป็นการเสริมขีดความสามารถให้กำลังรบทางเรือ เป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาและเสริมสร้างกำลังกองทัพเรือให้มีความทันสมัย เหมาะสมกับภารกิจ และตอบ

สนองยุทธศาสตร์ป้องปรามประเทศได้อย่างคุ้มค่า

คุณสมบัติทั่วไปของ Schiebel Camcopter S – 100 (ฮร.ตช.๑)
-เฮลิคอปเตอร์ไร้คนขับ ขึ้นลงทางดิ่ง VTOL (สามารถขึ้นลงทางดิ่งบนเรือที่มีดาดฟ้า ฮ. ได้)
-ผลิตโดย บริษัท Schiebel สาธารณรัฐออสเตรีย
-ความยาว 3.4 เมตร กว้าง 1.1 เมตร
-รัศมีปฏิบัติการ 100 กม. (54 Nm.) ระยะเวลาปฏิบัติการสูงสุด 5 ชม.
-ความเร็ว Maximum Speed 110 Kts. (Ground Speed)
-เพดานบินสูงสุด 12,000 ft.
-น้ำหนักตัวเปล่า 115 kg.
-น้ำหนักพร้อมบินสูงสุด 200 kg.
-กล้อง EO/IR แบบ MX-10 สามารถปฏิบัติการได้ทั้งกลางวันและกลางคืน พร้อม Laser Range Finder
-ปฏิบัติการกับเรือได้ถึง Sea state 3
-สำหรับการปฏิบัติการใช้กำลังพล จำนวน 8 นาย
-สำหรับการปฏิบัติการที่ผ่านมา ปฏิบัติราชการค้นหาผู้ประสบภัยในเหตุการณ์ ร.ล.สุโขทัย อับปาง
-ปฏิบัติการร่วมกับเรือที่ผ่านมาได้แก่ ร.ล.ตากสิน และ ร.ล.ภูมิพลอดุลยเดช
พัชรพล ปานรักษ์

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"อ.ปานเทพ"กางเอกสาร JC2544 อ้างไทย-กัมพูชา เคยรับรอง MOU 44 เป็นสนธิสัญญา
"ดร.ศิลปฯ" อดีตผู้สมัคร สส.เพื่อไทย รับรางวัลศิษย์เก่าดีเด่นโรงเรียนทวีธาภิเศก ปี 67 ปักธงสนับสนุนด้านกีฬากับเยาวชน
"แม่บ้าน" ส่อชวดรับมรดก 100 ล้าน หลัง "แหม่มฝรั่งเศส" ยกมรดก 100 ล้าน ให้ก่อนจบชีวิต
ตร.ปคบ.บุกทลายโรงงานเครื่องสำอางเถื่อน ลอบผลิต-ส่งขายทั่วภาคอีสาน ยึดของกลางกว่า 4 หมื่นชิ้น
ชาวบ้าน 2 ตำบลเฮ ขอบคุณป่าไม้ที่อนุญาติให้ อบต.สร้างถนนลัดไปอำเภอ หลัง สว.สุรินทร์ หารือในการประชุมวุฒิสภาช่วยแก้ปัญหาชาวบ้าน เป็นของขวัญปีใหม่
"แม่สามารถ" ยื่นจดหมายลับใส่มือนักข่าว อ้างไม่ได้รับความเป็นธรรม
“ปรเมศวร์” เตือน “อธิบดีกรมที่ดิน” เสี่ยงโดนม.157 ปมเขากระโดง
ผู้จัดการตลท. พร้อมให้ข้อมูล คดี “หมอบุญ” เตือนนักลงทุน ใช้สติก่อนตัดสินใจ
“บิ๊กน้อย” การันตี แจงแทน “บิ๊กป้อม” ไม่โทรให้ใครช่วย “สามารถ”
“ไอซ์ รักชนก” เตรียมระทึกอีก ศาลนัดฟังคำสั่งถอนประกัน 11 ธ.ค.นี้ ลุ้นชี้ชะตาจะรอดคุกหรือไม่

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น