รายชื่อนักบินอวกาศ “ภารกิจอาร์ทีมิส 2” กลับดวงจันทร์ในรอบ 50 ปี

ภารกิจอาร์ทีมิส 2,​ โครงการอาร์ทีมิส, NASA, ดวงจันทร์, สำรวจดวงจันทร์, สนธิสัญญาเกตเวย์ ระหว่างแคนาดา-สหรัฐฯ, นักบินอวกาศ, ยานโอไรออน

เปิดตัว 4 นักบินอวกาศใน "ภารกิจอาร์ทีมิส 2" เตรียมพร้อมกลับไปดวงจันทร์ในรอบ 50 ปี

องค์การบริหารการบินอวกาศแห่งชาติสหรัฐฯ (NASA) ประกาศรายชื่อ “ภารกิจอาร์ทีมิส 2” หลังจากเว้นช่วงสำรวจดวงจันทร์โดยมนุษย์มานานกว่า 50 ปี ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

สร้างความตื่นเต้นอีกครั้ง เมื่อองค์การบริหารการบินอวกาศแห่งชาติสหรัฐฯ (NASA) ประกาศรายชื่อนักบินอวกาศที่จะกลับไปเยือนดวงจันทร์เป็นกลุ่มแรก จำนวน 4 คน ใน “ภารกิจอาร์ทีมิส 2 (Artemis 2) หลังจากเว้นช่วงสำรวจดวงจันทร์โดยมนุษย์มานานกว่า 50 ปี นับตั้งแต่โครงการอะพอลโล ซึ่งภารกิจอาร์ทีมิส2 นี้ จะพานักบินอวกาศเดินทางไปยังดวงจันทร์ในปี ค.ศ. 2024

นักบินอวกาศในภารกิจอาร์ทีมิส 2 ประกอบด้วย

1. ผู้บัญชาการภารกิจ : Reid Wiseman

  • จากรัฐแมรีแลนด์ สหรัฐอเมริกา อายุ 47 ปี
  • เคยเป็นนักบินเครื่องบินรบในกองทัพเรือสหรัฐฯ
  • ปฏิบัติภารกิจบนสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) ในวงโคจรรอบโลกนาน 165 วัน เมื่อปี ค.ศ. 2014

2. นักบิน : Victor Glover

  • จากรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา อายุ 46 ปี
  • เป็นวิศวกรและอดีตกัปตันในกองทัพเรือสหรัฐฯ
  • เข้าเป็นนักบินอวกาศของ NASA ในปี ค.ศ.2013
  • เป็นนักบินอวกาศในเที่ยวบินอวกาศแบบมีนักบินครั้งแรกของบริษัท SpaceX ก่อนปฏิบัติภารกิจบน ISS นาน 167 วัน เมื่อปี ค.ศ. 2021

 

ภารกิจอาร์ทีมิส 2,​ โครงการอาร์ทีมิส, NASA, ดวงจันทร์, สำรวจดวงจันทร์, สนธิสัญญาเกตเวย์ ระหว่างแคนาดา-สหรัฐฯ, นักบินอวกาศ, ยานโอไรออน

 

3. ผู้เชี่ยวชาญประจำภารกิจ : Christina Koch

4. ผู้เชี่ยวชาญประจำภารกิจ : Jeremy Hansen

  • จากรัฐออนแทรีโอ แคนาดา อายุ 47 ปี
  • เป็นพันเอกในกองทัพอากาศแคนาดา
  • เข้าร่วมเป็นนักบินอวกาศของแคนาดาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2009
  • แม้ว่าภารกิจอาร์ทีมิส2 จะเป็นภารกิจอวกาศครั้งแรกของเขา แต่เขาเคยเป็นนักสำรวจใต้ทะเลในฐานใต้น้ำ Aquarius ในปี ค.ศ. 2014
  • เคยเข้าร่วมโครงการฝึกนักบินอวกาศในถ้ำขององค์การอวกาศยุโรป (ESA) มาก่อน ซึ่ง Jeremy Hansen จะเป็นนักบินอวกาศนอกสัญชาติสหรัฐฯ คนแรกที่จะได้ไปดวงจันทร์

ตำแหน่งของ Jeremy Hansen ในภารกิจอาร์ทีมิส 2 เป็นส่วนหนึ่งของ สนธิสัญญาเกตเวย์ ระหว่างแคนาดา-สหรัฐฯ ซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่าง NASA กับ CSA ที่ฝ่ายแคนาดาจะรับผิดชอบทั้งตรวจสอบและดูแลระบบหุ่นยนต์ภายนอกทั้งหมดของสถานีอวกาศเกตเวย์ และเปิดให้นักบินอวกาศชาวแคนาดาสามารถปฏิบัติภารกิจในสถานีอวกาศเกตเวย์ และภารกิจในโครงการอาร์ทีมิสครั้งอื่น ๆ ในอนาคต

 

ภารกิจอาร์ทีมิส 2,​ โครงการอาร์ทีมิส, NASA, ดวงจันทร์, สำรวจดวงจันทร์, สนธิสัญญาเกตเวย์ ระหว่างแคนาดา-สหรัฐฯ, นักบินอวกาศ, ยานโอไรออน

NASA ตั้งเป้าว่าจะปล่อยจรวด เพื่อเริ่ม “ภารกิจอาร์ทีมิส 2” ในช่วงปลายปี ค.ศ. 2024 นักบินอวกาศทั้ง 4 คนจะอยู่ในยานโอไรออน (Orion) ของ NASA ที่ติดตั้งบนจรวด SLS และปล่อยจากฐานปล่อยจรวดในศูนย์อวกาศเคนเนดี รัฐฟลอริดา สหรัฐฯ นับเป็นครั้งแรกที่ยานโอไรออนและจรวด SLS จะใช้ปฏิบัติภารกิจแบบมีนักบินอวกาศ หลังจากภารกิจอาร์ทีมิส 1 เมื่อปี ค.ศ. 2022 เป็นเที่ยวบินทดสอบที่ไม่มีนักบินอวกาศไปด้วย

ภารกิจอาร์ทีมิส2 มีระยะเวลานาน 10 วัน นักบินอวกาศทั้ง 4 จะยังไม่ได้ลงไปปฏิบัติภารกิจบนดวงจันทร์ รวมถึงไม่ได้โคจรอยู่รอบดวงจันทร์ แต่จะใช้วิถีไปกลับระหว่างโลก-ดวงจันทร์ ยานโอไรออนนั้นจะมีส่วนยานบริการ (Service Module) ที่สร้างในยุโรป เพื่อใช้ปรับวิถีของยาน ตั้งแต่การออกจากวงโคจรรอบโลกไปจนถึง

การเข้าสู่เส้นทางกลับสู่โลก ก่อนที่ยานโอไรออนจะออกจากวงโคจรรอบโลกมุ่งหน้าสู่ดวงจันทร์ นักบินอวกาศจะใช้จรวดท่อนบนของจรวด SLS เพื่อทดสอบศักยภาพการบังคับวิถียานโอไรออนด้วยนักบินอวกาศ

 

ภารกิจอาร์ทีมิส 2,​ โครงการอาร์ทีมิส, NASA, ดวงจันทร์, สำรวจดวงจันทร์, สนธิสัญญาเกตเวย์ ระหว่างแคนาดา-สหรัฐฯ, นักบินอวกาศ, ยานโอไรออน

นักบินอวกาศจะยังทดสอบระบบสนับสนุนการดำรงชีวิตของนักบินอวกาศ ระบบสื่อสาร และระบบนำทางในยานก่อนมุ่งหน้าสู่ดวงจันทร์ ยานโอไรออนจะบินเหนือพื้นผิวด้านไกลของดวงจันทร์ที่ระยะห่างประมาณ 10,300 กิโลเมตร ทำให้นักบินอวกาศในภารกิจอาร์ทีมิส2 เป็นนักบินอวกาศที่เดินทางสู่อวกาศในระยะห่างจากโลกมากที่สุดอีกด้วย

ภารกิจอาร์ทีมิส2 จะสิ้นสุดลงเมื่อยานโอไรออนหย่อนตัวลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิก บริเวณนอกชายฝั่งรัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐฯ โดยเรือจากกองทัพเรือสหรัฐฯ และทีมงานของ NASA จะไปรับยานพร้อมนักบินอวกาศ หากภารกิจอาร์ทีมิส2 สำเร็จ จะปูทางสู่ภารกิจอาร์ทีมิส 3 ซึ่งเป็นภารกิจแรกที่จะพานักบินอวกาศกลับไปลงสำรวจบนพื้นผิวดวงจันทร์ และเลือกพื้นที่ลงจอดบริเวณขั้วใต้ของดวงจันทร์ในปลายปี ค.ศ. 2025
NASA ยังตั้งใจให้โครงการอาร์ทีมิสเป็นรากฐานสู่การอยู่อาศัยของมนุษย์อย่างยั่งยืนทั้งบนดวงจันทร์และการโคจรอยู่รอบดวงจันทร์ ซึ่งนักบินอวกาศจะได้เรียนรู้ทักษะเทคนิคต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการส่งนักบินอวกาศสู่ดาวอังคารต่อไป

เรียบเรียง : พิสิฏฐ นิธิยานันท์ – เจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์​ สดร.

ข้อมูล : NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น