นักวิจัยฮาร์วาร์ด ชี้ “PM2.5” เพิ่มความเสี่ยงโรคสมองเสื่อม

นักวิจัยฮาร์วาร์ด เผยฝุ่น "PM2.5" เพิ่มความเสี่ยงภาวะสมองเสื่อม ตอกย้ำ ความจำเป็นในการคุมมาตรฐานอากาศมากขึ้น

นักวิจัยฮาร์วาร์ด ฝุ่น “PM2.5” pm 2.5 thailand เชื่อมโยงกับความเสี่ยงเป็นโรคสมองเสื่อมเพิ่มขึ้น ตอกย้ำถึงความจำเป็นของมาตรการคุณภาพอากาศที่เข้มงวดขึ้น เพื่อปกป้องประชาชน ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

นักวิจัยจากโรงเรียนฮาร์วาร์ด ชาน ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ซึ่งทำการศึกษาเกี่ยวกับการสาธารณสุข ได้ทำการวิเคราะห์ผลการศึกษาก่อนหน้านี้ 14 ชิ้นพบว่า การหายใจอากาศที่มีฝุ่น “PM2.5” ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง มีความสัมพันธ์กับภาวะสมองเสื่อม

ยิ่งไปกว่านั้น พบว่า แม้ว่าระดับฝุ่น PM เฉลี่ยต่อปีจะมีต่ำกว่ามาตรฐานของสำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมของสหรัฐ (EPA) ที่ 12 ไมโครกรัมต่ออากาศ ๅ ลูกบาศก์เมตร ความสัมพันธ์กับภาวะสมองเสื่อมก็ยังคงมีอยู่

 

ฝุ่น PM2.5, PM2.5, PM 2.5, ฝุ่น PM, สำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมของสหรัฐ, ลดระดับฝุ่น PM, โรคสมองเสื่อม, ภาวะสมองเสื่อม, ฝุ่นขนาดเล็ก, ลดระดับฝุ่น PM

 

ด้าน ดร. มาร์ค ไวส์สคอฟ ศาสตราจารย์ด้านระบาดวิทยาสิ่งแวดล้อมและสรีรวิทยาของฮาร์วาร์ด ซึ่งเป็นหนึ่งในเจ้าของงานศึกษาดังกล่าวที่ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ BMJ เมื่อวันพุธที่ผ่านมา กล่าวว่า การลดระดับฝุ่น PM เพียง 2 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรต่อปี ก็น่าจะทำให้อัตราภาวะสมองเสื่อมลดลงได้

พร้อมกล่าวเสริมว่า เท่าที่เราสามารถบอกได้ ยิ่งสัมผัสกับฝุ่น PM ได้น้อยเท่าไหร่ ความเสี่ยงการเป็นโรคสมองเสื่อมก็จะยิ่งน้อยลงเท่านั้น แม้ว่าประชาชนจะควบคุมการสัมผัสกับสารมลพิษดังกล่าวได้เพียงเล็กน้อย แต่หน่วยงานกำกับดูแลสามารถทำได้มากกว่านี้

 

ฝุ่น PM2.5, PM2.5, PM 2.5, ฝุ่น PM, สำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมของสหรัฐ, ลดระดับฝุ่น PM, โรคสมองเสื่อม, ภาวะสมองเสื่อม, ฝุ่นขนาดเล็ก, ลดระดับฝุ่น PM

ทั้งนี้ การสัมผัสกับฝุ่น PM 2.5 ยังเชื่อมโยงกับโรคต่าง ๆ เช่น

  • โรคหัวใจและหลอดเลือด
  • เบาหวานชนิดที่ 2
  • มะเร็งปอด
  • ตลอดจนการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร

องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ระดับ PM 2.5 เฉลี่ยต่อปีต่ำกว่า 5 ไมโครกรัม แต่ประชากรเกือบทั้งโลกหายใจด้วยอากาศที่มีระดับฝุ่นขนาดเล็กที่เกินขีดจำกัดดังกล่าว

 

ฝุ่น PM2.5, PM2.5, PM 2.5, ฝุ่น PM, สำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมของสหรัฐ, ลดระดับฝุ่น PM, โรคสมองเสื่อม, ภาวะสมองเสื่อม, ฝุ่นขนาดเล็ก, ลดระดับฝุ่น PM

 

อย่างไรก็ดี งานศึกษาระบุว่า ฝุ่นPM แม้จะทำให้ความเสี่ยงเกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อมเพิ่มขึ้น แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นน้อยกว่าปัจจัยอื่น ๆ เช่น การสูบบุหรี่ อีกทั้งยังพบว่า ไนโตรเจนไดออกไซด์และไนโตรเจนออกไซด์ ซึ่งเป็นสารมลพิษอีก 2 ชนิด อาจเชื่อมโยงกับความเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อมอีกด้วย แต่ยังต้องมีการศึกษาต่อไป

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น