ทำความรู้จักอาการ "ไส้ติ่งอักเสบ" กับ 5 สัญญาณเตือนที่ไม่ควรมองข้าม อันตรายถึงชีวิต เกิดได้ทุกเพศทุกไว รู้ไวรักษาทัน
ข่าวที่น่าสนใจ
“ไส้ติ่งอักเสบ” เป็นโรคปวดท้องเฉียบพลันที่พบบ่อยที่สุด เกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยจะพบมากในช่วงอายุ 12 – 60 ปี แต่ในอายุที่น้อยหรือมากกว่านี้ก็พบได้เช่นกัน
ไส้ติ่ง อักเสบ เกิดจากอะไร
- การอักเสบของไส้ติ่งเป็นผลมาจากการอุดตันของรูท่อไส้ติ่ง ซึ่งอาจจะเกิดจากอาหารที่กินเข้าไปกลายเป็นอุจจาระแข็งตัว หรือภาวะต่อมน้ำเหลืองโตบริเวณดังกล่าว
- ทำให้แรงดันในไส้ติ่งสูงขึ้น มีการสะสมของแบคทีเรียและเกิดการอักเสบในที่สุด
- นอกจากนี้ ยังเกิดจากการอุดตันของสิ่งแปลกปลอม ก้อนเนื้องอก หนอนพยาธิได้เช่นกัน
หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน ความรุนแรงของโรคจะมากขึ้นเรื่อย ๆ จนผนังไส้ติ่งเกิดการเน่าและแตกส่งผลให้เชื้อโรคแพร่กระจายเป็นอันตรายถึงชีวิต
3 สัญญาณเตือน เข้าข่ายอาการไส้ติ่ง อักเสบ
- มักมีอาการนำด้วยเรื่องคลื่นไส้ พะอืดพะอม
- เบื่ออาหาร
- เริ่มมีอาการปวดท้อง ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับอาการปวดท้องอื่น ๆ ทั่วไป บอกตำแหน่งได้ไม่แน่นอน ซึ่งระยะนี้อาจจะเกิดการวินิจฉัยผิดพลาดได้
อาจจะมีอาการปวดแน่นบริเวณลิ้นปี่, ปวดถี่คล้ายโรคกระเพาะ, ปวดรอบสะดือตื้อ ๆ ตลอดเวลา, ปวดบีบ ๆ คลาย ๆ แบบท้องเสีย เหมือนยังถ่ายไม่สุด แต่ถ่ายไม่ค่อยมีอะไรออกมา ถ้าสังเกตดี ๆ อาการจะแตกต่างกับภาวะท้องเสียที่ถ่ายเป็นน้ำปริมาณครั้งละมาก ๆ
- เริ่มปวดบริเวณด้านล่างขวาขึ้นชัดเจน (แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจจะปวดบริเวณนี้เลยตั้งแต่แรก) การทานยารักษาตามอาการไม่สามารถทำให้หายได้
- เมื่อมีการอักเสบมากขึ้นจะเริ่มเจ็บมากขึ้นเมื่อมีการขยับตัว เดิน ไอ จาม โดยผู้ป่วยจะมีลักษณะเดินตัวงอ เพื่อหลีกเลี่ยงไส้ติ่งสัมผัสกับหน้าท้อง
การตรวจวินิจฉัย
เมื่อผู้ป่วยมีอาการปวดท้องดังกล่าวนานเกิน 6 ชั่วโมง ควรรีบมาพบแพทย์เฉพาะทางที่โรงพยาบาลเพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างเร่งด่วน ซึ่งแพทย์จะทำการวินิจฉัยโดย
- ซักประวัติผู้ป่วย
- ตรวจร่างกาย
- ตรวจสัญญาณชีพ
- และตรวจเม็ดเลือด โดยส่วนใหญ่จะพบว่ามีปริมาณเม็ดเลือดขาวสูงกว่าปกติ ซึ่งบ่งบอกถึงอาการติดเชื้ออักเสบ
- ตรวจปัสสาวะหาเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาว เพื่อแยกโรคอื่น ๆ
- ดูภาวะขาดสมดุลน้ำในร่างกาย ตรวจเอกซเรย์ ซึ่งอาจจะ ได้แก่
- ตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ CT – Scan
- ตรวจอัลตราซาวนด์ช่องท้องด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasound Upper Abdomen)
- ตรวจวินิจฉัยด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพื่อแยกโรคอื่น ๆ หรือประกอบการวินิจฉัยและดูภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ
การ รักษา ไส้ติ่ง อักเสบ
- จำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด เพื่อให้หายขาดจากโรค ซึ่งมีทั้งการผ่าตัดเปิดหน้าท้องและการผ่าตัด เพื่อเอาไส้ติ่งออกผ่านทางกล้อง
- ซึ่งปัจจุบันการผ่าตัดผ่านกล้องค่อนข้างได้รับความนิยมมากขึ้น และเป็นวิธีการมาตรฐานในการรักษา เนื่องจากมีข้อดีกว่าการผ่าตัดแบบเปิดแผลใหญ่ เช่น เห็นไส้ติ่งได้ชัดเจน ผู้ป่วยเจ็บแผลน้อยกว่า การฟื้นตัวได้เร็วมากขึ้น และลดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากการผ่าตัด
โดยการผ่าตัดวิธีนี้ต้องมีทีมศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านการผ่าตัดผ่านกล้องที่มีความพร้อมในการผ่าตัดประกอบกับเทคโนโลยีการผ่าตัดที่ทันสมัย โดยปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยี 3D มาใช้ โดยผ่าตัดผ่านทางกล้องแผลเล็ก 3 มิติ (Advanced 3D Laparoscopic Surgery) ที่ปลายกล้องผ่าตัดมี 2 เลนส์ ทำให้เห็นระยะความลึกของอวัยวะที่กำลังจะผ่าตัดแบบ 3 มิติ (3D)
โดยศัลยแพทย์จะใส่แว่น 3 มิติขณะทำการผ่าตัด ซึ่งให้ความคมชัดของภาพระดับ Full HD หรือจะเป็นเทคโนโลยี 4K Ultra High Definition ที่แสดงผลบนจอภาพขนาด 55 นิ้วด้วยความคมชัดสูงเหนือ Full HD ช่วยให้ศัลยแพทย์เห็นอวัยวะภายในชัดเจนขณะผ่าตัด ลดผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้น และช่วยให้ผลการผ่าตัดเป็นที่น่าพึงพอใจ
“ไส้ติ่งอักเสบ” ในระยะที่มีความรุนแรง
- มีอาการอักเสบจนบวม เน่า และแตกกระจายทั่วท้อง การผ่าตัดด้วยการส่องกล้องจะทำให้ผู้ป่วยได้รับประโยชน์มากขึ้น หลีกเลี่ยงการเปิดแผลใหญ่ หลีกเลี่ยงการปวดแผลและติดเชื้อหลังผ่าตัดได้
- ในกรณีที่ไส้ติ่งเกิดภาวะแทรกซ้อนเป็นฝีหนอง แพทย์เฉพาะทางจะทำการวินิจฉัยด้วยการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ CT – Scan ก่อนจะทำความสะอาดภายในช่องท้องและระบายหนองจากฝีโดยใส่สายระบายเข้าไป เพื่อรักษาอาการติดเชื้อและลดความรุนแรง
- แล้วจึงทำการผ่าตัดผ่านกล้อง ช่วยไม่ให้ผู้ป่วยจำเป็นต้องตัดลำไส้ทิ้งไป ซึ่งความยากของการรักษาไส้ติ่ง อักเสบขึ้นอยู่กับตำแหน่งและความซับซ้อนของโรคเป็นสำคัญ
เพราะไส้ติ่ง อักเสบเป็นโรคที่เกิดขึ้นโดยเฉียบพลันและไม่มีทางป้องกัน การรู้เท่าทัน หมั่นสังเกตความผิดปกติ และรีบพบแพทย์ทันทีเมื่อมีอาการ จะช่วยให้ทำการรักษาได้อย่างถูกต้องและหายได้ สิ่งสำคัญที่ควรพึงระลึกอยู่เสมอคือ ไม่ควรซื้อยามารับประทานเองโดยเด็ดขาด เพราะแม้อาการจะดีขึ้นชั่วคราว แต่อาจรุนแรงยิ่งกว่าเดิมจนยากที่จะรักษา
ข้อมูล : bangkokhospital
ข่าวที่เกี่ยวข้อง