ผลสำรวจ”ซูเปอร์โพล” ชี้ชัดระบอบทักษิณ ส่อเค้าแห้วอีกรอบ

ผลสำรวจ"ซูเปอร์โพล" ชี้ชัดระบอบทักษิณ ส่อเค้าแห้วอีกรอบ

 

สืบเนื่องจากสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เสนอผลการศึกษาเรื่องโพล เลือกตั้ง ส.ส. ครั้งที่ 4 กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 400 เขตเลือกตั้ง จากจำนวนกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาเพื่อประมาณการรวมทั้งสิ้น 6,990 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 5 – 15 เมษายน พ.ศ.2566 โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนจากขนาดตัวอย่างบวกลบร้อยละ 5 ในช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95

 

 

 

โดยพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 70.5 หรือประมาณการจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งรวมทั้งสิ้น 37,431,819 คน จะไปเลือกตั้ง ในขณะที่ร้อยละ 29.5 หรือ ประมาณการจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งรวมทั้งสิ้น 15,662,959 คน จะไม่ไปเลือกตั้ง

 

และที่น่าสนใจคือ ผลการศึกษาความเป็นไปได้ของจำนวนที่นั่ง ส.ส. เขตเลือกตั้งจำนวน 400 ที่นั่ง จำแนกตามข้อมูลพื้นฐานการปกครองท้องที่ที่เป็นกลุ่มจังหวัดในแต่ละภูมิภาค พบอย่างชัดเจนว่า พรรคเพื่อไทย ซึ่งประกาศแลนด์สไลด์ หรือ การตั้งเป้ากวาดส.ส. ทั้ง 2 ระบบ เกิน 300 เสียง มีความเป็นไปได้ที่จะได้จำนวนที่นั่ง ส.ส.เขตเลือกตั้ง 133 ที่นั่ง หรือร้อยละ 33.3 ของจำนวนทั้งหมดทั่วประเทศ

 

แยกเป็นส.ส.เขตจำนวน 24 ที่นั่งหรือร้อยละ 64.9 ในภาคเหนือ ส่วนในภาคอีสาน จะได้ ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 78 ที่นั่งหรือร้อยละ 58.6 แต่อาจจะไม่ได้ ส.ส. แบบแบ่งเขตในภาคใต้ นอกจากนี้พรรคเพื่อไทย จะได้ 8 ที่นั่งหรือร้อยละ 24.2 ในกรุงเทพฯ ได้ 18 ที่นั่งหรือร้อยละ 20.2 ในภาคกลาง ได้ 4 ที่นั่งหรือร้อยละ 13.8 ในตะวันออก และ 1 ที่นั่งหรือร้อยละ 5.0 ในภาคตะวันตก

 

อาจเป็นรูปภาพของ 10 คน, ผู้คนกำลังยืน และ ข้อความพูดว่า "เบอร์ 29 พท พรรคเพื่อไทย ×"

 

 

อาจเป็นรูปภาพของ 3 คน, ผู้คนกำลังยืน และ ข้อความพูดว่า "I 0,00 เติมเงินดิจิทัล"

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ส่วนพรรคก้าวไกล ซึ่งถูกมองว่ามีโอกาสสูงในการจับขั้วจัดตั้งรัฐบาลร่วมกับพรรคเพื่อไทย และมีฐานเสียงกลุ่มเดียวกับพรรคเพื่อไทย ในแง่ของกลุ่มต่อต้านรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รวมถึงมีเป้าหมายการนำอำนาจจากการเลือกตั้ง ไปใช้เปลี่ยนแปลง กฎหมายอาญามาตรา 112 รวมถึงการรื้อกฎ ระเบียบ ที่เกี่ยวกับกองทัพ และหน่วยงานความมั่นคง ปรากฎว่ามียอดรวมส.ส.แบบแบ่งเขต เป็นลำดับที่ 6 ด้วยจำนวน ส.ส.เขต 10 ที่นั่ง หรือร้อยละ 2.5 ของจำนวนที่นั่ง ส.ส.เขตเลือกตั้งทั้งหมดทั่วประเทศโดย โดยในการศึกษาครั้งนี้พบว่า พรรคก้าวไกลไม่ได้ ส.ส.เขตเลยในภาคเหนือ และ ได้เพียง 1 ที่นั่ง หรือ ร้อยละ 3.0 ในพื้นที่กรุงเทพฯ , ได้ 2 ที่นั่งหรือร้อยละ 1.5 ในเขตเลือกตั้งภาคอีสาน , ได้ 5 ที่นั่งหรือร้อยละ 5.6 ในพื้นที่ภาคกลาง , ได้ 2 ที่นั่ง หรือร้อยละ 6.9 ในเขตภาคตะวันออก และไม่ได้จำนวนส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งเลยในภาคตะวันตกและภาคใต้

 

 

 

 

ในทางตรงข้ามเมื่อพิจารณาจากพรรคการเมืองขั้วรัฐบาลเดิม ปรากฎว่าผลการสำรวจ มีรายละเอียดสำคัญ ดังนี้ พรรคภูมิใจไทย เป็นพรรคอันดับ 2 ที่คาดว่าได้จำนวนที่นั่ง ส.ส. แบบแบ่งเขตมากที่สุด โดยมียอดรวม 101 ที่นั่งทั่วประเทศ หรือ คิดเป็นร้อยละ 25.3 ของจำนวนที่นั่ง ส.ส. เขตเลือกตั้งทั้งหมด

 

 

แยกเป็นแต่ละกลุ่มจังหวัดของแต่ละภาค ดังนี้ ภาคตะวันตก จำนวน 10 ที่นั่ง หรือ ร้อยละ 50 , ภาคเหนือ จำนวน 5 ที่นั่ง หรือ ร้อยละ 13.5 , กรุงเทพฯ จำนวน 8 ที่นั่ง หรือ ร้อยละ 24.2 , ภาคอีสาน จำนวน 36 ที่นั่ง หรือ ร้อยละ 27.1 , ภาคกลางจำนวน 26 ที่นั่ง หรือ ร้อยละ 29.2 , ภาคตะวันออก จำนวน 6 ที่นั่ง หรือร้อยละ 20.7 และ ภาคใต้จำนวน 10 ที่นั่ง หรือ ร้อยละ 16.9

 

 

ทางด้าน พรรคพลังประชารัฐ คาดหมายว่าจะมีจำนวน ส.ส.เขต 53 ที่นั่ง หรือ ร้อยละ 13.3 ของจำนวนที่นั่ง ส.ส. เขตเลือกตั้งทั้งหมดทั่วประเทศ แยกเป็น ภาคเหนือจำนวน 6 ที่นั่ง หรือ ร้อยละ 16.2 , กรุงเทพฯ จำนวน 2 ที่นั่ง หรือ ร้อยละ 6.1 หรือ ภาคอีสา น จำนวน 10 ที่นั่ง หรือ ร้อยละ 7.5 , ภาคกลาง จำนวน 17 ที่นั่ง หรือ ร้อยละ 19.1 , ภาคตะวันออก จำนวน 8 ที่นั่ง หรือร้อยละ 27.6 , ภาคตะวันตก จำนวน 3 ที่นั่ง หรือร้อยละ 15.0 และภาคใต้ จำนวน 7 ที่นั่ง หรือ ร้อยละ 11.9

 

 

 

ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ ผลสำรวจชี้ว่าคาดการณ์จะได้ จำนวน ส.ส.เขตเลือกตั้ง 44 ที่นั่ง หรือ ร้อยละ 11.0 ของจำนวนที่นั่ง แยกเป็น จำนวน 1 ที่นั่ง หรือ ร้อยละ 2.7 ในภาคเหนือ , ได้ 3 ที่นั่งหรือร้อยละ 9.1 ในกรุงเทพฯ , ได้ 2 ที่นั่ง หรือ ร้อยละ 1.5 ในอีสาน , ได้ 1 ที่นั่ง หรือ ร้อยละ 1.1 ในภาคกลาง , ได้ 7 ที่นั่ง หรือ ร้อยละ 24.1 ในภาคตะวันออก , ได้ 2 ที่นั่ง หรือ ร้อยละ 10.0 ในภาคตะวันตก และ ได้ 28 ที่นั่ง หรือ ร้อยละ 47.5 ในภาคใต้ หรือเท่ากับมีการแลนด์สไลด์เกิดขึ้นในพื้นที่ภาคใต้ โดยพรรคประชาธิปัตย์

 

 

 

ขณะที่พรรครวมไทยสร้างชาติ คาดการณ์ว่าจะได้จำนวน ส.ส.เขต 35 ที่นั่ง หรือร้อยละ 8.8 ของจำนวนที่นั่ง ส.ส. เขตเลือกตั้งทั้งหมดทั่วประเทศ แยกเป็น 1 ที่นั่ง หรือ ร้อยละ 2.7 ในภาคเหนือ , 6 ที่นั่ง หรือ ร้อยละ 18.2 ในกรุงเทพฯ , 1 ที่นั่ง หรือ ร้อยละ 0.8 ในภาคอีสาน , 13 ที่นั่งหรือ ร้อยละ 14.6 ในภาคกลาง , 2 ที่นั่ง หรือ ร้อยละ 6.9 ในภาคตะวันออก , 3 ที่นั่ง หรือ ร้อยละ 15.0 ในภาคตะวันตก และ 9 ที่นั่ง หรือ ร้อยละ 15.3 ในเขตเลือกตั้งภาคใต้

และเมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนจำนวนส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ตามผลการสำรวจความเห็นประชาชน โดยสำนักวิจัยซูเปอร์โพล จะเห็นว่า นอกจากโอกาสพรรคเพื่อไทย ในการชนะเลือกตั้งแบบแลนด์สไลด์เป็นเรื่องเกิดขึ้นยากแล้ว ตัวเลขจำนวนส.ส.ในกลุ่มขั้วรัฐบาลเดิมยังมีจำนวนรวมสูงเพียงพอจะเป็นเสียงข้างมากในการจัดตั้งรัฐบาลอีกด้วย

 

 

 

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ลุค อิชิคาว่า" นักแสดงลูกครึ่ง ร้องปอท.ถูกใส่ร้ายผ่านโซเชียลฯ สร้างความเสื่อมเสีย วอนชาวเน็ตอย่าเชื่อพวกหิวแสง
แน่นสำนักพม.ขอนแก่น "ผู้พิการ" แห่ต่ออายุ-ทำบัตรใหม่ รอรับเงินหมื่น
สุดเศร้า "สาวใหญ่" ร้องถูก "ผัวตำรวจ" ซ้อมอ่วม ซ้ำพยายามล่วงละเมิดลูกเลี้ยง ยันขอดำเนินคดีให้ถึงที่สุด
บริษัทผลิตเพจเจอร์มรณะที่แท้เป็นของอิสราเอล
เลบานอนแบนเพจเจอร์และวอล์กกี้ทอล์กกี้บนเครื่องบิน
“ชนินทร์” จวก “เท่าพิภพ” หยุดเอาดีเข้าตัว ป้ายผู้อื่นเป็นโจรสลัด ชี้ปมร่างสุราก้าวหน้า ถ้าอยากเปลี่ยนแปลง ต้องแสวงหาความร่วมมือ
คุณยายครูเบญเปิดใจทั้งน้ำตา หลังจากที่หลานสาวสอบติดพนักงานราชการแต่ชื่อหาย
"ซีอีโอ TSB" เปิดใจ พัฒนารถเมล์ก้าวสู่ปีที่ 3 พร้อมรับฟัง-นำข้อมูลปรับปรุงทุกจุด ประกาศชัด "รถเมล์คนไทยโตอย่างยั่งยืน"
ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทราร่วมกิจกรรมประชุมสภากาแฟครั้งสุดท้าย ก่อนเกษียณอายุราชการ พร้อมปล่อยพันธุ์กุ้งกุลาดำจำนวน 2 แสนตัว เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนากรมประมง
"พิพัฒน์-สุรศักดิ์" จับมือ สร้างโอกาส นศ.ทำงานปิดเทอม หมื่นอัตรา

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น