ผลสำรวจ”ซูเปอร์โพล” ชี้ชัดระบอบทักษิณ ส่อเค้าแห้วอีกรอบ

ผลสำรวจ"ซูเปอร์โพล" ชี้ชัดระบอบทักษิณ ส่อเค้าแห้วอีกรอบ

 

สืบเนื่องจากสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เสนอผลการศึกษาเรื่องโพล เลือกตั้ง ส.ส. ครั้งที่ 4 กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 400 เขตเลือกตั้ง จากจำนวนกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาเพื่อประมาณการรวมทั้งสิ้น 6,990 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 5 – 15 เมษายน พ.ศ.2566 โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนจากขนาดตัวอย่างบวกลบร้อยละ 5 ในช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95

 

 

 

โดยพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 70.5 หรือประมาณการจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งรวมทั้งสิ้น 37,431,819 คน จะไปเลือกตั้ง ในขณะที่ร้อยละ 29.5 หรือ ประมาณการจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งรวมทั้งสิ้น 15,662,959 คน จะไม่ไปเลือกตั้ง

 

และที่น่าสนใจคือ ผลการศึกษาความเป็นไปได้ของจำนวนที่นั่ง ส.ส. เขตเลือกตั้งจำนวน 400 ที่นั่ง จำแนกตามข้อมูลพื้นฐานการปกครองท้องที่ที่เป็นกลุ่มจังหวัดในแต่ละภูมิภาค พบอย่างชัดเจนว่า พรรคเพื่อไทย ซึ่งประกาศแลนด์สไลด์ หรือ การตั้งเป้ากวาดส.ส. ทั้ง 2 ระบบ เกิน 300 เสียง มีความเป็นไปได้ที่จะได้จำนวนที่นั่ง ส.ส.เขตเลือกตั้ง 133 ที่นั่ง หรือร้อยละ 33.3 ของจำนวนทั้งหมดทั่วประเทศ

 

แยกเป็นส.ส.เขตจำนวน 24 ที่นั่งหรือร้อยละ 64.9 ในภาคเหนือ ส่วนในภาคอีสาน จะได้ ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 78 ที่นั่งหรือร้อยละ 58.6 แต่อาจจะไม่ได้ ส.ส. แบบแบ่งเขตในภาคใต้ นอกจากนี้พรรคเพื่อไทย จะได้ 8 ที่นั่งหรือร้อยละ 24.2 ในกรุงเทพฯ ได้ 18 ที่นั่งหรือร้อยละ 20.2 ในภาคกลาง ได้ 4 ที่นั่งหรือร้อยละ 13.8 ในตะวันออก และ 1 ที่นั่งหรือร้อยละ 5.0 ในภาคตะวันตก

อาจเป็นรูปภาพของ 10 คน, ผู้คนกำลังยืน และ ข้อความพูดว่า "เบอร์ 29 พท พรรคเพื่อไทย ×"

 

อาจเป็นรูปภาพของ 3 คน, ผู้คนกำลังยืน และ ข้อความพูดว่า "I 0,00 เติมเงินดิจิทัล"

ข่าวที่น่าสนใจ

ส่วนพรรคก้าวไกล ซึ่งถูกมองว่ามีโอกาสสูงในการจับขั้วจัดตั้งรัฐบาลร่วมกับพรรคเพื่อไทย และมีฐานเสียงกลุ่มเดียวกับพรรคเพื่อไทย ในแง่ของกลุ่มต่อต้านรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รวมถึงมีเป้าหมายการนำอำนาจจากการเลือกตั้ง ไปใช้เปลี่ยนแปลง กฎหมายอาญามาตรา 112 รวมถึงการรื้อกฎ ระเบียบ ที่เกี่ยวกับกองทัพ และหน่วยงานความมั่นคง ปรากฎว่ามียอดรวมส.ส.แบบแบ่งเขต เป็นลำดับที่ 6 ด้วยจำนวน ส.ส.เขต 10 ที่นั่ง หรือร้อยละ 2.5 ของจำนวนที่นั่ง ส.ส.เขตเลือกตั้งทั้งหมดทั่วประเทศโดย โดยในการศึกษาครั้งนี้พบว่า พรรคก้าวไกลไม่ได้ ส.ส.เขตเลยในภาคเหนือ และ ได้เพียง 1 ที่นั่ง หรือ ร้อยละ 3.0 ในพื้นที่กรุงเทพฯ , ได้ 2 ที่นั่งหรือร้อยละ 1.5 ในเขตเลือกตั้งภาคอีสาน , ได้ 5 ที่นั่งหรือร้อยละ 5.6 ในพื้นที่ภาคกลาง , ได้ 2 ที่นั่ง หรือร้อยละ 6.9 ในเขตภาคตะวันออก และไม่ได้จำนวนส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งเลยในภาคตะวันตกและภาคใต้

 

 

ในทางตรงข้ามเมื่อพิจารณาจากพรรคการเมืองขั้วรัฐบาลเดิม ปรากฎว่าผลการสำรวจ มีรายละเอียดสำคัญ ดังนี้ พรรคภูมิใจไทย เป็นพรรคอันดับ 2 ที่คาดว่าได้จำนวนที่นั่ง ส.ส. แบบแบ่งเขตมากที่สุด โดยมียอดรวม 101 ที่นั่งทั่วประเทศ หรือ คิดเป็นร้อยละ 25.3 ของจำนวนที่นั่ง ส.ส. เขตเลือกตั้งทั้งหมด

 

 

แยกเป็นแต่ละกลุ่มจังหวัดของแต่ละภาค ดังนี้ ภาคตะวันตก จำนวน 10 ที่นั่ง หรือ ร้อยละ 50 , ภาคเหนือ จำนวน 5 ที่นั่ง หรือ ร้อยละ 13.5 , กรุงเทพฯ จำนวน 8 ที่นั่ง หรือ ร้อยละ 24.2 , ภาคอีสาน จำนวน 36 ที่นั่ง หรือ ร้อยละ 27.1 , ภาคกลางจำนวน 26 ที่นั่ง หรือ ร้อยละ 29.2 , ภาคตะวันออก จำนวน 6 ที่นั่ง หรือร้อยละ 20.7 และ ภาคใต้จำนวน 10 ที่นั่ง หรือ ร้อยละ 16.9

 

 

ทางด้าน พรรคพลังประชารัฐ คาดหมายว่าจะมีจำนวน ส.ส.เขต 53 ที่นั่ง หรือ ร้อยละ 13.3 ของจำนวนที่นั่ง ส.ส. เขตเลือกตั้งทั้งหมดทั่วประเทศ แยกเป็น ภาคเหนือจำนวน 6 ที่นั่ง หรือ ร้อยละ 16.2 , กรุงเทพฯ จำนวน 2 ที่นั่ง หรือ ร้อยละ 6.1 หรือ ภาคอีสา น จำนวน 10 ที่นั่ง หรือ ร้อยละ 7.5 , ภาคกลาง จำนวน 17 ที่นั่ง หรือ ร้อยละ 19.1 , ภาคตะวันออก จำนวน 8 ที่นั่ง หรือร้อยละ 27.6 , ภาคตะวันตก จำนวน 3 ที่นั่ง หรือร้อยละ 15.0 และภาคใต้ จำนวน 7 ที่นั่ง หรือ ร้อยละ 11.9

 

 

 

ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ ผลสำรวจชี้ว่าคาดการณ์จะได้ จำนวน ส.ส.เขตเลือกตั้ง 44 ที่นั่ง หรือ ร้อยละ 11.0 ของจำนวนที่นั่ง แยกเป็น จำนวน 1 ที่นั่ง หรือ ร้อยละ 2.7 ในภาคเหนือ , ได้ 3 ที่นั่งหรือร้อยละ 9.1 ในกรุงเทพฯ , ได้ 2 ที่นั่ง หรือ ร้อยละ 1.5 ในอีสาน , ได้ 1 ที่นั่ง หรือ ร้อยละ 1.1 ในภาคกลาง , ได้ 7 ที่นั่ง หรือ ร้อยละ 24.1 ในภาคตะวันออก , ได้ 2 ที่นั่ง หรือ ร้อยละ 10.0 ในภาคตะวันตก และ ได้ 28 ที่นั่ง หรือ ร้อยละ 47.5 ในภาคใต้ หรือเท่ากับมีการแลนด์สไลด์เกิดขึ้นในพื้นที่ภาคใต้ โดยพรรคประชาธิปัตย์

 

 

 

ขณะที่พรรครวมไทยสร้างชาติ คาดการณ์ว่าจะได้จำนวน ส.ส.เขต 35 ที่นั่ง หรือร้อยละ 8.8 ของจำนวนที่นั่ง ส.ส. เขตเลือกตั้งทั้งหมดทั่วประเทศ แยกเป็น 1 ที่นั่ง หรือ ร้อยละ 2.7 ในภาคเหนือ , 6 ที่นั่ง หรือ ร้อยละ 18.2 ในกรุงเทพฯ , 1 ที่นั่ง หรือ ร้อยละ 0.8 ในภาคอีสาน , 13 ที่นั่งหรือ ร้อยละ 14.6 ในภาคกลาง , 2 ที่นั่ง หรือ ร้อยละ 6.9 ในภาคตะวันออก , 3 ที่นั่ง หรือ ร้อยละ 15.0 ในภาคตะวันตก และ 9 ที่นั่ง หรือ ร้อยละ 15.3 ในเขตเลือกตั้งภาคใต้

และเมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนจำนวนส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ตามผลการสำรวจความเห็นประชาชน โดยสำนักวิจัยซูเปอร์โพล จะเห็นว่า นอกจากโอกาสพรรคเพื่อไทย ในการชนะเลือกตั้งแบบแลนด์สไลด์เป็นเรื่องเกิดขึ้นยากแล้ว ตัวเลขจำนวนส.ส.ในกลุ่มขั้วรัฐบาลเดิมยังมีจำนวนรวมสูงเพียงพอจะเป็นเสียงข้างมากในการจัดตั้งรัฐบาลอีกด้วย

 

 

 

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น