เตือนภัย “พยาธิ” ในซาซิมิ ใครชอบกินระวังให้ดี รุนแรงถึงชีวิต

ซาซิมิ, พยาธิ, ปลาดิบ, ปลาทะเล, ปลาน้ำจืด, พยาธิตัวจี๊ด, พยาธิตืดปลา, พยาธิใบไม้ตับ , พยาธิใบไม้ปอด, พยาธิลำไส้แคปิลลาเรีย, พยาธิในปลา, ไข่พยาธิ, พยาธิอะนิซาคิส

เตือนภัยสายกินดิบ "พยาธิ" ในซาซิมิ ใครชอบกินระวังให้ดี กรมประมงเผย พบทั้งในปลาทะเลและปลาน้ำจืดที่นิยมนำมาทำซาชิมิ พร้อมทำลายอวัยวะ อันตรายถึงชีวิต

กรมประมง โพสต์เตือนภัย “พยาธิ” ในซาซิมิ พบทั้งในปลาทะเลและปลาน้ำจืดที่นิยมนำมาทำซาชิมิ หากไม่ระวังอาจถึงตายได้ ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

ซาซิมิเป็นอาหารที่ได้จากการแล่เนื้อปลา หมึก หรือเนื้อสัตว์อื่นที่ยังสดอยู่เป็นชิ้นบาง ๆ และมักจะรับประทานคู่กับโชยุหรือซีอิ้วญี่ปุ่นและวาซาบิ ซึ่งซาชิมินั้นสามารถใช้ทั้ง

  • สัตว์น้ำทะเล
  • สัตว์น้ำจืด
  • สัตว์น้ำกร่อย

เป็นวัตถุดิบได้ แต่การบริโภคอาหารแบบดิบนั้น มีโอกาสที่จะพบ “พยาธิ” ต่าง ๆ เช่น

1. ซาชิมิจากปลาหรือหมึกทะเล

2. ซาชิมิจากปลาน้ำจืดและน้ำกร่อย

 

ซาซิมิ, พยาธิ, ปลาดิบ, ปลาทะเล, ปลาน้ำจืด, พยาธิตัวจี๊ด, พยาธิตืดปลา, พยาธิใบไม้ตับ , พยาธิใบไม้ปอด, พยาธิลำไส้แคปิลลาเรีย, พยาธิในปลา, ไข่พยาธิ, พยาธิอะนิซาคิส

 

ลักษณะและอาการของผู้ที่บริโภค “พยาธิ” เข้าไปได้

1. พยา ธิตืดปลา

  • เป็นพยา ธิตัวแบนยาว ลำตัวเป็นปล้อง ยาวได้มากที่สุดประมาณ 150 เซนติเมตร
  • หากบริโภคเข้าไปและเกิดการสะสมเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดอาการท้องอืด แน่นท้อง เจ็บบริเวณชายโครงขวา ร้อนบริเวณหน้าท้อง
  • หากปล่อยไว้นานจะมีอาการอักเสบของท่อน้ำดี ตัวเหลือง ตาเหลือง ตับโต มีไข้
  • บางรายอาจกลายเป็นมะเร็งท่อน้ำดีในตับ และอาจถึงตาย

2. พยา ธิตัวจี๊ด

  • มีลักษณะลำตัวกลมยาวประมาณ 1.5 – 3.0 เซนติเมตร หัวคล้ายลูกฟักทอง ทั้งหัว และตัวจะมีหนาม
  • โดยพบตัวอ่อนของพยา ธิในปลา เมื่อคนกินปลา ซึ่งมีพยา ธิระยะติดต่อเข้าไป
  • พยา ธิจะคืบคลาน หรือไชไปตามอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย หากเข้าสู่อวัยวะสำคัญอาจถึงตาย

 

ซาซิมิ, พยาธิ, ปลาดิบ, ปลาทะเล, ปลาน้ำจืด, พยาธิตัวจี๊ด, พยาธิตืดปลา, พยาธิใบไม้ตับ , พยาธิใบไม้ปอด, พยาธิลำไส้แคปิลลาเรีย, พยาธิในปลา, ไข่พยาธิ, พยาธิอะนิซาคิส

3. “พยาธิ” อะนิซาคิส

  • เป็นพยา ธิที่พบในปลาทะเลเขตอบอุ่นและเขตร้อน
  • ลำตัวยาวประมาณ 1 – 2 เซนติเมตร บริเวณปากจะมีหนามขนาดเล็ก บริเวณปลายหางจะมีส่วนแหลมยื่นออกมา
  • พยา ธิชนิดนี้จะไชผ่านกระเพาะอาหารและลำไส้ ทำให้เกิดแผล และอาจมีเลือดออกในกระเพาะอาหาร
  • ทำให้ปวดท้อง แน่นท้อง ท้องเสีย คลื่นไส้ และท้องอืด

4. พยา ธิใบไม้ แบ่งได้ 2 ชนิด ได้แก่

  • พยา ธิใบไม้ตับ 
    • เกิดจากการกินอาหารประเภทปลาน้ำจืดชนิดมีเกล็ดที่มีตัวอ่อนของพยา ธิใบไม้ตับ
    • หากบริโภคปลาที่มีพยา ธิชนิดนี้เข้าไปจะเกิดอาการ เช่น ท้องอืด แน่นท้อง เจ็บบริเวณชายโครงขวา ร้อนบริเวณหน้าท้อง
    • หากปล่อยไว้นานจะมีอาการอักเสบของท่อน้ำดี ตัวเหลือง ตาเหลือง ตับโต มีไข้ บางรายอาจกลายเป็นมะเร็งท่อน้ำดีในตับ และอาจถึงตายได้

 

ซาซิมิ, พยาธิ, ปลาดิบ, ปลาทะเล, ปลาน้ำจืด, พยาธิตัวจี๊ด, พยาธิตืดปลา, พยาธิใบไม้ตับ , พยาธิใบไม้ปอด, พยาธิลำไส้แคปิลลาเรีย, พยาธิในปลา, ไข่พยาธิ, พยาธิอะนิซาคิส

 

  • พยา ธิใบไม้ปอด
    • คนและสัตว์ติดต่อโดยการบริโภคปูและกุ้งน้ำจืดแบบดิบหรือกึ่งสุกกึ่งดิบ เช่น ปูน้ำตก ปูลำห้วย ปูป่า กุ้งฝอย ที่มีตัวอ่อนระยะติดต่อของพยาธิใบไม้ปอดอยู่
    • เมื่อบริโภคสัตว์น้ำเหล่านี้เข้าไป ตัวอ่อนระยะติดต่อของพยา ธิจะไชทะลุผนัง ลำไส้เล็กส่วนต้นออกสู่ช่องท้อง ผ่านกระบังลม และเข้าฝังตัวในปอด
    • ทำให้ปอดอักเสบ คนไข้จะมีอาการเจ็บหน้าอก ไอเรื้อรังบางครั้งมีเลือดปนออกมากับเสมหะ พยา ธิอาจไชไปอยู่ที่อวัยวะอื่น เช่น ตับ ลำไส้ กล้ามเนื้อ เยื่อบุช่องท้อง และสมอง เป็นต้น
    • ทำให้เกิดอาการผิดปกติของอวัยวะเหล่านั้น

5. พยา ธิลำไส้แคปิลลาเรีย

  • เมื่อปลากินไข่พยา ธิเข้าไปจะฟักเป็นตัวอ่อนในปลา เมื่อคนบริโภคพยา ธิชนิดนี้ พยา ธิจะฝังอยู่ที่ลำไส้
  • ทำให้สูญเสียหน้าที่ในการดูดซึมอาหาร เกิดอาการท้องเสีย อุจจาระมีกากมาก

 

ซาซิมิ, พยาธิ, ปลาดิบ, ปลาทะเล, ปลาน้ำจืด, พยาธิตัวจี๊ด, พยาธิตืดปลา, พยาธิใบไม้ตับ , พยาธิใบไม้ปอด, พยาธิลำไส้แคปิลลาเรีย, พยาธิในปลา, ไข่พยาธิ, พยาธิอะนิซาคิส

 

  • บางรายถ่ายเหลวนานนับเดือน คลื่นไส้ เบื่ออาหารและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต

 

แนวทางการป้องกัน

  • ควรบริโภคอาหารประเภทซาชิมิอย่างปลอดภัยโดยแช่แข็งที่อุณหภูมิ -35 องศาเซลเซียส นาน 15 ชั่วโมง หรือ -20 องศาเซลเซียส นาน 7 วัน ก่อนรับประทาน เพื่อทำให้พยา ธิตาย
  • ควรเลือกซื้อสัตว์น้ำจากแหล่งที่เชื่อถือได้ และมาจากฟาร์มที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี (GAP) จึงจะปลอดภัยกับผู้บริโภค

 

ซาซิมิ, พยาธิ, ปลาดิบ, ปลาทะเล, ปลาน้ำจืด, พยาธิตัวจี๊ด, พยาธิตืดปลา, พยาธิใบไม้ตับ , พยาธิใบไม้ปอด, พยาธิลำไส้แคปิลลาเรีย, พยาธิในปลา, ไข่พยาธิ, พยาธิอะนิซาคิส

 

สามารถสอบถามข้อมูลการบริโภคสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำอย่างปลอดภัย ได้ที่กลุ่มวิจัยความปลอดภัยสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์ กองวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ

  • โทรศัพท์ 0 2940 6130 – 45 ต่อ 4209
  • อีเมล [email protected]

ข้อมูล : กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมประมง

รูปภาพ : CDC และ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน
สถาปนาเขตพื้นที่คุ้มครองฯ ชาติพันธุ์ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น