ชมภาพถ่าย “เนบิวลา” แคลิฟอร์เนีย ฝีมือคนไทย ใช้เวลาถ่ายกว่า 46 ชม.

เนบิวลา, เนบิวลาแคลิฟอร์เนีย, ภาพถ่ายดาราศาสตร์, NGC 1499, กลุ่มดาวเพอร์ซีอุส,​ นัก ดาราศาสตร์, Edward Emerson Barnard, Xi Persei, ดาวฤกษ์, วัตถุในห้วงอวกาศลึก

ชมภาพถ่ายดาราศาสตร์ "เนบิวลา" แคลิฟอร์เนีย ฝีมือคนไทย ใช้เวลาถ่ายรวมกว่า 46 ชม. กว่าจะได้ภาพถ่ายวัตถุในห้วงอวกาศลึกสุดอลังการ

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เผยภาพถ่ายดาราศาสตร์ “เนบิวลา” แคลิฟอร์เนีย (NGC 1499) ฝีมือคนไทย ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

“เนบิวลา” แคลิฟอร์เนีย (California Nebula) หรือ NGC 1499 เป็นเน บิวลาชนิดเปล่งแสง อยู่ในบริเวณกลุ่มดาวเพอร์ซีอุส ห่างจากโลกไปประมาณ 1,500 ปีแสง มีพื้นที่เกือบ 2.5 องศาบนท้องฟ้า ค้นพบโดยนัก ดาราศาสตร์ชาวอเมริกัน Edward Emerson Barnard ในปี 2427 ชื่อเน บิวลานี้มีที่มาจากความคล้ายคลึงกับรูปร่างของรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา

 

เนบิวลา, เนบิวลาแคลิฟอร์เนีย, ภาพถ่ายดาราศาสตร์, NGC 1499, กลุ่มดาวเพอร์ซีอุส,​ นัก ดาราศาสตร์, Edward Emerson Barnard, Xi Persei, ดาวฤกษ์, วัตถุในห้วงอวกาศลึก

 

การเปล่งแสงของเน บิวลานี้ เกิดจากการได้รับพลังงานจากดาวฤกษ์ที่มีพลังงานมหาศาล ชื่อ Xi Persei หรือเรียกอีกชื่อว่า Menkib อยู่บริเวณด้านบนของภาพ ซึ่งเป็นยักษ์สีน้ำเงินมีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์ถึง 30 เท่า

อย่างไรก็ตาม เน บิวลานี้มีความสว่างปรากฏน้อย จึงยากต่อการสังเกตการณ์ด้วยตาเปล่า หากถ่ายภาพจำเป็นต้องถ่ายภาพฟิลเตอร์ไฮโดรเจนแอลฟา (Hα) จึงจะเห็นรายละเอียดของเน บิวลาชัดเจนมากยิ่งขึ้น

 

เนบิวลา, เนบิวลาแคลิฟอร์เนีย, ภาพถ่ายดาราศาสตร์, NGC 1499, กลุ่มดาวเพอร์ซีอุส,​ นัก ดาราศาสตร์, Edward Emerson Barnard, Xi Persei, ดาวฤกษ์, วัตถุในห้วงอวกาศลึก

ภาพถ่ายนี้ประกอบด้วย 2 ภาพต่อกัน เนื่องจาก “เนบิวลา” นี้มีขนาดใหญ่ โดยแต่ละภาพถ่ายผ่านฟิลเตอร์ไฮโดรเจนแอลฟา (Hα) เป็นเวลา 10 ชั่วโมง, SII 10 ชั่วโมง, OIII 3 ชั่วโมง และนำภาพที่ได้ไปเข้าสู่กระบวนการลดสัญญาณรบกวน จากนั้นจึงนำภาพมารวมกันโดยใช้เทคนิคการผสมสีแบบ Hubble Palette (สัญญาณ SII แทน Red channel, สัญญาณ Hα แทน Green channel และ สัญญาณ OIII แทน Blue channel)

แต่เนื่องจากเน บิวลานี้มีธาตุ OIII อยู่น้อยมาก จึงใช้เทคนิคการผสมสีแบบใหม่ โดยสีทองแทนช่วงการเปล่งแสงของซัลเฟอร์ (SII) สีฟ้าแทนการเปล่งแสงของไฮโดรเจนอัลฟา (Hα) ส่วนสีขาวสว่างคือ 2 ธาตุนี้ผสมกัน

 

เนบิวลา, เนบิวลาแคลิฟอร์เนีย, ภาพถ่ายดาราศาสตร์, NGC 1499, กลุ่มดาวเพอร์ซีอุส,​ นัก ดาราศาสตร์, Edward Emerson Barnard, Xi Persei, ดาวฤกษ์, วัตถุในห้วงอวกาศลึก

 

รายละเอียดการถ่ายภาพ

ปีที่ถ่ายภาพ : 2563
สถานที่ถ่ายภาพ : รังสิต ปทุมธานี
สภาพท้องฟ้า : Bortle scale 8
อุปกรณ์ที่ใช้ในการถ่ายภาพ : กล้อง ZWO 1600MM, เลนส์ Zigma 500mm f/4, ขาตั้งตามดาว iOptron CEM70, ฟิลเตอร์ Ha SII OIII
ขนาดหน้ากล้อง : 125mm
เวลาที่ใช้ในการถ่ายภาพ : 46 ชั่วโมง
ความยาวโฟกัส : 500mm
อัตราส่วนทางยาวโฟกัส : f/4
ความไวแสง : gain 139
ฟิลเตอร์ : Hα SII OIII

ภาพ : รัตถชล อ่างมณี – ผู้ได้รับรางวัลชมเชย การประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์ ปี 2564 ประเภทวัตถุในห้วงอวกาศลึก (Deep Sky Objects)

ข้อมูล : NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน
สถาปนาเขตพื้นที่คุ้มครองฯ ชาติพันธุ์ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว
ผบ.ตร.สั่งสอบคลิปแก๊งต่างด้าว แสดงพฤติกรรมเย้ยกม. กำชับคุมเข้ม ใช้ยาแรง

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น