รู้จัก “อะฟลาท็อกซิน” เชื้อราในอาหารแห้ง สาเหตุมะเร็งตับ

ทำความรู้จัก สาร "อะฟลาท็อกซิน" เชื้อราในอาหาร ตัวการร้ายต้นเหตุมะเร็งตับ เปิด 6 วิธีป้องกันอันตรายจากสารตัวร้าย เช็คเลยต้องทำยังไงบ้าง

รู้จักสาร “อะฟลาท็อกซิน” (Aflatoxin) อะฟลา ท็อกซิน อาการ อะ ฟลาทอกซิน พบในอาหารชนิดใด สารพิษในอาหาร ต้นเหตุสำคัญของมะเร็งตับ อย. แนะ 6 แนวทางป้องกันอันตรายจากสารนี้ หาคำตอบได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

องค์การอนามัยโลก กำหนดให้ “อะ ฟลาท็อกซิน” เป็นสารก่อมะเร็งที่ร้ายแรงมากชนิดหนึ่งโดยปริมาณเพียง 1 ไมโครกรัม สามารถทำให้เกิดการกลายพันธุ์ในแบคทีเรียและทำให้เกิดมะเร็งในสัตว์ทดลองได้ หากได้รับอย่างต่อเนื่อง

สารอะ ฟลาท็อกซิน” คืออะไร พบในอาหารชนิดใดบ้าง

  • สารอะ ฟลาท็อกซิน สามารถพบได้ทั่วไปในอาหาร และผลผลิตทางการเกษตร
  • อาหารที่มักพบว่ามีสารอะ ฟลาท็อกซิน ได้แก่
    • ผลิตภัณฑ์ประเภทแป้ง
    • อาหารหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากถั่วลิสง
    • ปนเปื้อนอยู่ในข้าวโพด มันสำปะหลัง
    • อาหารแห้ง เช่น ผักและผลไม้อบแห้ง ปลาแห้ง กุ้งแห้ง ธัญพืช เนื้อมะพร้าวแห้ง หัวหอมแห้ง กระเทียมแห้ง พริกแห้ง พริกไทย งา เม็ดมะม่วงหิมพานต์ และถั่วอื่น ๆ

 

อะฟลาท็อกซิน, Aflatoxin, อาหารแห้ง,​ เชื้อรา, มะเร็งตับ, สารพิษ,​ ตับแข็ง, อะฟลาทอกซิน พบในอาหารชนิดใด, อะฟลา ท็อกซิน อาการ, ถั่วลิสง

 

อะฟลา ท็อกซิน อาการ

ในระยะแรกจะไม่มีอาการแต่จะแสดงอาการเมื่อร่างกายได้รับสารพิษในปริมาณมาก ๆ

  • อาการอาเจียน
  • ท้องเดิน

หากรับประทานปริมาณน้อยแต่บ่อยครั้งจะไปสะสมเป็นพิษที่ตับ

  • ทำให้เนื้อตับมีไขมันสะสมมาก
  • เซลล์ตับถูกทำลาย จนอักเสบมีเลือดออกจนตับแข็ง
  • เกิดการอักเสบของตับเรื้อรัง เกิดภาวะตับแข็ง ก่อเกิดมะเร็งตับ
  • อาจมีผลต่อระบบไต หัวใจ

 

อะฟลาท็อกซิน, Aflatoxin, อาหารแห้ง,​ เชื้อรา, มะเร็งตับ, สารพิษ,​ ตับแข็ง, อะฟลาทอกซิน พบในอาหารชนิดใด, อะฟลา ท็อกซิน อาการ, ถั่วลิสง

ทั้งนี้ ระดับของความเป็นพิษขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น

  • ปริมาณที่ได้รับ
  • ความถี่ของการรับประทาน
  • อายุ
  • เพศ
  • การทำงานของเอนไซม์ในตับ
  • ปัจจัยโภชนาการอื่น ๆ

อะฟลาท็อกซิน, Aflatoxin, อาหารแห้ง,​ เชื้อรา, มะเร็งตับ, สารพิษ,​ ตับแข็ง, อะฟลาทอกซิน พบในอาหารชนิดใด, อะฟลา ท็อกซิน อาการ, ถั่วลิสง

 

วิธีการป้องกันสาร อะฟลาท็อกซิน

  • เลือกซื้ออาหารหรือวัตถุดิบแห้งที่อยู่ในสภาพใหม่บรรจุภัณฑ์ได้มาตรฐาน ไม่แตกหรือชำรุด ไม่มีเชื้อรา สะอาด
  • ต้องไม่มีกลิ่นเหม็นอับ ส่งกลิ่นเหม็น หรือชื้น
  • ไม่เก็บอาหารแห้งไว้เป็นเวลานาน เพราะ จะทำให้เกิดการสะสมของเชื้อรา ควรเก็บในที่แห้ง ไม่อับชื้น
  • นำอาหารแห้งไปตากแดดจัด ๆ เพราะ สามารถช่วยลดความชื้นในอาหารได้
  • หากอาหารมีราขึ้น ควรทิ้งให้หมด ไม่ควรตัดเฉพาะส่วนที่ขึ้นราทิ้งไป เพราะอาจมีสารอะ ฟลาท็อกซินกระจายไปทั่ว

ข้อมูล : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"สุดาวรรณ" เยี่ยมชมชุมชนชาวเลสังกาอู้-วิถีวัฒนธรรมชาวเลอูรักลาโวยจ จ.กระบี่
สจ.ธรรมชาติฟ้องตรงอัจฉริยะเรียกค่าเสียหาย 10 ล้านบาท
อย.ตรวจพบสารอันตรายใน อาหารเสริม “กัมมี่” แบรนด์ดัง เร่งดำเนินคดีตามกม.ผู้ผลิต
กระบะสี่ประตูถอยชนกระบะแคปในปั้มน้ำมันแล้วหนีไปเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น สาววัย 41 ปี เจ้าของกระบะแคปหวังเพียงคำขอโทษ
ตระกูล "สิงห์โตทอง" ทิ้งกระจาด ข้าวสาร-อาหารแห้ง 1 พันชุด ย้อนรำลึก "อดีตสส.ดรงค์ สิงห์โตทอง" ผู้ก่อตั้งสมาคมกลุ่มอาชีพการเกษตรชลบุรี ในวันชาวไร่อ้อยชลบุรี
สมศักดิ์ เผย มี ปชช. ร่วมนับคาร์บ ลดป่วย NCDs แล้วกว่า 6.4 แสนคน เดินหน้าอีก 16จว.กลาง-ตะวันออก
กรมส่งเสริมสหกรณ์ขอขยายเวลาโครงการสนับสนุนสินเชื่อสถาบันเกษตรกรแปรรูปยางพาราอีก 10 ปี หวังเสริมสภาพคล่องต่อยอดธุรกิจให้สหกรณ์ชาวสวนยาง
ทบ.สั่งย้าย เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก เซ่นปมทำร้ายร่างกายกำลังพล
บ.สยาม ควอลิตี้ สตาร์ช จำกัด จัดงาน “MODEL SMS 20R” ขยายพันธุ์ต้านทานโรคใบด่างมันสำปะหลัง ภายใน 5 ปี ชัยภูมิต้องปลอดจากการระบาดเป็นจังหวัดแรก
ตร.แจงชัด ติดข้อกม. ยังไม่ได้ตัว "เสี่ยโจ้ ปัตตานี" พ่อค้าน้ำมันเถื่อนใหญ่ พบเบาะแสหนีอยู่กัมพูชา

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น