“พล.ท.นันทเดช” สะกิดคนชั้นกลางอย่านิ่งดูดายเรื่องการเมือง ระวังเหตุเลวร้ายจะเกิดซ้ำแล้วซ้ำอีก

"พล.ท.นันทเดช" สะกิดคนชั้นกลางอย่านิ่งดูดายเรื่องการเมือง ระวังเหตุเลวร้ายจะเกิดซ้ำแล้วซ้ำอีก

04 พ.ค.2566 พล.ท.นันทเดช เมฆสวัสดิ์ อดีตหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ (ศรภ.) โพสต์เฟซบุ๊กว่า การเมืองเป็นเรื่องของทุกๆ คน มาดูเหตุผลที่คนชั้นกลางต้องตื่นตัว ออกมาเลือกตั้งให้มาก ๆ เข้าไว้

 

อาจเป็นรูปภาพของ 1 คน, กำลังนั่ง และ สถานที่ในร่ม

ทำไมโพลนิด้าที่พยายามวางตัวเป็นกลางอย่างเต็มที่แล้ว ยังได้ผลออกมาชี้ซ้ำติดต่อกัน 3 ครั้งแล้วว่า “พรรคเพื่อไทย กับ ก้าวไกล ผลัดกันชนะที่ 1 และ 2”

สาเหตุสำคัญที่ทำให้ผลโพล เป็นเช่นนี้น่าจะมาจากการทำโพลต่างๆ มักได้ข้อมูลจากผู้ตอบแบบสอบถาม ที่เป็นผู้หาเช้ากินค่ำ เกือบ 75% ซึ่งอาจไม่มีเวลามาศึกษานโยบายของพรรคการเมืองต่างๆ มาใช้เป็นฐานในการรวบรวมข้อมูล ผลโพลจึงน่าจะมีโอกาสผิดพลาดสูง เมื่อถึงเวลาการลงคะแนนจริงๆ

ข่าวที่น่าสนใจ

ผู้ที่ตอบแบบสอบถามจำนวน 2,500 คนของโพลนิด้า(NIDA Poll ศึกเลือกตั้ง 2566 ครั้งที่ 3) นั้น มีการจำแนกรายได้ต่อเดือนของผู้ตอบแบบสอบถาม ออกได้ ดังนี้

1.ผู้ที่ไม่มีรายได้เลย 560 คน 2.ผู้ที่มีรายได้ไม่เกิน 1 หมื่นบาท จำนวน 505 คน 3.ผู้ที่มีรายได้ระหว่าง 1-2 หมื่นบาท 774 คน (อนึ่ง ผู้ตอบแบบสอบถามในข้อ 1 อาจรวมถึงนักศึกษาที่เป็น new voter ซึ่งยังไม่ได้ทำงานและมีรายได้ประจำด้วย)

ผู้ตอบแบบสอบถามทั้ง 3 กลุ่มนี้รวมคนได้เกือบ 72 %เข้าไปแล้ว จึงถือว่า เป็นกลุ่มความเห็นหลัก ต่อการกำหนดทิศทางของโพล

มาดูต่อถึงจุดสำคัญ คือ ความคิดเห็นทางการเมืองของบุคคลใน 3 กลุ่มดังกล่าว (กลุ่มที่ 1, 2 และ 3) น่าจะเชื่อไปตาม การโฆษณาหาเสียงของพรรคต่างๆ เป็นส่วนใหญ่ รวมถึงการเชื่อฟังหัวคะแนนอีกด้วย เพราะเวลาประจำวันที่มีอยู่ ต้องถูกใช้ไปในการประกอบอาชีพอย่างเต็มที่ โอกาสที่จะ “พิจารณาข้อดี-ข้อเสีย” ของพรรคการเมืองต่างๆ จึงอาจจะมีน้อยกว่าบุคคลทั่วไป การให้ความเห็นจึงเป็นไปตามผลจากการโฆษณาชวนเชื่อของพรรคการเมือง และหัวคะแนนเกือบทั้งหมด

ส่วนกลุ่มบุคคลที่มีรายได้พอเลี้ยงครอบครัว และมีเวลาที่จะให้ความสนใจเรื่องการเมือง จะอยู่ในกลุ่มที่ 4.รายได้ระหว่าง 2-3 หมื่นบาท 261 คน 5.รายได้ระหว่าง 3-4 หมื่นบาท 98 คน และ 6.รายได้เกิน 4 หมื่นบาทขึ้นไป 98คน ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่จะได้รับผลกระทบโดยตรงจากผลการเลือกตั้งเป็นกลุ่มแรก ถ้าได้รัฐบาลไม่ดี แต่ก็มีจำนวนน้อยกว่า 3 กลุ่มแรกมาก ดังนั้น ผลโพลจึงออกมาในลักษณะเช่นนี้ ตามการให้ข้อมูลของกลุ่มที่ 1-3 ที่มีจำนวนคนมากที่สุดนั่นเอง

จากปัจจัยที่ทำให้เกิดผลโพลในลักษณะนี้ การจะไปชี้แจงให้กลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามในข้อ 1-3 ให้มาเข้าใจเรื่องการเมืองที่ถูกต้อง คงทำได้ยาก และถ้ากลุ่มคนชั้นกลางไม่ตื่นตัวทางการเมืองซ้ำเข้าไปอีก หรือเห็นว่า“ใครจะมาก็ไม่เกี่ยวข้องกับตัวฉัน” จนไม่ออกมาเลือกตั้งให้มากๆแล้ว จะเกิดอะไรขึ้น ก็อย่าเสี่ยงไปลองดูเลยครับ

อย่างไรก็ตาม ผมยังเชื่อว่า ไม่ว่าผู้ตอบแบบสอบถามจะอยู่ในกลุ่มใด (ของนิด้าโพล) ก็น่าประสบปัญหาทางการเมืองที่ไม่ดีมาไม่มากก็น้อย เพราะการเมืองเป็นเรื่องใกล้ตัวทุกคน ทุกวัย คงไม่มีใครอยากที่จะเจอสภาพที่เลวร้ายซ้ำแล้วซ้ำอีกครับ

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น