รฟม.ชี้แจงข่าวลือดีเดย์เปิดเดินรถไฟฟ้า “สีเหลือง-สีชมพู”

รฟม.ชี้แจงข่าวลือดีเดย์เปิดเดินรถไฟฟ้า "สีเหลือง-สีชมพู"

วันนี้ (5 พ.ค.66) กองประชาสัมพันธ์ สำนักสื่อสารองค์กร การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ตามที่ มีข่าวปรากฏทางสื่อมวลชนว่า โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง จะเปิดให้บริการแก่ประชาชนในวันที่ 3 มิถุนายน 2566 โดยจัดเก็บค่าโดยสาร 15-45 บาท และจะเปิดให้ประชาชนได้ทดลองใช้บริการฟรี รวม 11 วัน ระหว่างวันที่ 21-31 พฤษภาคม 2566 นอกจากนี้ โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย – มีนบุรี จะเปิดให้ประชาชนทดลองใช้บริการในเดือนสิงหาคม 2566 และเปิดให้บริการตลอดเส้นทางในช่วงปลายปี 2566 นั้น

รฟม. ขอเรียนว่า ขณะนี้ โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองฯ อยู่ระหว่างการทดสอบงานระบบเดินรถไฟฟ้าในระบบต่างๆ โดยผู้รับสัมปทานยังต้องแก้ไขในรายละเอียดของงานระบบรถไฟฟ้าหลายๆ ระบบซึ่งจำเป็นต้องผ่านเกณฑ์ตามมาตรฐานความปลอดภัยในระดับสากลก่อน จึงจะสามารถเสนอให้ รฟม. พิจารณาการเปิดให้ประชาชนได้ใช้บริการในช่วงทดลองการเดินรถเสมือนจริง (Trial Run) ซึ่งตามปกติจะต้องใช้เวลาในการทดสอบการเดินรถไม่น้อยกว่า 3 เดือน

ในการนี้ หากผู้รับสัมปทานได้ปฏิบัติงานตามสัญญาร่วมลงทุนฯ และงานระบบรถไฟฟ้าได้ผ่านการตรวจสอบรับรองความปลอดภัยแล้ว รฟม. จะได้แจ้งกำหนดการเปิดให้ประชาชนได้ทดลองใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองฯ และกำหนดการเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการให้ประชาชนได้รับทราบต่อไป

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูฯ นั้น ผู้รับสัมปทานได้แจ้งแผนการเปิดให้บริการ โดยผู้รับสัมปทานคาดว่า จะสามารถเริ่มทดลองการเดินรถได้ในเดือนมกราคม 2567 และมีกำหนดการเปิดให้บริการเดินรถตลอดเส้นทางภายในเดือนมิถุนายน 2567 ติดตามรายละเอียดและข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ รฟม. www.mrta.co.th และเฟซบุ๊กแฟนเพจการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ Call Center รฟม. โทร. 0 2716 4044

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย – มีนบุรี) และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) เป็นโครงการระบบขนส่งมวลชนสายรองประเภทรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Straddle Monorail) มีรูปแบบก่อสร้างเป็นโครงสร้างยกระดับตลอดแนวเส้นทาง โดยสายสีเหลือง ระยะทางทั้งสิ้น 30.4 กิโลเมตร มีสถานีรวม 23 สถานี และมีศูนย์ควบคุมการเดินรถและอาคารจอดแล้วจรอยู่ที่สถานีศรีเอี่ยม ส่วนสายสีชมพู มีระยะทางทั้งสิ้น 34.5 กิโลเมตร มีสถานีรวม 30 สถานี และมีศูนย์ควบคุมการเดินรถและอาคารจอดแล้วจรอยู่ที่สถานีมีนบุรี

– โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง
เป็นระบบขนส่งมวลชนประเภทรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Straddle Monorail) มีลักษณะเป็นโครงสร้างยกระดับตลอดแนวเส้นทาง เช่นเดียวกับสายสีชมพู มีระยะทางทั้งสิ้น 30.4 กิโลเมตร ประกอบด้วย 23 สถานี

ข่าวที่น่าสนใจ

โดยแนวเส้นทางโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง เริ่มต้นที่จุดเชื่อมต่อกับระบบรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงินระยะแรก) ที่แยกรัชดา-ลาดพร้าว ไปตามแนวถนนลาดพร้าว โดยเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเทาของกรุงเทพมหานครที่แยกฉลองรัช และยกระดับข้ามทางด่วนฉลองรัชจนถึงทางแยกบางกะปิ

จากนั้นแนวเส้นทางจะเลี้ยวขวาไปทางทิศใต้ตามถนนศรีนครินทร์ เชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มที่ทางแยกลำสาลี ต่อจากนั้นแนวเส้นทางจะยกระดับข้ามทางแยกต่างระดับพระราม 9 โดยเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าเชื่อมต่อท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (Airport Rail Link) และผ่านแยกพัฒนาการ แยกศรีนุช แยกศรีอุดมสุข แยกศรีเอี่ยม จนถึงแยกศรีเทพา โดยแนวเส้นทางจะเลี้ยวขวาอีกครั้งไปทางทิศตะวันตก ตามแนวถนนเทพารักษ์ ผ่านจุดเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการที่สถานีสำโรง และสิ้นสุดแนวเส้นทางบริเวณถนนปู่เจ้าสมิงพราย ซึ่งในส่วนของโรงจอดรถศูนย์ซ่อมบำรุง 1 แห่ง อาคารและลานจอดแล้วจร 1 แห่ง อยู่บริเวณสถานีศรีเอี่ยม

– โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย – มีนบุรี
เป็นระบบขนส่งมวลชนสายรองประเภทรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Straddle Monorail) มีลักษณะเป็นโครงสร้างยกระดับตลอดแนวเส้นทาง ระยะทางทั้งสิ้น 34.5 กิโลเมตร ประกอบด้วย 30 สถานี

แนวเส้นทางเริ่มต้นบนถนนรัตนาธิเบศร์บริเวณระหว่าง ศูนย์ราชการนนทบุรีและแยกแคราย ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่ – บางซื่อ) บริเวณสถานีศูนย์ราชการนนทบุรี จากนั้นจะวิ่งเลี้ยวซ้ายบริเวณแยกแครายเข้าถนนติวานนท์ วิ่งตามถนนติวานนท์จนถึงแยกปากเกร็ด เลี้ยวขวาเข้าถนนแจ้งวัฒนะผ่านเมืองทองธานี ผ่านศูนย์ราชการ ผ่านทางแยกหลักสี่ เชื่อมต่อระบบรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงที่สถานีหลักสี่ ลอดใต้ทางยกระดับอุตราภิมุข (ดอนเมืองโทลเวย์) และผ่านวงเวียนอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ โดยมีสถานีวัดพระศรีมหาธาตุเป็นสถานีเชื่อมต่อ (Interchange Station) เพื่อเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสารระหว่างรถไฟฟ้าสาย สีเขียว ช่วงหมอชิต – สะพานใหม่

จากนั้นแนวเส้นทางจะวิ่งตามถนนรามอินทรา ยกระดับข้ามทางพิเศษฉลองรัชบริเวณแยกวัชรพล จนถึงแยกมีนบุรีแล้ววิ่งเข้าเมืองมีนบุรีตามถนนสีหบุรานุกิจ โดยจะข้ามคลองสามวาและเลี้ยวขวาข้ามคลองแสนแสบผ่านพื้นที่ว่างและข้ามเข้าถนนรามคำแหง (สุขาภิบาล 3 ) จนสิ้นสุดบริเวณทางแยกร่มเกล้า ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน – มีนบุรี ที่สถานีมีนบุรี โดยในส่วนของโรงจอดรถศูนย์ซ่อมบำรุง 1 แห่ง อาคารและลานจอดแล้วจร 1 แห่ง อยู่บริเวณสถานีมีนบุรี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน
สถาปนาเขตพื้นที่คุ้มครองฯ ชาติพันธุ์ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว
ผบ.ตร.สั่งสอบคลิปแก๊งต่างด้าว แสดงพฤติกรรมเย้ยกม. กำชับคุมเข้ม ใช้ยาแรง

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น