เปิดวิธีเลี่ยง "นอนกรน" ภัยเงียบตัวร้าย สร้างความรำคาญอย่างเดียวไม่พอ เสี่ยงหยุดหายใจไม่รู้ตัว พร้อมแนะ 4 สมุนไพรก้นครัว ช่วยลดอาการได้
ข่าวที่น่าสนใจ
โรค “นอนกรน” คืออะไร
- เกิดจากกล้ามเนื้อคอคลายตัวขณะหลับจนทำให้ช่องคอแคบลง
- ส่งผลให้ต้องหายใจเข้าออกแรงขึ้นเรื่อย ๆ
- เมื่อทางเดินหายใจแคบลงจนถึงจุดหนึ่ง ความแรงของลมหายใจที่ยิ่งเพิ่มมากขึ้น
- จนเกิดการสั่นสะเทือนของเนื้อเยื่อภายในระบบทางเดินหายใจ ทำให้มีเสียงกรนตามมา
สาเหตุ ของ การ นอน กรน เกิดจากอะไร
- เกิดการปิดกั้นของระบบทางเดินหายใจ ซึ่งเกิดจากการหย่อนตัวของกล้ามเนื้อ ภายในระบบทางเดินหายใจ เช่น
- ลิ้น ลิ้นไก่
- เพดานอ่อน คอ
- หรืออาจเกิดจากสารหล่อลื่น ในระบบทางเดินหายใจลดลง
- ทำให้เกิดอาการแห้ง และบวม
- ทางเดินหายใจจึงแคบลง เมื่อหายใจจึงเกิดเป็นเสียงกรน
กลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดอาการ นอน กรน
ผู้ชายมีอัตราการนอนกรนมากกว่าผู้หญิง โดยเฉพาะ
- คนอ้วน
- ผู้สูงวัย
- ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ หรือโรคจมูกอักเสบ
- ผู้ที่ทำงานหักโหม หรือออกกำลังกายมากเกินไป
- ดื่มสุรา
- สูบบุหรี่จัด
- กินยานอนหลับ ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้กรนได้
หากช่องคอแคบลงอีกเรื่อย ๆ ก็จะส่งผลให้เกิดการอุดตันในช่องคอแบบชั่วคราว ทำให้ลมหายใจเข้าออกขาดหายไปชั่วขณะ กลายเป็นปรากฏการณ์ที่เรียกว่า การหยุดหายใจขณะหลับ
หากใครมีอาการดังกล่าว ควรรีบไปปรึกษาแพทย์ เพราะ หากปล่อยเอาไว้ อาจเป็นบ่อเกิดของโรคอื่น ๆ ตามมา เช่น
- ความดันโลหิตสูง
- หัวใจขาดเลือด
- อัมพาต ตลอดจนทำให้มีปัญหากับคนใกล้ชิด
7 วิธีเลี่ยงอาการ “นอนกรน”
1. ควบคุมน้ำหนัก
- ความอ้วน เป็นสาเหตุหลักอย่างหนึ่งของอาการนอน กรน
- เพราะ ไขมันที่สะสมบริเวณช่องทางเดินหายใจบริเวณคอ ถูกเบียดให้เล็กลง รวมทั้งไขมันที่หน้าอกและท้อง ก็ยังเป็นภาระให้ร่างกายต้องหายใจหนักขึ้น และใช้พลังงานในการหายใจมากขึ้น
2. ออกกำลังกาย
- ช่วยให้กล้ามเนื้อที่ดึงรั้งช่องทางเดินหายใจมีความแข็งแรงขึ้น ขณะที่นอนหลับเนื้อเยื่อภายในปาก
- จะได้ไม่หย่อนลงมาจนขัดขวางช่องทางเดินหายใจ
3. การจัดท่านอน
- พยายามจัดท่านอน เพื่อป้องกันการหายใจทางปาก
- โดยการนอนตะแคงงอข้อศอก เพื่อให้มือข้างหนึ่งยันคางไว้เป็นการปิดปาก หรืออาจใช้หมอนหนุนหลังเอาไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้พลิกมานอนหงาย
- อาจฝึกด้วยการนอนในที่แคบ ๆ จนเคยชินก็ได้ หรือจะลองใช้ลูกเทนนิสสอดไว้ในเสื้อนอนด้านหลัง ความไม่สบายนี้ จะช่วยเตือนให้คุณหลับในท่าตะแคงได้โดยตลอด
4. ยกศีรษะให้สูงขึ้น
- ถ้านอนตะแคงไม่ได้จริง ๆ ให้นอนหงายแล้วใช้หมอนเล็ก ๆ หนุนที่บริเวณหลังคอด้านบน
- ยกศีรษะให้สูงจากเตียง เพื่อป้องกันไม่ให้ลิ้นหย่อนลงไปในลำคอ จนเกิดเสียงกรนได้
5. รักษาที่นอนให้สะอาด
- พยายามกำจัดปัจจัยที่เสี่ยงต่อการเกิดหอบหืด ภูมิแพ้
- ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการกรน เช่น ไรฝุ่น ขนสัตว์
6. พยายามอย่าให้มีขี้มูกก่อนนอน
- จะช่วยให้ช่องจมูกเปิดโล่ง ลมเข้าออกได้อย่างสะดวก
7. เพิ่มระดับความชื้นในห้องนอน
- เพราะ การนอนในห้องที่มีความชื้นต่ำมาก อากาศภายในห้องจะแห้ง ทำให้เยื่อบุต่าง ๆ ในระบบทางเดินหายใจพลอยแห้งตามไปด้วย
- บางรายอาจเกิดอาการบวม และทางเดินหายใจตีบแคบลง จนเกิดอาการนอน กรนในที่สุด
กินอย่างไรให้ไม่มีอาการนอน กรน
- ไม่ควรกินอาหารก่อนนอนเยอะเกินไป
- ควรหลีกเลี่ยงการกินอาหารหนัก ๆ ในช่วง 3 ชั่วโมงก่อนนอน เป็นไปได้ควรกินอาหารเบา ๆ จำพวกซุปร้อนๆ เช่น ซุปมิโซะ ซุปฟักทอง ซุปข้าวโพด หรือกล้วยน้ำว้าสัก 1-2 ผล
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือยาที่มีฤทธิ์ที่ทำให้ง่วงซึม
- โดยทั่วไปแล้วเมื่อเกิดภาวะขาดออกซิเจน สมองและกล้ามเนื้อต่าง ๆ จะสั่งงานให้ร่างกายตื่นขึ้น
- แต่ถ้าหากถูกกดเอาไว้ด้วยแอลกอฮอล์ หรือยาที่มีฤทธิ์กดประสาท จะทำให้สมองตื่นช้า และอาจตอบสนองต่อภาวะขาดออกซิเจนไม่ทัน จนอาจเสียชีวิตได้
- ดื่มเครื่องดื่มอุ่น ๆ ก่อนนอน การนอน กรนส่วนหนึ่งเกิดขึ้น เพราะ นอนหลับไม่สนิท
ดังนั้น เพื่อการนอนหลับสนิทจนถึงเช้า ลองดื่มนม น้ำผึ้งผสมน้ำอุ่น หรือน้ำสมุนไพรอุ่น ๆ สักแก้วดู น่าจะช่วยลดปัญหาได้
เปิด 4 สมุนไพรกุ้นครัว ลดอาการกรน
1. หอมแดงแก่จัด
- นอกจากจะมีสรรพคุณแก้หวัด คัดจมูก ลดไขมันอุดตันในหลอดเลือดแล้ว กลิ่นฉุนของหอมแดงยังช่วยให้เกิดความชุ่มชื้นในลำคอ
- ช่วยให้ระบบหายใจทำงานได้ดีขึ้น จะเอามาดม หรือประกอบอาหารก็ได้
- กินทุกวันอย่างน้อยสองเดือน และถ้าจะให้ได้ผลดีต้องกินสด ๆ เช่น กินกับเมี่ยง ทำเป็นผักจิ้มน้ำพริก เป็นต้น
2. พริกขี้หนู
- รสเผ็ดของพริกจะช่วยให้ทางเดินหายใจโล่ง และเกิดความชุ่มชื่นในลำคอ
- สารแคปไซซิน ช่วยลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อรอบหลอดลม พริกจึงมีประโยชน์ต่อคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบหายใจ
- สามารถนำพริกขี้หนูไปประกอบอาหาร เช่น แกง ต้มยำ หรือต้มโคล้ง จะช่วยให้ระบบหายใจทำงานสะดวกขึ้น ปัญหาการกรนอาจลดลงได้
3. ขิง
- ใช้เหง้าขิงแก่สดขนาดเท่าหัวแม่มือ หรือประมาณ 5 กรัม ทุบให้แตก ต้มเอาน้ำดื่ม จะช่วยให้สดชื่น ระบบทางเดินหายใจทำงานสะดวกขึ้น
4. ใบแมงลัก
- มีฤทธิ์แก้หวัด และหลอดลมอักเสบ
- นำใบไปประกอบอาหาร จะช่วยให้ระบบหายใจทำงานดีขึ้น
วิธีสังเกตอาการหยุดหายใจขณะหลับ
- เสียงกรนดังได้ยินชัดเจน
- ขี้เซาและง่วงนอนมากผิดปกติในตอนกลางวัน ปวดศีรษะและคอแห้งตอนเช้า
- ตื่นกลางดึกบ่อย ๆ ขณะนอนหลับมีการพลิกตัวไปมาอย่างผิดปกติ
- หายใจติดขัดและหยุดหายใจเป็นพัก ๆ
- มีอาการซึมเศร้า ความต้องการทางเพศ และสติปัญญาลดลง
- ความดันโลหิตสูง จังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ
ข้อมูล : โรงพยาบาลธนบุรี
ข่าวที่เกี่ยวข้อง