“จุรินทร์” ลั่นระฆังนับหนึ่ง FTA ไทย-ยูเออี สร้างแต้มต่อให้สินค้า-บริการ-ลงทุนในไทย หลังสำเร็จคาดสร้างเงินทันทีปีแรก 70,000 ล้าน

“จุรินทร์” ลั่นระฆังนับหนึ่ง FTA ไทย-ยูเออี สร้างแต้มต่อให้สินค้า-บริการ-ลงทุนในไทย หลังสำเร็จคาดสร้างเงินทันทีปีแรก 70,000 ล้าน

วันที่ 9 พ.ค.66 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ แถลงภายหลังการประชุมหารือกับ ดร.ธานี บินอาเหม็ด อัลเซ ยูดี (H.E. Dr. Thani bin Ahmed Al Zeyoudi) รัฐมนตรีแห่งรัฐประจำกระทรวงเศรษฐกิจ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ รับผิดชอบด้านการค้าต่างประเทศ ผ่านระบบการประชุมทางไกล ที่โรงแรมเรเนซองส์ จังหวัดภูเก็ต

โดยนายจุรินทร์ กล่าวว่า เมื่อสักครู่เป็นการประกาศครั้งประวัติศาสตร์ทางการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศไทยกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์(ยูเออี) นับหนึ่งเปิดเจรจาจัดทำเอฟทีเอระหว่างไทยกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ทุกอย่างดำเนินการอย่างรวดเร็วเป็นอย่างยิ่ง นับจากการที่ตนนำคณะผูแทนกระทรวงพาณิชย์และภาคเอกชนเยือนยูเออีเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา จากนั้นเพียง 3 เดือน สามารถประกาศเริ่มการเจรจาจัดทำเอฟทีเอระหว่างกันหรือเรียกว่า CEPA ซึ่งจะเริ่มต้นการเจรจาในวันที่ 16-18 พฤษภาคม โดยยูเออีเป็นเจ้าภาพจัดประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสเป็นครั้งแรกที่ดูไบ ทั้งนี้ ตนมอบหมายให้อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศนำคณะไปเจรจา โดยตั้งเป้าหมายว่าจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน

ข่าวที่น่าสนใจ

ถ้าทุกอย่างเป็นไปตามเป้าหมาย เอฟทีเอระหว่างไทยกับยูเออีจะถือว่าเป็นเอฟทีเอฉบับประวัติศาสตร์ฉบับหนึ่งที่สามารถทำได้เร็วที่สุด คาดว่าจนเสร็จใช้เวลาเพียง 9 เดือน ถ้าฉบับนี้ประสบความสำเร็จจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับเศรษฐกิจการค้าการลงทุนระหว่าง 2 ประเทศ ประการที่หนึ่งประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับประเทศไทยคือสามารถใช้ยูเออีเป็นประตูส่งสินค้าและบริการไปยังอีก 5 ประเทศ สมาชิกคณะมนตรีความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับหรือ GCC ได้แก่ ซาอุดีอาระเบีย บาห์เรน โอมาน กาตาร์ และคูเวต โดยอัตโนมัติ

ประการที่สอง จะช่วยเพิ่มตัวเลขการส่งออกที่ไทยจะส่งออกไปยังยูเออีคาดว่าจะสูงขึ้นมาก มูลค่าการค้าปี 2565 ระหว่างไทยกับยูเออีประมาณ 730,000 ล้านบาท ตัวเลขการส่งออกไทยไปยูเออี ปี 2565 มีมูลค่า 119,000 ล้านบาท คาดว่าจากการทำเอฟทีเอแล้วจะเพิ่มมูลค่าการค้าไม่ต่ำกว่า 10% ทันที( 70,0000 ล้านบาท ภายใน 1 ปี) หรืออาจมากกว่านั้น

สินค้าจะได้รับประโยชน์ทันที เช่น อาหาร อาหารทะเลกระป๋อง อาหารทะเลแปรรูป สิ่งทอ เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม ผลิตภัณฑ์ยางพารา ผลิตภัณฑ์ยานยนต์ แอร์คอนดิชันเนอร์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ รวมทั้งผลิตภัณฑ์เครื่องหนัง เป็นต้น ส่วนภาคบริการไทยจะได้ประโยชน์จากการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ด้านโลจิสติกส์และการขนส่ง ต่อไปในอนาคต นอกจากจะได้แต้มต่อในกลุ่มประเทศตะวันออกกลางอีก 5 ประเทศสมาชิก GCC แล้ว จะถือเป็นเอฟทีเอฉบับแรกของไทยที่ทำกับประเทศในตะวันออกกลาง ถือเป็นฉบับที่ 15 ของไทย กับ 19 ประเทศ และถ้าเอฟทีเอไทยกับสหภาพยุโรปเสร็จสิ้น จะมีผลให้มีเอฟทีเอเพิ่มเป็น 16 ฉบับ กับ 46 ประเทศ

“ถือเป็นเอฟทีเอฉบับก่อนการเลือกตั้งและกระทรวงพาณิชย์ช่วยกันทำงานหนัก เพื่อประโยชน์ของประเทศ ทำกันจนนาทีสุดท้ายเพื่อประโยชน์ของการค้าการลงทุนเศรษฐกิจของประเทศเรา” นายจุรินทร์ กล่าว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ผบก.ภ.จว.สงขลา" ปล่อยแถวปราบปรามอาชญากรรม-ดูแล นทท. สร้างความมั่นใจ ช่วงเทศกาลสงกรานต์ 68
ระทึก ฝนตกหนัก พายุถล่มเมืองพัทลุง ต้นไม้ล้มทับเต็นท์-แม่ค้าหนีตายวุ่น
วธ.ชวนอนุรักษ์ สืบสาน "ประเพณีสงกรานต์ของไทย" แพร่คุณค่า สาระ มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ฯ ของยูเนสโก ปี66
"ผู้ช่วยรมว.วธ." เปิดงาน "สลุงหลวง กลองใหญ่ ปีใหม่เมืองนครลำปาง" ยกย่อง Soft Power ล้านนาไทย
"ผบ.เหล่าทัพ - ผบ.ตร." ตบเท้าเข้ารดน้ำอวยพร "บิ๊กอ้วน" เทศกาลสงกรานต์
"บิ๊กต่าย" ย้ำ 5 มาตรการ ดูแลความปลอดภัยประชาชน ช่วงเทศกาลสงกรานต์ 68
"กรมอุตุฯ" ประกาศฉบับ 3 เตือน พายุฤดูร้อนถล่ม ฝนตกหนัก ลมแรง ลูกเห็บตก ฟ้าผ่า 12-14 เม.ย.นี้ จว.ไหนบ้างเช็กเลย
13 เม.ย.นี้ "ขสมก." มอบสิทธิพิเศษให้ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ขึ้นรถเมล์ฟรีทุกเส้นทาง
"ผบช.สตม." สั่งการ ตม. ปล่อยแถวพร้อมกันทั่วประเทศ ดูแลความปลอดภัย สร้างความเชื่อมั่นเทศกาลสงกรานต์ 68
อียูสั่งชลอภาษีตอบโต้ทรัมป์ 90 วันเท่ากัน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น