รู้จัก “ยาดักจับไขมัน” เปิด 6 ข้อควรรู้ต้องศึกษาให้ดีก่อนใช้

ชวนรู้จัก "ยาดักจับไขมัน" หรือยาลดการดูดซึมไขมัน ไอเทมยอดฮิตในกลุ่มสาว ๆ เปิด 6 ข้อควรรู้ศึกษาให้ดีก่อนใช้ ยานี้เหมาะกับใครบ้าง ย้ำ ใช้ยาผิดอันตรายกว่าที่คิด

อย. ชวนรู้จัก “ยาดักจับไขมัน” หรือยาลดการดูดซึมไขมัน ไอเทมยอดฮิตที่หลายคนเข้าใจผิดใช้ในการลดน้ำหนัก เปิด 6 ข้อควรรู้ที่ต้องศึกษาให้ดีก่อนใช้ ยานี้เหมาะกับใคร มีผลข้างเคียงยังไงบ้าง ย้ำ ใช้ผิดอันตรายกว่าที่คิด ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

“ยาดักจับไขมัน” ใช้กับใครได้บ้าง?

  • ยาลดการดูดซึมไขมัน (Orlistat) เป็นยาสำหรับการรักษาในระยะยาวในผู้ป่วยโรคอ้วน หรือ ผู้ป่วยที่มีน้ำหนักเกิน
  • รวมทั้งผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงสัมพันธ์กับความอ้วน
  • ใช้ร่วมกับอาหารที่มีแคลอรี่ต่ำ ออกฤทธิ์ป้องกันไม่ให้ไขมันบางส่วนจากอาหารที่รับประทานเข้าไปถูกดูดซึมในทางเดินอาหาร
  • โดยให้รับประทานยาพร้อมกับอาหารหลักที่มีไขมันหรือหลังอาหารไม่เกิน 1 ชั่วโมง

ผลข้างเคียงจากการใช้ยา

  • ไขมันไม่ถูกย่อยและไม่ถูกดูดซึม
  • ทำให้มีไขมันออกมาพร้อมอุจจาระและระบบขับถ่ายผิดปกติ

นอกจากนี้ ยาลดการดูดซึมไขมันยังมีผลต่อยาอื่น ๆ รวมถึงมีข้อควรระวังอีกด้วย

 

ยาดักจับไขมัน, ยาลดการดูดซึมไขมัน, ควบคุมน้ำหนัก, โรคอ้วน, ท้องเสีย, ขับไขมัน, ยาดักไขมัน, ความอ้วน, ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน

 

6 ข้อควรรู้ต้องระวังจาก “ยาดักจับไขมัน” ศึกษาให้ดีก่อนใช้

  • หากมื้อไหนไม่ได้รับประทานอาหารหรือรับประทานอาหารที่ไม่มีไขมัน สามารถเว้นการกินยาลดการดูดซึมไขมันได้
  • ห้ามปรับขนาดยาให้มากขึ้นหรือลดลงกว่าที่แพทย์กำหนดหรือที่ระบุไว้ในเอกสารกำกับยา
  • ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาลดการดูดซึมไขมันใน
    • หญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร
    • ผู้ที่มีภาวะท่อทางเดินน้ำดีอุดตัน
    • และมีการดูดซึมอาหารผิดปกติ
  • ยาลดการดูดซึมไขมันมีผลต่อการดูดซึมวิตามินที่ละลายในไขมัน (Vitamin A,D,E และ K) และเบต้าแคโรทีนของร่างกาย ทำให้ได้รับวิตามินดังกล่าวลดลง
  • มีผลต่อยาที่ละลายในไขมัน เช่น
    • รักษาอาการหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ (Amiodarone)
    • ยากดภูมิคุ้มกัน (Cyclosporine) ทำให้ระดับาดังกล่าวในเลือดลดลง ลดประสิทธิภาพในการรักษา
  • รบกวนการดูดซึม Vitamin K อาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยาต้านการแข็งตัวของเลือด (Warfarin) และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออกได้

 

ยาดักจับไขมัน, ยาลดการดูดซึมไขมัน, ควบคุมน้ำหนัก, โรคอ้วน, ท้องเสีย, ขับไขมัน, ยาดักไขมัน, ความอ้วน, ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน

ผู้ที่มีโรคประจำตัวสัมพันธ์กับการรับประทานอาหาร เช่น

  • เบาหวาน
  • นิ่วในไต
  • นิ่วในถุงน้ำดี
  • หรือต่อมไทรอยด์ ควรแจ้งแพทย์ก่อนการใช้ยา

ก่อนเลือกใช้ยาลดการดูดซึมไขมัน

  • ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อน เพื่อหาสาเหตุและแนะนำวิธีรักษาได้อย่างเหมาะสม
  • หลีกเลี่ยงการซื้อผลิตภัณฑ์ยาลดน้ำหนักผ่านช่องทางออนไลน์หรือสื่อโฆษณาด้วยถ้อยคำและภาพชวนเชื่อต่าง ๆ เพราะ อาจเสี่ยงได้รับอันตรายจากสารปนเปื้อน

 

ยาดักจับไขมัน, ยาลดการดูดซึมไขมัน, ควบคุมน้ำหนัก, โรคอ้วน, ท้องเสีย, ขับไขมัน, ยาดักไขมัน, ความอ้วน, ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน

 

  • ควรพึงระวังไว้ว่ายาลดการดูดซึมไขมันไม่จำเป็นต้องใช้ในผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินทุกคน อย่านำมาใช้พร่ำเพรื่อ เพื่อหวังผลในการลดน้ำหนัก
  • รวมถึงคนที่ไม่ได้มีปัญหาเรื่องโรคอ้วน แต่อยากหุ่นดี ผอมเพรียวแต่หวังผลควบคุมน้ำหนักด้วย เพราะ มีผลเสียที่ต้องพึงระวังตาม ซึ่งรวมถึง
    • ท้องอืด
    • แน่นท้อง
    • ท้องเสีย
  • การควบคุมน้ำหนักที่ดีควรมีการดูแลภาวะโภชนาการให้ถูกต้องและออกกำลังกายสม่ำเสมอจึงเป็นวิธีแรกที่ปลอดภัยและควรเลือกใช้

ดังนั้น แม้ว่า “ยาดักไขมัน” จะทำให้เห็นผลว่าขับไขมันออกมาได้จริง แต่ก็เป็นเพียงแค่ช่วงแรกเท่านั้น แต่สำหรับผลเสียนั้นจะเกิดขึ้นในระยะยาว หากต้องการมีสุขภาพและรูปร่างที่ดี การเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ในปริมาณที่พอเหมาะ และออกกำลังกายเป็นประจำจึงเป็นวิธีลดน้ำหนักที่ปลอดภัยที่สุด

ข้อมูล : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ก.แรงงาน" เตรียมเปิดขึ้นทะเบียน "แรงงานต่างด้าว" รอบใหม่
เจาะ "MOU44" พื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา "เกาะกูด" เป็นของใคร
"สมชัย" เผยเคยทำงานร่วม "กิตติรัตน์" ยอมรับเป็นคนเก่ง แต่เพราะเคยตามใจฝ่ายการเมืองทำประเทศชาติเสียหาย
ระทึก "รถทัวร์กรุงเทพฯ-เชียงแสน" ชน "รถพ่วง" พลิกคว่ำตกข้างทาง ผู้โดยสารบาดเจ็บอื้อ
"ศิริกัญญา" ปูดข่าว รบ.วางแผนยึดการบินไทย ส่ง 2 ผู้บริหารฟื้นฟู
โมเดลใหม่...ประมงสมุทรสงครามเปิดตัวกิจกรรม “สิบหยิบหนึ่ง” ปราบปลาหมอคางดำ จับมือเกษตรกรร่วมแก้ปัญหาในบ่อเลี้ยงเกษตรกรและแหล่งน้ำธรรมชาติ
"กองปราบฯ" รับโอนคดี "ซินแสชื่อดัง" หลอกผู้เสียหายสูญเงิน 66 ล้าน
กรมทรัพยากรน้ำบาดาล เขต 6 (ตรัง) ศึกษาดูงานด้านการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาล
"นครราชสีมา" เสี่ยงภัยแล้ง 10 อำเภอ ชลประทานประกาศงดทำนาปรังทั้งจังหวัด
"อัจฉริยะ" แจงผลสอบ "อาหารเสริม Eighteen 18" พบมีเลข อย.ถูกต้อง

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น