เมื่อวันที่ 11 พ.ค.66 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า น.ส.ประภารัตน์ พิริยะอนันตะกุล ทนายความ ได้รับมอบหมายจากพรรคภูมิใจไทย เดินทางมายังศาลจังหวัดนนทบุรี เพื่อฟ้องดำเนินคดีอาญากับ นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ อดีตนักการเมือง หลังจากไปขึ้นเวทีปราศรัยกับพรรคก้าวไกล ที่ตลาดนกฮูก จังหวัดนนทบุรี เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากนายชูวิทย์ มีพฤติกรรมเข้าข่าย การจูงใจให้สิ่งของ แจกเสื้อ และหมิ่นประมาท พรรคภูมิใจไทย ย้ำว่า จะฟ้องนายชูวิทย์ คนเดียวไม่เกี่ยวกับ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล และศาลได้รับคำฟ้องจะนัดไต่สวนวันที่ 10 กรกฎาคมนี้
"ภูมิใจไทย" เดินหน้าฟ้องเพิ่มคดีอาญา "ชูวิทย์" ขึ้นเวทีปราศรัยก้าวไกล หมิ่นประมาทพรรค
ข่าวที่น่าสนใจ
หลังจากนั้นทนายความจะเดินทางไปที่ กกต. ร้องให้ตรวจสอบ นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ และพรรคก้าวไกล เนื่องจากนายชูวิทย์ ไม่ได้เป็นผู้ช่วยหาเสียงของพรรคก้าวไกล แต่พรรคกับยินยอมให้ขึ้นเวทีปราศรัยของพรรคด้วย
“คุณชูวิทย์ ไปตลาดนกฮูก ไปขึ้นเวทีพรรคก้าวไกล จะฟ้องข้อหาหมิ่นด้วยการโฆษณา ฟ้องคุณชูวิทย์ คนเดียว” น.ส.ประภารัตน์ กล่าว
เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า การฟ้องนายชูวิทย์ครั้งนี้เป็นการฟ้องเพื่อปิดปากหรือไม่ ทางทนายความกล่าวว่า เป็นการฟ้องร้องตามสิทธิ์ตามกฎหมาย ซึ่งก่อนหน้านี้ นายชูวิทย์ ไปขึ้นเวทีปราศรัยอื่น เช่น พรรคประชาธิปัตย์ และ เพื่อไทย ทนายความยืนยันว่า ได้ทยอยดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ทางพรรคภูมิใจไทยได้มอบหมายทนายให้ยื่นฟ้องนายชูวิทย์ เรียกค่าเสียหายจำนวน 100 ล้านบาท ในคดีละเมิดและจงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเข้าใจผิดในคะแนนนิยมของผู้สมัครหรือพรรคภูมิใจไทย ทำให้คะแนนนิยมพรรคภูมิใจไทยลดลง เป็นไปในทางลบ พร้อมขอให้ศาลไต่สวนฉุกเฉิน เพื่อมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวห้ามนายชูวิทย์ เข้าอาคาร โชว์ ดีซี ในวันที่ 12 พ.ค. นี้ เวลา 13.00 -19.00 น. ซึ่งเป็นสถานที่จัดการปราศัยใหญ่ของพรรคภูมิใจไทย โดยเด็ดขาด และห้ามก่อกวนใกล้พรรคหรือสถานที่หาเสียงใหญ่ของพรรค จนถึงวันเลือกตั้งที่ 14 พ.ค.
แต่ภายหลังศาลได้มีคำสั่งออกมา ระบุว่า ศาลพิเคราะห์คำร้องแล้ว เห็นว่า ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 มาตรา 25 บุคคลย่อมมีสิทธิเสรีภาพที่จะทำการใด ๆ ตราบเท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของบุคคล นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ยังรับรองเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เสรีภาพในการ เดินทาง และเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธจำเลยย่อมมีสิทธิที่จะแสดงความคิดเห็น และเดินทางเพื่อเข้าฟังการปราศรัยที่จัดขึ้นเป็นสาธารณะได้ การห้ามมิให้จำเลยเข้าใกล้บริเวณที่หาเสียงปราศรัย ของโจทก์จึงเป็นการจำกัดเสรีภาพของจำเลยเกินสมควร ทั้งยังไม่แน่ว่าจำเลยจะเข้าไปบริเวณพื้นที่หาเสียง ปราศรัยของโจทก์ในวันที่ 12 พ.ค. 2566 และกระทำการก่อความวุ่นวายหรือไม่ หากจำเลยมี พฤติการณ์ที่จะก่อความวุ่นวายหรือเป็นการใช้เสรีภาพเกินขอบเขตจนกระทบต่อเสรีภาพหรือความปลอดภัย ของบุคคลอื่น ถึงขั้นที่เป็นการละเมิดกฎหมายการกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดที่มีโทษทางอาญา และ โจทก์สามารถที่จะดำเนินการตามกฎหมายกับจำเลยเพื่อระงับความเสียหายได้อยู่แล้ว จึงยังไม่สมควรที่จะมี คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง