เปิดประวัติความเป็นมาพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พร้อมผลเสี่ยงทายวัน "พืชมงคล"
ข่าวที่น่าสนใจ
ความเป็นมาของพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
- พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญในสมัยโบราณ คงจะเป็นพิธีที่มีความมุ่งหมาย เพื่อบำรุงขวัญและเตือนเกษตรกรให้ปลูกพืชผล โดยเฉพาะการทำนา
- เพราะ ข้าวเป็นธัญญาหารหลักสำคัญยิ่งในการดำรงชีวิต พระมหากษัตริย์หรือประมุขของประเทศ จึงเป็นผู้นำลงมือไถนาและหว่านพืชพันธุ์ธัญญาหารเป็นตัวอย่าง เพื่อเตือนราษฎรว่าถึงเวลาทำการเพาะปลูกแล้ว
ต่อมา เมื่อพระมหากษัตริย์หรือประมุขของประเทศมีพระราชภารกิจอื่น จึงโปรดแต่งตั้งข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ คือ
- เสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ ให้ไปปฏิบัติหน้าที่แทนพระองค์ เรียกว่า พระยาแรกนา
- ทำหน้าที่ไถนาและหว่านธัญพืช
พระมเหสีหรือพระชายาที่เคยร่วมไถนาหว่าน ก็เปลี่ยนเป็นท้าวนางในราชสำนัก ออกไปทำหน้าที่หาบกระบุงพันธุ์พืชช่วยพระยาแรกนา เรียกว่า เทพี
พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ มีชนหลายเชื้อชาติที่ปฏิบัติสืบทอดกันมายาวนาน ได้แก่
- อินเดีย
- จีน
- กัมพูชา
สำหรับประเทศไทยนั้น มีพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ มาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยและได้ปฏิบัติสืบต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์
คํา ทํา นาย วัน “พืชมงคล” 2566
- พระโคกินหญ้า พยากรณ์ว่า น้ำท่าจะบริบูรณ์พอสมควร ธัญญาหาร ผลาหาร ภักษาหาร มังสาหาร จะอุดมสมบูรณ์
- พระโคกินเหล้า พยากรณ์ว่า การคมนาคมจะสะดวกขึ้น การค้าขาย กับต่างประเทศดีขึ้น ทำให้เศรษฐกิจรุ่งเรือง
การเสี่ยงทายผ้านุ่ง หยิบผ้าได้ 5 คืบ พยากรณ์ว่า
- น้ำในปีนี้จะมีปริมาณพอดี
- ข้าวกล้าในนาจะได้ผลบริบูรณ์
- และผลาหาร มังสาหาร จะอุดมสมบูรณ์ดี
ข้อมูล : สำนักพระราชวัง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง