จากกรณีที่ชาวบ้านตำบลเกาะขนุน ตำบลหนองแหน อำเภอพนมสารคาม ตำบลคู้ยายหมี อำเภอสนามชัย จ.ฉะเชิงเทรา กว่าร้อยหลังคาเรือน รวมตัวยื่นหนังสือคัดค้านการก่อสร้างระบบโครงข่ายไฟฟ้า 500 กิโลโวลต์ ระยะทาง 14.18 กม. โดยอ้างว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตมีหนังสือส่งให้ชาวบ้านว่าให้ไปอุทธรณ์ ด้วยบริษัทเอกชนเตรียมจะก่อสร้างปักเสาแนวสายไฟฟ้าคร่อมบ้าน และที่ดินทำกิน ตามที่เสนอข่าวไปแล้วนั้น
ล่าสุด นายประเสริฐศักดิ์ เชิงชวโน รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์ ทำการแทน ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ทำหนังสือชี้แจงถึงกรณีดังกล่าว ซึ่งมีเนื้อหาที่อาจทำให้สังคมเกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนต่อการดำเนินงานของ กฟผ. จึงใคร่ขอเรียนชี้แจงข้อเท็จจริง และให้รายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อความชัดเจน ดังนี้
1. ประเด็น ประชาชนในพื้นที่ตำบลเกาะขนุน ตำบลหนองแหน อำเภอพนมสารคาม ตำบลคู้ยายหมี อำเภอสนามชัย จ.ฉะเชิงเทรา อ้างว่า กฟผ. ไม่ได้สื่อสารข้อมูล หรือจัดทำประชาคมให้ประชาชนในพื้นที่รับทราบ เกี่ยวกับการดำเนินงานก่อสร้างโครงข่ายไฟฟ้า 500 กิโลโวลต์ สำหรับโรงไฟฟ้าของบริษัท บูรพา พาวเวอร์ เจเนอ เรชั่น จำกัด – พนมสารคาม ที่จะต้องดำเนินการติดตั้งเสาส่งไฟฟ้าพาดผ่านที่ดินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของราษฎรในพื้นที่
กฟผ. ขอเรียนว่า การก่อสร้างโครงข่ายไฟฟ้าดังกล่าว เป็นการดำเนินงานสำหรับโครงการโรงไฟฟ้าบริษัท บูรพา พาวเวอร์ เจเนอเรชั่น จำกัด ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ.2561 – 2580 (PDP2018) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรองรับโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ช่วยเพิ่ม เสถียรภาพและความมั่นคงของระบบไฟฟ้าในพื้นที่ EEC ซึ่งคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ได้ให้ความเห็นชอบในการประกาศกำหนดเขตสำรวจระบบโครงข่ายไฟฟ้า เพื่อรองรับการจ่ายไฟฟ้าของโครงการโรงไฟฟ้าฯดังกล่าวในคราวประชุมครั้งที่ 37/2564 เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2564 กฟผ. จึงได้ดำเนินการพิจารณากำหนดแนวเขตระบบโครงข่ายไฟฟ้า และเผยแพร่ประกาศกำหนดเขตสำรวจฯ ผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ พร้อมลงพื้นที่สำรวจการวางเขตแนวโครงข่ายไฟฟ้าร่วมกับ กกพ. รวมทั้งได้ดำเนินงานสื่อสารกับประชาชนในพื้นที่ ดังนี้
1.1 ภายหลังการประกาศกำหนดเขตสำรวจระบบโครงข่าย ฯ กฟผ. ได้ประสานงานกับหน่วยงาน ราชการแห่งท้องที่ที่ประกาศเป็นเขตสำรวจ เพื่อขอความร่วมมือในการปฏิบัติงานสำรวจและขอความอนุเคราะห์ให้มีการแจ้งการประกาศกำหนดเขตสำรวจระบบโครงข่ายไฟฟ้าให้ผู้ปกครองท้องที่รับทราบ
1.2 ทำหนังสือเชิญประชุมชี้แจงและรับฟังความคิดเห็นของประชาชนถึงหน่วยงานราชการและมีหนังสือเชิญประชุมชี้แจงและเผยแพร่ข้อมูลการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินถึงประชาชน รวมจำนวน 2 ครั้ง ดังนี้