กระบวนการผลิต "เนื้อปลา" จากแล็บใช้เวลา 17 วัน และไม่พบความแตกต่างชัดเจนระหว่างเนื้อปลาเพาะเลี้ยงและเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อจากปลาจริง
ข่าวที่น่าสนใจ
พัฒนา “เนื้อปลา” เพาะจากแล็บ
ทั้งนี้ คณะนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเจ้อเจียงและมหาวิทยาลัยโพลีเทคนิคต้าเหลียนของจีน ได้พยายามพัฒนาเนื้อ ปลาเพาะเลี้ยงที่มีลักษณะเหมือนเนื้อเยื่อสำหรับการบริโภคของมนุษย์ โดยมีการผสมเส้นใยกล้ามเนื้อ ปลาและเซลล์ไขมัน (adipocyte) เข้ากับเจลจากการพิมพ์แบบ 3 มิติ
ขั้นแรก ทีมวิจัยแยกสเต็มเซลล์กล้ามเนื้อและสเต็มเซลล์ไขมันออกจากปลาจวดเหลือง ซึ่งเป็นปลาอพยพเขตอบอุ่นที่ขึ้นชื่อเรื่องรสชาติและอุดมด้วยสารอาหาร ต่อจากนั้น กระตุ้นการเปลี่ยนแปลงเชิงไมโอจีนิก (myogenic) ของเซลล์แซทเทลไลท์ปลา (PSC) ด้วยการควบคุมเส้นทางส่งสัญญาณที่เกี่ยวข้องสองเส้นทาง
ต่อมา ทีมวิจัยสร้างโครงเลี้ยงเซลล์ 3 มิติ ซึ่งเป็นวัสดุรองรับการยึดเกาะและการเจริญเติบโตของเซลล์ปลา โดยสร้างจากเจลที่มีส่วนประกอบของเจลาตินผสมกับเซลล์แซทเทลไลท์ปลา และหลังจากการแบ่งตัวและการเปลี่ยนแปลง นักวิจัยเติมเซลล์ไขมันปลาที่เพาะเลี้ยงลงในโครงเลี้ยงเซลล์กล้ามเนื้อ จนเกิดการก่อตัวของเนื้อ ปลาที่มีลักษณะคล้ายเนื้อเยื่อ
(ภาพจากมหาวิทยาลัยเจ้อเจียง : เนื้อ ปลาเพาะเลี้ยงลักษณะคล้ายเนื้อเยื่อที่ห้องปฏิบัติการของมหาวิทยาลัยเจ้อเจียง นครหางโจว มณฑลเจ้อเจียงทางตะวันออกของจีน วันที่ 15 พ.ค. 2023)
ทีมวิจัยอธิบายว่าการเพาะเลี้ยงเซลล์ของปลาเป็นกระบวนการแบ่งตัวและการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ในหลอดทดลองผ่านสเต็มเซลล์ของสัตว์ โดยกระบวนการผลิตเนื้อ ปลานี้ใช้เวลา 17 วัน และไม่พบความแตกต่างชัดเจนระหว่างเนื้อ ปลาเพาะเลี้ยงและเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อจากปลาจริงในแง่สัดส่วนของเซลล์กล้ามเนื้อและเซลล์ไขมัน ความเหนียว ความยืดหยุ่น หรือความเด้ง
อย่างไรก็ดี ทีมวิจัยกล่าวว่าจำเป็นต้องมีการประเมินความปลอดภัยหลายขั้นตอน ก่อนที่เนื้อ ปลาเพาะเลี้ยงจะถูกนำมาเสิร์ฟแก่มนุษย์ โดยหลิวตงหง สมาชิกทีมวิจัย กล่าวว่า ผลการวิจัยนี้มอบความเป็นไปได้ในการจัดสรรเนื้อสัตว์และโปรตีนจากสัตว์ในอนาคต และมีนัยสำคัญต่อการอนุรักษ์พันธุ์ปลาทะเล
อนึ่ง คณะนักวิทยาศาสตร์ข้างต้นได้เผยแพร่ผลการวิจัยผ่านวารสารเอ็นพีเจ ไซแอนซ์ ออฟ ฟูด (npj Science of Food) เมื่อไม่นานนี้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง