เปิด 7 ความเชื่อผิด ๆ เรื่องการใช้ "ยา" จากคำปากต่อปาก หรือความเชื่อส่วนตัว อย. เตือน เผลอใช้ผิด บางสถานการณ์เสี่ยงรุนแรงถึงชีวิต เช็ค
ข่าวที่น่าสนใจ
ไขข้อสงสัย มีความเชื่ออะไรที่ผิดบ้างเกี่ยวกับการใช้ “ยา” ที่หลายบ้านมักใช้ผิด จากคำบอกต่อจนทำให้หลายคนเชื่อว่าทำแบบนี้ดี หารู้ไม่กำลังใช้ย า อย่างไม่เหมาะสม อาจอันตรายถึงชีวิตได้ วันนี้ TOP News มีคำตอบให้แล้ว เช็คเลย!
7 ความเชื่อเรื่อง “ยา” ที่คนเข้าใจผิด
1. ขอหมอฉีดย า เพราะ เข้าใจว่า ย าฉีดดีกว่าย ากิน
- ประสิทธิภาพของย ากินไม่ด้อยกว่าย าฉีด หากเป็นตัวย าชนิดเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นย ากินหรือย าฉีด
- เมื่อใช้ในขนาดที่แนะนำ จะมีประสิทธิภาพในการรักษาโรคพอ ๆ กัน
- ย าฉีดใช้ในกรณีผู้ป่วยวิกฤติหรือผู้ป่วยภาวะฉุกเฉินที่ต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน หรือผู้ที่กำลังอาเจียน ไม่รู้สึกตัว กลืนย าไม่ได้
2. กินย าดักไข้ ไว้ก่อนจะได้ไม่ป่วย
- ย าลดไข้ ไม่ควรกินไว้ก่อน เพื่อป้องกันอาการไข้
- การกินย าโดยไม่มีข้อบ่งชี้หรืออุณหูมิร่างกายไม่เกิน 37.5 องศาเซลเซียส ทำให้ร่างกายได้รับสารเคมีเข้าไปโดยไม่จำเป็น
- และอาจมีผลข้างเคียงจากยาลดไข้ เช่น ภาวะตับอักเสบ
3. ย าทุกชนิดควรเก็บในตู้เย็น
- ย าแต่ละชนิดมีความคงตัวต่างกัน ควรเก็บย าตามคำแนะนำบนฉลาก
- ย าบางชนิดหากเก็บในตู้เย็น อาจทำให้เกิดการเสื่อมสลายของตัวย าสำคัญเนื่องจาก ความชื้นและอุณหภูมิไม่เหมาะสม เช่น
- ย าแคปซูลเกิดการเยิ้มติดกันจากความชื้น
- ย าครีมเป็นก้อนแตกแข็ง
- อีกทั้งยังทำให้เกิดสารพิษขึ้นได้ เช่น แช่ย าเม็ดแอสไพรินในตู้เย็นที่มีความชื้นสูงทำให้เกิดพิษ ร่างกายขาดออกซิเจน ชัก และหมดสติได้เมื่อรับในปริมาณสูง
4. ย าของไทยประสิทธิภาพน้อยกว่าย าต่างประเทศ
- ไม่ว่าย าจะผลิตขึ้นในไทยหรือต่างประเทศย่อมผ่านกระบวนการตรวจสอบมาตรฐานการผลิตและประกันคุณภาพของ FDA ประเทศนั้น ๆ
- ซึ่งแน่นอนว่าย าที่มีจำหน่ายอย่างถูกกฎหมายให้ประสิทธิภาพการรักษาเช่นเดียวกัน หากใช้อย่างถูกต้องเหมาะสม
- ต่างกันที่ราคาซึ่งย าต้นแบบจะมีราคาสูงกว่าย าสามัญ (ย าที่มีตัวย าสำคัญชนิดเดียวกันกับย าต้นแบบที่เคยขึ้นทะเบียนไว้ แต่ผลิตขึ้นมาภายหลัง)
- เนื่องจาก ต้องใช้เงินลงทุนในการวิจัยและพัฒนาย าใหม่ ซึ่งทั้ง 2 ชนิดต้องผ่านการรับรองทั้งนั้น
5. ปัสสาวะเปลี่ยนสี แปลว่า ย านั้นออกฤทธิ์ดี
ไม่เสมอไป ขึ้นอยู่กับชนิดของย า หากกินย าแล้วสีของปัสสาวะเปลี่ยนไปอาจสื่อได้ 2 แบบ คือ
1. ปัสสาวะเปลี่ยนสีจากการที่ย าถูกเปลี่ยนแปลงในร่างกาย เช่น
- กินย ากันชัก Phenytoin ทำให้ปัสสาวะสีแดง
- ย าระบายมะขามแขก ทำให้ปัสสาวะมีสีน้ำตาลถึงดำ เป็นต้น
ซึ่งมักไม่ก่อให้เกิดอันตราย ซึ่งสีของปัสสาวะอาจแตกต่างกันได้ในแต่ละคน
2. ปัสสาวะเปลี่ยนสีจากผลข้างเคียงของย า
- บ่งบอกถึงอันตรายหรือความผิดปกติอื่นร่วมด้วย เช่น กินย าลดไขมันในเลือดบางกลุ่ม แล้วปัสสาวะมีสีน้ำตาลแดง ร่วมกับปวดกล้ามเนื้อ บ่งบอกถึงอาการไม่พึงประสงค์ของย าที่รุนแรง ต้องรีบพบแพทย์
6. ย าทาภายนอก ทาเยอะ ทาบ่อย ไม่เป็นอันตราย
- โครงสร้างผิวหนังแต่ละแห่งมีผลต่อการดูดซึมตัวยาไม่เท่ากัน บริเวณที่ผิวบาง เช่น ใบหน้า จึงไม่ควรใช้ย าที่มีความเข้มข้นสูงหรือทาย าในปริมาณมาก
- การใช้ย าในปริมาณมากและบ่อยไม่ได้ทำให้อาการหายไวขึ้น แต่อาจเพิ่มอันตรายจากตัวย าที่มากเกินไปถูกดูซึมเข้ากระแสเลือดเกิดผลข้างเคียงจากย า รวมถึงระคายเคืองบริเวณที่ทาได้
7. เลือกตัวย าที่มีฤทธิ์แรง เพื่อผลการรักษาที่ดีกว่า
- หากมีการตอบสนองต่อย าทั่วไปดี ไม่จำเป็นต้องใช้ย าที่ออกฤทธิ์แรงกว่าเพื่อหวังผลการรักษาที่ดีกว่า
- เพราะ ย าที่ออกฤทธิ์แรงอาจมีผลข้างเคียงเพิ่มขึ้น และเปลืองค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น
- ย าที่มีฤทธิ์แรงเหมาะสำหรับผู้ที่ร่างกายไม่ตอบสนองต่อย าที่มีฤทธิ์อ่อน เกิดการติดเชื้อรุนแรง ดื้อย า หรืออาการของโรคซับซ้อน
ข้อมูล : FDA Thai
ข่าวที่เกี่ยวข้อง