รู้หรือไม่ จริง ๆ แล้ว เด็กน.ร.ไม่ควรแบกกระเป๋าหนักเกินร้อยละ 10-20 ของน้ำหนักตัว แพทย์เตือน เสี่ยงโรค "กระดูกสันหลังคด" เอียง แนะ 3 วิธีสังเกตลูกน้อย รู้ก่อนรักษาได้
ข่าวที่น่าสนใจ
โรค “กระดูกสันหลังคด” เอียง คืออะไร
เป็นการคดงอหรือบิดเบี้ยวของกระดูกสันหลังไปด้านข้าง ทำให้เสียสมดุล โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม
1. กลุ่มแรก
- เป็นกลุ่มเด็กที่มีภาวะกระดูกสัน หลังคดเอียงที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด
- พบได้บ่อยถึงร้อยละ 80 แบ่งตามอายุที่เริ่มแสดงลักษณะดังกล่าว คือ 0-3 ปี 4-10 ปี และ 11-18 ปี
- โดยภาวะนี้พบบ่อยในเด็กผู้หญิงมากว่าเด็กผู้ชาย
2. กลุ่มที่สอง
- เป็นกลุ่มภาวะกระดูก สันหลังคดเอียงที่ทราบสาเหตุ
- เกิดจากโรคทางระบบพันธุกรรม หรือกลุ่มโรคความผิดปกติทางระบบเส้นประสาทต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น โรคท้าวแสนปม ความผิดปกติของกล้ามเนื้อ
- โดยกลุ่มนี้จะทำให้มีภาวะกระดูกสัน หลังคดเอียงมาก การที่เด็กแบกกระเป๋าหนัก ไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะกระดูก สันหลังคดเอียงโดยตรง
- แต่ทำให้เกิดปัญหาในส่วนของระบบเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อ
โรงพยาบาลเลิดสิน เตือน เด็กนักเรียนไม่ควรแบกกระเป๋าที่มีน้ำหนักเกินร้อยละ 10-20 ของน้ำหนักตัว เนื่องจาก หากแบกกระเป๋านักเรียนที่มีน้ำหนักมาก อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อระบบโครงสร้างกล้ามเนื้อของร่างกาย เด็กจะมีอาการ
- ปวดบ่า
- ปวดต้นคอ
- ตลอดจนทำให้เป็นสาเหตุของการปวดหลังเรื้อรังได้
- และยังเป็นผลให้มีลักษณะทางบุคลิกภาพที่ผิดปกติ เช่น หลังค่อม ไหล่หรือเชิงกรานดูไม่สมดุลกัน
- เป็นผลต่อประสิทธิภาพการเรียนรู้ของเด็ก
กระเป๋าหนังสือของนักเรียนก็ถือว่ามีผลกระทบต่อกระดูกสันหลังของเด็ก บางครั้งเด็กที่ถือกระเป๋าแบบหิ้วหรือแบบสะพายข้างถ้ามีน้ำหนักมาก เด็กก็จะเอียงตัวไป ข้างใดข้างหนึ่งเพื่อรับน้ำหนัก ทำให้เมื่อเราเอียงตัวไปบุคลิกภาพเราก็จะเป็นท่านั้น กล้ามเนื้อก็จะพัฒนาไปในลักษณะข้างใดข้างหนึ่ง ซึ่งคนเราปกติ ถ้าใช้งานร่างกายข้างใดข้างหนึ่ง หรือซีกใดซีกหนึ่ง ข้างนั้น ก็จะทำงานหนักมากกว่าปกติส่งผลต่อการเจริญเติบโตของร่างกายของเด็ก
3 วิธีสังเกตอาการโรค “กระดูกคด” เอียงเบื้องต้น
- ลำตัวของเด็กจะเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง
- สังเกตพบว่ามีหัวไหล่ทั้งสองข้างหรือมีเชิงกรานไม่เท่ากัน
- ให้เด็กยืนเท้าชิดกัน และให้ก้มตัวมาทางด้านหน้าใช้มือ 2 ข้างพยายามแตะพื้นจะเห็นความนูนของหลังไม่เท่ากัน
หากกระเป๋ามีน้ำหนักเกิน หรือต้องแบกเป็นเวลานาน ควรเปลี่ยนจากกระเป๋าแขวนหลังเป็นกระเป๋าลาก เพื่อป้องกันการปวดหลัง หากกระดูกสันหลังผิดรูป ไหล่สูงต่ำไม่เท่ากันควรพาเด็กมาพบแพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง เพื่อทำการตรวจยืนยันและให้การรักษาที่ถูกต้องต่อไป
การรักษาภาวะกระ ดูกสันหลังคดเอียง
สามารถแบ่งแนวทางการรักษาออกได้เป็น 3 ข้อหลัก ๆ ขึ้นกับมุมความคดเอียงของกระดูกสันหลังที่เกิดขึ้น แนวทางการรักษาภาวะนี้ มีตั้งแต่
- การติดตามสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด
- การสวมชุดอุปกรณ์ป้องกันการคดเอียง
- ตลอดจนถึงการผ่าตัดแก้ไขภาวะดังกล่าว
ดังนั้น หากผู้ปกครองสังเกตพบความผิดปกติเกี่ยวกับความคดเอียงของกระดูกสันหลัง ควรรีบนำเด็กมาปรึกษาแพทย์เฉพาะทางทันที เพื่อวางแผนการรักษาได้อย่างถูกวิธี
ข้อมูล : กรมการแพทย์
ข่าวที่เกี่ยวข้อง