“ชวน” ย้ำปธ.สภาฯไม่ต้องพรรคเสียงมากสุด เตือน “ก้าวไกล” อย่าเข้าใจผิดใช้อำนาจ

"ชวน"ย้ำปธ.สภาฯไม่ต้องพรรคเสียงมากสุด เตือน "ก้าวไกล" อย่าเข้าใจผิดใช้อำนาจ

31 พฤษภาคม 2566 ที่พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) นายชวน หลีกภัย อดีตประธานรัฐสภา และอดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงคุณสมบัติของประธานสภาผู้แทนราษฎรคนใหม่ ว่า ขึ้นอยู่กับมติของที่ประชุมสภาฯ เพราะตามปกติพรรคการเมืองที่ได้เสียงข้างมาก จะได้เป็นประธานสภาฯ ซึ่งแตกต่างจากครั้งที่แล้ว ซึ่งตนได้ทำหน้าที่เป็นประธานสภาฯ เนื่องจากพรรคร่วมรัฐบาลเต็มใจ และไม่หักโควต้ารัฐมนตรีของพรรคประชาธิปัตย์ เหตุผลที่ตนรับทำหน้าที่เพราะเห็นว่าก่อนการเลือกตั้งเมื่อปี 2562 ไม่มีสภาฯมา 5 ปี จึงรับหน้าที่เป็นประธานสภาฯ แม้หลังเลือกตั้งใหม่ มีการประเมินว่าสภาฯอยู่ได้เพียง 1-2 ปี แต่ด้วยความร่วมมือจากสมาชิก ทำให้สามารถอยู่จนครบ 4 ปี และทำหน้าที่ได้สมบูรณ์​

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

สำหรับตำแหน่งประธานสภาฯ โดยทั่วไปถ้าเราย้อนกลับไปพรรคที่เป็นรัฐบาลจะมีเสียงข้างมาก ก็จะได้รับตำแหน่งประธานสภาฯ และนายกรัฐมนตรี แต่เมื่อรายละเอียดพรรคที่มีเสียงใกล้เคียงกับรัฐบาลจะได้เป็นฝ่ายค้าน เช่น กรณีพรรคความหวังใหม่ ได้ 125 เสียง พรรคประชาธิปัตย์ได้ 123 เสียง ห่างกัน 2 เสียงแต่ทั้ง 2 พรรคไม่ได้ร่วมรัฐบาลกัน ดังนั้นพรรคความหวังใหม่ก็ตั้งประธานสภาฯ และนายกรัฐมนตรีเอง โดยมีพรรคประชาธิปัตย์เป็นฝ่ายค้าน จึงไม่มีประเด็นการต่อรองตำแหน่งประธานสภาฯ แต่ในกรณีที่มีการถกเถียงคะแนนของพรรคที่มาร่วมรัฐบาล มีความใกล้เคียงกัน คือ 151 กับ 141 จึงเป็นประเด็นใหม่ ดังนั้นการที่พรรคเพื่อไทยเสนอขอเป็นประธานสภาฯ จึงไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะคะแนนไม่ห่างกันมาก

ส่วนที่จะใช้ตำแหน่งประธานสภาฯทำประโยชน์ให้พรรคการเมืองตัวเองนั้น นายชวน กล่าวว่า เป็นเรื่องเข้าใจผิด ดังนั้นขอให้ไปศึกษารัฐธรรมนูญและข้อบังคับสภาดูว่าประธานสภาฯมีหน้าอะไรบ้าง

 

 

ไม่เหมือนสมัยก่อนที่ประธานสภาฯ สามารถเปลี่ยนชื่อนายกรัฐมนตรีได้ แต่ปัจจุบันเขาลงมติกันในสภาฯ เมื่อสภาฯเลือกใคร ประธานสภาฯ จะไปทำอย่างอื่นไม่ได้ และมีหน้าที่นำชื่อขึ้นทูลเกล้าฯเท่านั้น เพราะโดยทั่วไปตามข้อกำหนด ประธานสภาฯต้องเป็นกลาง สมมุติเป็นกรรมการบริหารพรรคอยู่ก็ต้องลาออก เพราะเขาต้องการประธานฯที่มีความเป็นกลาง และต้องเข้าใจกฎหมายจะไปทำอะไรตามอำเภอใจไม่ได้ แม้แต่จะถ่วงเวลาก็ไม่ได้ เพราะแต่ละเรื่องมีกำหนดเวลาไว้อยู่แล้ว และในทางปฏิบัติเขาจะร่วมมือกัน และต้องมองความเป็นจริงว่าใครมาเป็นประธานสภาฯก็ตาม ต้องพยายามรักษาความเป็นกลางไว้ ส่วนเรื่องคุณสมบัติและความเหมาะสม ขึ้นอยู่กับแต่ละฝ่ายที่จะเสนอ แต่ไม่มีข้อวิจารณ์เรื่องความเหมาะสม”

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

จนท.รวบ 7 แก๊งคอลฯ สัญชาติจีน เดินเท้าข้ามน้ำหนีตายเข้าไทย
จนท.พบร่างผู้ติดค้างโซน B-C เพิ่มอีก 3 คน ใต้ซากตึก สตง.ถล่ม
"กรมอุตุฯ" เตือน 48 จว. รับมือพายุฝนฟ้าคะนอง กทม.โดนด้วย
ทีมกู้ภัยยูนนานกลับจีน หลังเสร็จภารกิจในเมียนมา
โพลชี้คนไทยไม่เอากาสิโน หวั่นรัฐคุมไม่ได้ ประโยชน์ไม่ถึงคนไทย
โฆษกกทม. คาดภายในคืนนี้ สามารถลดระดับความสูงซาก "ตึกสตง." ถล่ม โซน E ได้ เปิดทางค้นหาต่อเนื่อง
นายกสุพิศ เปิดงานของดี อบต.รัตภูมิ สงขลา หวังต่อยอด เชิดชูอัตลักษณ์ประเพณีท้องถิ่น
ญี่ปุ่นเสนอร่วมโครงการวางท่อก๊าซกับสหรัฐ
มาเลเซียเรียกร้องอาเซียนผนีกกำลังต้านภาษีทรัมป์
โดนหนักแน่ “เอกนัฏ” จ่อฟัน “ซินเคอหยวน” เป็นคดีพิเศษเพิ่ม ลุยสอบซุกฝุ่นแดงมหาศาล

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น