“จระเข้” ตัวเมียอยู่ตัวเดียว 16 ปี ออกไข่เอง ไม่ต้องผสมพันธุ์

จระเข้, จระเข้ตัวเมีย, ออกไข่, ไม่ต้องผสมพันธุ์, Crocodylus acutus, Parthenogenesis, สืบพันธุ์, สืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ, Terminal fusion automixis

ครั้งแรกในโลก "จระเข้" เพศเมีย อยู่ตัวเดียวมา 16 ปี ออกไข่ โดยไม่ต้องผสมพันธุ์จากตัวผู้

ครั้งแรกของโลก นักวิทยาศาสตร์ พบ “จระเข้” เพศเมีย ออกไข่ ทั้ง ๆ ที่อยู่ตัวเดียวมานาน 16 ปี ไม่ง้อตัวผู้ก็ออกลูกได้ ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

ครั้งแรกของโลก นักวิทยาศาสตร์พบหลักฐาน “จระเข้” เพศเมีย วางไข่โดยไม่ต้องผสมพันธุ์กับตัวผู้ หลังอยู่ตัวเดียวมานานกว่า 16 ปี ผ่านกระบวนการสืบพันธุ์ที่เรียกว่า parthenogenesis หรือเรียกกันทั่วไปในภาษาอังกฤษว่า Virgin Birth

นักวิจัยเผยว่า “จระ เข้” เพศเมียตัวดังกล่าว เป็นจระ เข้อเมริกัน (Crocodylus acutus) เลี้ยงในสถานกักขังอยู่ตัวเดียวตั้งแต่ปี 2002 ในประเทศคอสตาริกา จู่ ๆ ก็ออกไข่มา 14 ฟอง โดย 7 ใน 14 ฟอง มีตัวอ่อนอยู่ข้างใน สร้างความตะลึงให้กับทีมวิจัยเป็นอย่างมาก

 

จระเข้, จระเข้ตัวเมีย, ออกไข่, ไม่ต้องผสมพันธุ์, Crocodylus acutus, Parthenogenesis, สืบพันธุ์, สืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ, Terminal fusion automixis

 

เมื่อเวลาผ่านไป 3 เดือน ปรากฏว่า ไข่ยังไม่ฟัก ทีมวิจัยจึงตัดสินใจเปิดไข่ที่มีตัวอ่อนอยู่ 6 ใบ กลับพบว่า ไม่มีการพัฒนาในทางกายภาพ แต่ 1 ในนั้น เป็นตัวอ่อนสมบูรณ์แบบ แต่กลับไม่พบสัญญาณชีพ

Parthenogenesis เป็นรูปแบบหนึ่งของการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ โดยสัตว์ตัวเมีย ที่ปกติแล้วต้องการสเปิร์มของตัวผู้ในการสืบพันธุ์ สามารถสืบพันธุ์โดยหลอมรวมเซลล์ 2 เซลล์ เพื่อสร้างตัวอ่อนที่มีชีวิต ไม่ต้องผ่านการผสมพันธุ์ ซึ่งกระบวนนี้ส่วนใหญ่จะเกิดในสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็ก เช่น มดและผึ้ง

 

จระเข้, จระเข้ตัวเมีย, ออกไข่, ไม่ต้องผสมพันธุ์, Crocodylus acutus, Parthenogenesis, สืบพันธุ์, สืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ, Terminal fusion automixis

ซึ่งถือเป็นเรื่องผิดปกติในสัตว์ขนาดใหญ่ แต่เมื่อศึกษาดี ๆ นักวิทยาศาสตร์ก็พบว่า มีเคสแบบนี้เกิดขึ้นในสัตว์กว่า 80 สายพันธุ์ ได้แก่

  • กิ้งก่า
  • งู
  • ฉลาม
  • และปลากระเบน

ซึ่งสัตว์ใหญ่ที่มีรูปแบบการสืบพันธุ์แบบนี้ มักอยู่ในสถานกักกันต่าง ๆ

โดยนักวิทยาศาสตร์เผยว่า อาจะเป็นกลยุทธ์การเอาตัวของเพศเมีย ที่ไม่สามารถหาคู่ได้ โดยเฉพาะในสัตว์ที่มีประชากรน้อย หรือใกล้สูญพันธุ์ เช่นเดียวกับแร้งคอนดอร์แคลิฟอร์เนีย ที่ออกลูกโดยไม่ต้องผสมพันธุ์กับตัวผู้

 

จระเข้, จระเข้ตัวเมีย, ออกไข่, ไม่ต้องผสมพันธุ์, Crocodylus acutus, Parthenogenesis, สืบพันธุ์, สืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ, Terminal fusion automixis

 

เป็นไปได้ว่า “จระเข้” ตัวนี้อาจอยู่ตัวเดียวมานาน จนอาจคิดว่า สายพันธุ์ของมันเหลือมันอยู่ตัวเดียวก็ได้ ถ้าเป็นเช่นนั้นสัตว์โบราณก็อาจใช้ได้เหมือนกัน

จากการวิเคราะห์พันธุกรรมลูกจระ เข้ที่ตาย พบว่า มีจีโนไทป์ที่เหมือนกันจริง ๆ คล้ายกับการโคลนนิ่ง ที่เรียกว่า Terminal fusion automixis โดยสัตว์เพศเมียจะหลอมรวมไข่ที่มีโครโมโซมครึ่งหนึ่งเข้ากับเซลล์แฮพลอยด์อีกประเภทหนึ่งที่เรียกว่า โพลาร์บอดี ซึ่งเหลือจากการผลิตไข่ตามปกติของรังไข่ ลูกที่ออกมาจึงแทบจะเป็นโคลนนิ่งของแม่ ซึ่งอาจทำให้ลูกอ่อนแอและเสี่ยงต่อการตายสูง ดังนั้น การที่ได้พันธุกรรมจากพ่อและแม่ผสมกันมักดีกว่า

ข้อมูล : sciencealert

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

CPF สานต่อความมุ่งมั่นสร้างงานมีคุณค่าสำหรับคนพิการ หนุนวัฒนธรรมเคารพความแตกต่างและหลากหลาย
หมอวรงค์ นำกลุ่มคนรักชาติ ยื่นกว่าแสนรายชื่อ ร้องรบ.ยกเลิก MOU 44
กุ้ง อาหารทะเลยอดฮิต โปรตีนคุณภาพดี อร่อยด้วย ช่วยชาติได้
หมอถึงขั้นเข้าไปถามคนไข้ หลังพยาบาล เจาะเลือดไม่เข้า อึ้งห้อยพระเต็มคอ แต่ละองค์ราคาไม่ธรรมดา
“บิ๊กโจ๊ก” ด่าแรง “ทนายตั้ม” แอบอ้างชื่อ ลวง “เจ๊อ้อย” ไปเขื่อนเชี่ยวหลาน
“เจ๊อ้อย”โคตรแค้น “ทนายตั้ม” พาลูกเมียทัวร์ยุโรปถลุงเป็นล้าน แว้งกัด-คิดเอาชีวิต
รัฐบาลเพิ่ม 73,388 ที่นั่ง แก้ตั๋วเครื่องบินแพงช่วงปีใหม่
เปิดใจเจ้าของป้ายสุดแปลก "รับซื้อบ้านผีสิง" ยันซื้อจริง ไม่คอนเทนต์
“บิ๊กโจ๊ก” รอฟ้าเปิด ความจริงปรากฎ-คัมแบ็คตร. เจ็บมาเยอะแค่นี้ไม่สะเทือน
ศาลอาญาฯ พิพากษาจำคุกจำเลยคดีแชร์ลูกโซ่ "คอนเซ็ปต์ ซีรี่ส์" 1.7 หมื่นปี

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น