เปิดภาพหายาก "แมลงคุ้มครอง" ด้วงดินขอบทองแดง สิ่งมีชีวิตหายากและใกล้สูญพันธุ์ ในอุทยานแห่งชาติน้ำพอง
ข่าวที่น่าสนใจ
อุทยานแห่งชาติน้ำพอง เผยภาพ ด้วงดินขอบทองแดง “แมลงคุ้มครอง” หายากและใกล้สูญพันธุ์ในไทย
รู้จัก ด้วงดินขอบทองแดง
- ชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Mouhotia batesi
- เป็นแมลงที่อยู่ในวงศ์ Carabidae
- ชื่อเรียกท้องถิ่นในภาษาอีสานว่า แมงเลี้ยงน้อง เนื่องจาก มีความเชื่อแต่โบราณว่า หากนำเปลือกของแมลงชนิดนี้มาคล้องคอหรือข้อมือให้เด็กอ่อน จะทำให้เด็กเลี้ยงง่าย ไม่งอแง และเจ็บป่วยบ่อย
- ปีกคู่แรกเนื้อปีกเชื่อมติดเป็นชิ้นเดียว ช่วยปกป้องอวัยวะภายใน
- สามารถฉีดสารเคมีที่มีกลิ่นฉุนรุนแรง เพื่อป้องกันตัวจากนักล่า
ลักษณะเด่น
- หัวแบนกว้าง คล้ายรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
- มีปีกแข็ง
- ปีกทั้งสองข้างยึดติดกัน ทำให้ไม่สามารถบินได้
- ปีกคู่แรกเนื้อปีกเชื่อมติดเป็นชิ้นเดียว ช่วยปกป้องอวัยวะภายใน
- ทั้งตัวมีสีดำเป็นมัน แต่ขอบรอบส่วนอกมีสีเหลือบทองแดง
- บางส่วนก็เห็นเป็นสีเขียวเหลือบทองแดง สีสันบนตัวแวววาวสวยงามมาก
- ขนาดตัวจากปลายเขี้ยวจนถึงปลายท้องยาว 34-60 มม.
- มีขายาวแข็งแรง
แหล่งที่อยู่อาศัย
- มักพบในป่าดิบแล้ง และป่าเต็งรัง
- พบเห็นได้ในภาคกลาง ภาคตะวันตก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยกเว้นตั้งแต่ จ. เพชรบุรีลงไป
ด้วยความสวยงามหายากและไร้ที่ตินี้เอง ทำให้น้องกลายเป็นแมลงที่มีค่าหัว เป็นที่หมายตาของนักสะสมแมลง จนใกล้จะสูญพันธุ์ในไม่ช้านี้ ทางกรมป่าไม้จึงได้ออกพระราชบัญญัติให้ ด้วงดินขอบทองแดงเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองจำพวกแมลง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535
ข้อมูล : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช
ข่าวที่เกี่ยวข้อง