อันตรายกว่าที่คิด “หมอธีระวัฒน์” เตือนสติใครใช้ “ยาถ่าย ยาระบาย” บ่อยๆ เสี่ยงเป็นโรคสมองเสื่อม

อันตรายกว่าที่คิด "หมอธีระวัฒน์" เตือนสติใครใช้ "ยาถ่าย ยาระบาย" บ่อยๆ เสี่ยงเป็นโรคสมองเสื่อม

16 มิถุนายน 2566 ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก “ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha” หัวข้อ “ใช้บ่อย ยาถ่าย ยาระบาย เสี่ยง สมองเสื่อม” มีเนื้อหาดังนี้

การใช้ยาระบายชนิดเดี่ยวหรือหลายชนิดร่วมกันเพิ่มความเสี่ยงสมองเสื่อม… รายงานนี้ ตีพิมพ์ในวารสารประสาทวิทยา (Neurology) ซึ่งเป็นวารสารทางการของสมาคมประสาทของสหรัฐอเมริกา ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2023
ทั้งนี้ เป็นการใช้ข้อมูลนำมาวิเคราะห์ที่ได้จากประชากรมากกว่า 500,000 คน ที่อยู่ในวัยกลางคนจนกระทั่งถึงสูงวัยที่รวบรวมในคลังชีวข้อมูล (Biobank) ของ UK ประเทศอังกฤษ จากคณะทำงานในประเทศจีน

ผู้ที่ใช้ยาระบายประเภทที่เรียกว่า osmotic laxatives เป็นประจำ มีความเสี่ยงสมองเสื่อมเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ใช้ถึง 64% และคนที่ใช้ยาระบายหนึ่งประเภทหรือมากกว่า ที่เป็นทั้งแบบ bulk-forming แบบ stool softening และ stimulant laxatives มีความเสี่ยงสูงขึ้นถึง 90%

ยาระบายมีหลายประเภทด้วยกัน ได้แก่ ยาระบายชนิดที่ดึงน้ำเข้ามาในลำไส้และทำให้อุจจาระเหลวนุ่มขึ้น และถ่ายง่ายขึ้น (oxidative laxatives) อาทิ lactulose polyethylene glycol sorbitol magnesium citrate sodium acid phosphate

ยาระบายชนิดที่ออกฤทธิ์โดยการเพิ่มปริมาณขนาดอุจจาระ (Bulk forming laxatives) เช่นยา mucillin metamucil

ยาระบายชนิดที่ทำให้อุจจาระอ่อนนุ่มขึ้น (stool softening หรือ emollient) ช่วยให้น้ำและของเหลวผสมเข้ากับอุจจาระไม่ให้แข็ง เช่น ยา colace docusate sodium arachis oil

ยาระบายชนิดที่ออกฤทธิ์กระตุ้นลำไส้ (stimulant laxatives) เช่น bisacodyl ยา dulcolax senna ยา senokot sodium picosulfate กระตุ้นเส้นประสาทที่ควบคุมกล้ามเนื้อเพิ่มการบีบตัวของลำไส้

ลักษณะการที่มีท้องผูกในระดับต่างๆ เป็นปรากฏการณ์ที่พบได้บ่อยและสูงขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมีอายุมากขึ้น และเป็นไปได้ที่การใช้ยาระบายประเภทต่างๆจะทำให้มีการปรับเปลี่ยนจุลินทรีย์หรือแบคทีเรียในลำไส้ โดยผ่านกลไกที่ส่งผ่านจากเส้นประสาทของลำไส้ขึ้นไปที่สมอง และจากการที่เสริมให้มีการสร้างสารพิษ (toxins) ที่ก่อให้เกิดการอักเสบผนังลำไส้รั่วและลุกลามไปทั่วร่างกายและกระทบการทำงานของสมอง

ประชากรที่อยู่ในกลุ่มศึกษาที่รายงานนี้มีจำนวน 502,229 คนโดยที่ 54% เป็นสตรีและทั้งหมดมีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 57 ปี ตอนที่เริ่มการศึกษา โดยทั้งหมดไม่มีอาการของสมองเสื่อมเลยตั้งแต่ต้น

คนที่อยู่ในการศึกษา มี 18,335 คน คิดเป็นจำนวน 3.6% ที่มีการใช้ยาระบายที่หาซื้อได้ทั่วไป (OTC over the counter) โดยมีการใช้สม่ำเสมอหลายวันในสัปดาห์ ในช่วงหนึ่งเดือนก่อนหน้าที่จะเริ่มการศึกษา

ระยะการติดตามทั้งหมดโดยเฉลี่ยแล้ว คือ 9.8 ปีโดยที่พบว่ามี 218 ราย หรือ 1.3% ที่ใช้ยาระบายอย่างสม่ำเสมอเป็นสมองเสื่อม ในขณะที่คู่เทียบ จำนวน 1,969 ราย หรือ 0.4% ที่ไม่ได้ใช้ยาระบายเลยเป็นสมองเสื่อม

เมื่อทำการปรับค่าหรือปัจจัยต่างๆที่รวมทั้งอายุ เพศ ระดับการศึกษา ภาวะการเจ็บป่วย และยาอื่นๆที่ใช้ รวมกระทั่งถึงประวัติครอบครัวที่มีสมองเสื่อมหรือไม่

ข่าวที่น่าสนใจ

พบว่า การใช้ยาระบายอย่างสม่ำเสมอ เพิ่มความเสี่ยงของสมองเสื่อมทุกชนิด (all cause dementia) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (adjusted hazard ratio [aHR], 1.51; 95% CI 1.30-1.75) และความเสี่ยงของสมองเสื่อมที่เกิดจากเส้นเลือดฝอยตันทั่วไปหรือ vascular dementia (aHR, 1.65; 95% CI, 1.21-2.27) โดยที่ไม่พบว่าเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดสมองเสื่อมแบบ อัลไซเมอร์ ( aHR, 1.05; 95% CI, 0.79-1.40)

ความเสี่ยงของสมองเสื่อมยังขึ้นอยู่กับประเภทหรือชนิดของยาระบาย

สำหรับผู้ที่ใช้ชนิด oxidative laxatives อย่างเดียว ก็มีความเสี่ยงของสมองเสื่อมทุกชนิด โดยมีนัยสำคัญทางสถิติ ( aHR, 1.64; 95% CI, 1.20-2.24) และความเสี่ยงของสมองเสื่อมที่เกิดจากเส้นเลือดตัน ( aHR, 1.97; 95% CI 1.04-3.75)

อย่างไรก็ตาม ไม่สามารถที่จะวิเคราะห์ขนาดของยาระบายที่ใช้ในประชากรที่อยู่ในการศึกษานี้ว่า จะมีผลทำให้เกิดสมองเสื่อมอย่างไรหรือไม่

ข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลที่น่าตกใจ และสนับสนุนการเชื่อมโยงสัมพันธ์กันระหว่างสุขภาพของลำไส้ที่เกี่ยวเนื่องกับจุลินทรีย์ และแบคทีเรียตัวดีและตัวร้ายที่กำหนดระบบภูมิคุ้มกันต่อเนื่องไปยังเส้นประสาทและไปกระทบสมอง

แต่ในขณะเดียวกัน ยังไม่สามารถที่จะสรุปหรือพิสูจน์ได้อย่างเป็นเหตุเป็นผลของการใช้ยาระบายกับการเกิดสมองเสื่อมชนิดต่างๆที่กล่าวมา แต่ควรต้องมีการศึกษาในขั้นลึกต่อไป ไม่ว่าจะเป็นในระดับของสัตว์ทดลองและในมนุษย์

เป็นที่น่าสังเกตว่าการใช้ยาระบายชนิดและประเภทต่างๆนี้ กลับไม่พบว่ามีความเสี่ยงเพิ่มของสมองเสื่อม อัลไซเมอร์ โดยที่อาจจะเป็นข้อจำกัดของข้อมูลหรือข้อจำกัดของการระบุชนิดของสมองเสื่อมหรืออาจจะเป็นความจริงที่ไม่เกี่ยวโยงกัน

กล่าวโดยสรุปแล้ว เรื่องท้องผูกหรือ “ธาตุแข็ง” ที่คนโบราณพูด โดยย้ำกับลูกหลานว่า ถ้าไม่ถ่ายจะมีพิษสะสมลามเข้าไปทั่วตัวน่าจะเป็นเรื่องจริง

และวิธีที่ง่ายที่สุดคือ การกินผัก ผลไม้ กากใย ให้มาก เป็นประจำสม่ำเสมอวันละหลายมื้อก็ได้ ซึ่งผักผลไม้กากใยปฏิบัติตัวเป็นยาระบายที่วิเศษ แต่มีข้อแม้ว่าต้องดื่มน้ำเยอะด้วยจึงจะได้ผล และแน่นอนว่าต้องปลอดสารเคมีให้ได้มากที่สุด

การที่มีท้องผูกนี้ เป็นที่สังเกตมาตั้งแต่สมัย หลาย 100 ปีแล้วที่ คุณหมอเจมส์ พาร์กินสัน ได้สังเกตว่าคนไข้ที่ต่อมาเกิดโรคพาร์กินสันนั้น มีท้องผูกนำมาก่อน และในคนที่เกิดเป็นโรคแล้ว เมื่ออาการท้องผูกดีขึ้นโรคหรืออาการพาร์กินสันนั้นก็ดีขึ้นด้วย

ทั้งหมดตอกย้ำถึงการดูแลร่างกาย อาหาร การกิน การออกกำลัง ซึ่งถ้าทำได้จะส่งผลดี จากหัวจดเท้าครับ

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

วุ่นทั้งเมือง ลิงลพบุรีเกือบ 100 ตัว หลุดจากกรง บุกโรงพัก-บ้านเรือนประชาชน จนท.เร่งไล่กลับที่เดิม
อุตุฯ เตือน มวลอากาศเย็นจากจีน ฝนฟ้าคะนอง อุณหภูมิลด 32 จังหวัดฝนถล่ม
โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระยศ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ เป็น "พลเอกหญิง"
รวบทันควัน เจ้าช้างน้อย บุกลักทรัพย์นักธุรกิจ ประวัติสุดแสบ! แหกบ้านพักเด็กหนี ไปตระเวนก่อเหตุลักทรัพย์ทั่วพัทยา
ล่วงฆ่าแม่ยายอัยการ สืบสัตหีบ ไล่กล้องวงจรปิดพบเก๋งคนร้าย มารับตัวก่อนลวงไปฆ่าชิงทรัพย์ ล่าสุด เจอตัวแล้ว
ตำรวจสืบภาค 2 และตำรวจหนองขาม ควบคุมตัวหญิงผู้ต้องสงสัย พร้อมรถยนต์เก๋ง คดีล่วงฆ่าชิงทรัพย์แม่ยายอัยการ ล่าสุดให้การปฏิเสธ ในขณะสามีผู้สงสัยหายตัว
จังหวัดสุรินทร์ จัดยิ่งใหญ่งานแสดงช้าง กับ 5 องค์การแสดง นักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างประเทศ แห่ชมแน่นสนาม ด้านรัฐมนตรีศึกษาธิการนั่งช้างเปิดงาน
สีจิ้นผิงหนุนเร่งสร้างทางรถไฟจีน-ไทย ขยายความร่วมมือเกิดใหม่
"กองบิน 46" ประกอบพิธีทำบุญทอดกฐินสามัคคี ประจำปี2567
คาด่าน "รถ18 ล้อ" ดัดแปลงใต้ท้องรถซุกแรงงานต่างด้าว 8 คน ไม่พ้น สายตาจนท.ด่านตรวจ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น