“อดีตบิ๊กข่าวกรอง” แจงอีกรอบ เวทีถกแก้ปัญหาเมียนมา เป็นประโยชน์ไทยโดยตรง เตือนอย่าจุดไฟขัดแย้งชาติเพื่อนบ้าน

"อดีตบิ๊กข่าวกรอง" แจงอีกรอบ เวทีถกแก้ปัญหาเมียนมา เป็นประโยชน์ไทยโดยตรง เตือนอย่าจุดไฟขัดแย้งชาติเพื่อนบ้าน

20 มิ.ย. 2566 นายนันทิวัฒน์ สามารถ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และอดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กมีเนื้อหาดังนี้

 

 

 

 

 

 

ผลประโยชน์ของประเทศ วันนี้ขอพูดเรื่องการจัดประชุมอย่างไม่เป็นทางการเกี่ยวกับเมียนมา ที่กระทรวงการต่างประเทศจัดขึ้นระหว่างวันที่ 18-19 มิถุนายน ที่ผ่านมา

 

 

การจัดประชุมอย่างไม่เป็นทางการคือ informal meetion เป็นการประชุมที่ไม่อยู่ในกรอบของอาเซียน และไทยได้เคยแจ้งอาเซียนทราบมาก่อนแล้วว่า ไทยจะจัดให้มีการประชุมที่เรียกว่า track 1.5 ไม่เปฺ็นทางการ และไทยเคยจัดประชุมเช่นนี้มาก่อนหน้านี้สองครั้งแล้ว และรัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซียก็เคยมาร่วมประชุมดังกล่าว

ข่าวที่น่าสนใจ

ไม่ได้เป็นการเริ่มนโยบายใหม่ แต่ทำเรื่องที่ริเริ่มไว้และค้างคาอยู่ให้เสร็จ ปูทางให้รัฐบาลใหม่ได้เดินบนกลีบกุหลาบ ด้วยการเมืองระหว่างประเทศที่สร้างสรรค์ ไม่เปฺ็นศัตรูกับใคร และไม่ผลักมิตรเป็นศัตรู การสู้รบในเมียนมาเริ่มรุนแรง มีผู้อพยพหนีภัยการสู้รบเข้ามาในไทยและอินเดียจำนวนมาก มีการลักลอบส่งอาวุธให้กลุ่มที่ต่อต้านรัฐบาลเมียนมา จนจะกลายเป็นการสร้างประชาธิปไตยบนซากศพของเพื่อนมนุษย์

 

หากการสู้รบขยายตัว จะตามมาด้วยการปิดด่านชายแดนที่กระทบต่อการค้าตามแนวชายแดนของทั้งสองประเทศ คนไทยต้องเดือดร้อนด้วย

 

ถ้ารัฐบาลใหม่ไม่ชอบแนวทางนี้ ไม่อยากผูกสัมพันธ์อย่างสร้างสรรค์กับเมียนมา อยากกดดัน อยาก isolate เมียนมา อยากแซงชั่นเมียนมาอย่างที่ตะวันตกต้องการ ก็เป็นการตัดสินใจของรัฐบาลใหม่

 

การจัดประชุมอย่างไม่เป็นทางการเช่นนี้ เป็นการประชุมที่ไม่มีประธานในการประชุม ไม่มีวาระการประชุม ลักษณะการประชุมเป็นแบบฟรีสไตล์ ใครใคร่พูดอะไรพูด ใครใคร่ถาม ถาม ในบรรยากาศสบาย ๆ ไม่มีโต๊ะประชุม ไม่มีการกดดันกัน

 

 

 

การประชุมในครั้งนี้มีประเทศต่าง ๆ ส่งผู้แทนมาร่วมประชุม 9 ประเทศ มีทูตพิเศษจากจีนและอินเดียมาร่วมในการประชุมด้วยในฐานะเพื่อนของเมียนมา Myanmar Friends

ยืนยันว่าการประชุมครั้งนี้ ไม่ใช่การประชุมในกรอบของอาเซียน และไม่ใช่การจัดประชุมเพื่อตัดหน้าหรือชิงดีชิงเด่นกับใคร เป็นความพยายามของไทยในการแสวงหาหนทางและโอกาสในการช่วยแก้ปัญหาของ

 

 

เมียนมาและดึงเมียนมาให้กลับมาสู่ครอบครัวอาเซียน เป็นการแสวงหาทางออกทางการเมืองที่ต้องแยกออกจากการทหารและการสู้รบ

 

 

การประชุมในลักษณะนี้เป็นเสมือนความพยายามในการสร้างสะพานจากทั้งสองฝั่งแม่น้ำ ต้องหาจุดร่วม จุดที่ตั้งของตอม่อสะพานจากทั้งสองฝั่งให้ตรงกัน เพื่อสะพานจะสามารถบรรจบตรงกันได้กลางแม่น้ำโดยไม่คลาดเคลื่อน ความพยายามของไทยในการผูกสัมพันธ์ Engagement คือ ทุกฝ่ายต้องได้มีโอกาสพูด อธิบายข้อจำกัด ซึ่งจะเกิดความไว้วางใจ ความเชื่อใจ Trust

 

 

และมีสัญญาณที่ดีมากจากการประชุมในครั้งนี้ ผมไม่เห็นด้วยกับแนวคิดในการกีดกันเมียนมาออกไปจากครอบครัวอาเซียน ต้องไม่ชี้หน้าใครว่า มึงทำผิด ต้องทำอย่างกู กูทำถูก ต้องไม่สั่งให้ใครทำอะไร เพราะทุกประเทศมีอธิปไตยของตนเอง ต้องไม่เอามาตรฐานของตัวเองไปตัดสินใคร มิเช่นนั้น ความขัดแย้งและสงครามจะไม่สิ้นสุด

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"เงินดิจิทัล เฟส 2 ได้วันไหน" ชัดเจนแล้ว พร้อมเช็ก เงื่อนไขเงิน 10,000 ล่าสุด
CPF สานต่อความมุ่งมั่นสร้างงานมีคุณค่าสำหรับคนพิการ หนุนวัฒนธรรมเคารพความแตกต่างและหลากหลาย
หมอวรงค์ นำกลุ่มคนรักชาติ ยื่นกว่าแสนรายชื่อ ร้องรบ.ยกเลิก MOU 44
กุ้ง อาหารทะเลยอดฮิต โปรตีนคุณภาพดี อร่อยด้วย ช่วยชาติได้
หมอถึงขั้นเข้าไปถามคนไข้ หลังพยาบาล เจาะเลือดไม่เข้า อึ้งห้อยพระเต็มคอ แต่ละองค์ราคาไม่ธรรมดา
“บิ๊กโจ๊ก” ด่าแรง “ทนายตั้ม” แอบอ้างชื่อ ลวง “เจ๊อ้อย” ไปเขื่อนเชี่ยวหลาน
“เจ๊อ้อย”โคตรแค้น “ทนายตั้ม” พาลูกเมียทัวร์ยุโรปถลุงเป็นล้าน แว้งกัด-คิดเอาชีวิต
รัฐบาลเพิ่ม 73,388 ที่นั่ง แก้ตั๋วเครื่องบินแพงช่วงปีใหม่
เปิดใจเจ้าของป้ายสุดแปลก "รับซื้อบ้านผีสิง" ยันซื้อจริง ไม่คอนเทนต์
“บิ๊กโจ๊ก” รอฟ้าเปิด ความจริงปรากฎ-คัมแบ็คตร. เจ็บมาเยอะแค่นี้ไม่สะเทือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น