สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น นำนักศึกษาหลักสูตรพัฒนานักกฏหมายท้องถิ่น ศึกษาดูงานศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง“โคกหนองนาบุญ 108”

สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น นำนักศึกษาหลักสูตรพัฒนานักกฏหมายท้องถิ่น รุ่นที่ 22 ศึกษาดูงานศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง “ โคกหนองนาบุญ 108 “ ต.บ้านกุ่ม อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา ศึกษาเรียนรู้ศาสตร์พระราชา ประยุกต์ใช้ในการทำงาน

เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2566  ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ ศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง “ โคกหนองนาบุญ 108 “ หมู่ 9 ต.บ้านกุ่ม อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี นำโดย นายรติภัทร  สาดะระ  ผู้อำนวยการโครงการหลักสูตรนิติกร  สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น  กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย  นำนักศึกษาหลักสูตรพัฒนานักกฏหมายท้องถิ่น รุ่นที่ 22 จำนวน 60 กว่าคน  มาศึกษาดูงานนอกสถานที่  โดยมี ดร.บุญสมหญิง  พลเมืองดี ผู้อำนวยการศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง “ โคกหนองนาบุญ 108 “ พร้อมด้วยนายชูเกียรติ  บุญมี  นายกเทศมนตรีตำบลบางบาล นายปราโมทย์  กิจปลื้ม ที่ปรึกษาพัฒนาการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา  นายมิตรชัย  ศรีผ่าน  พัฒนาการอำเภอบางบาล  คณะวิทยากร และปราชญ์ชาวบ้านคอยให้การต้อนรับ

นายรติภัทร  สาดะระ  ผู้อำนวยการโครงการหลักสูตรนิติกร  กล่าวว่า ในการนำคณะนักศึกษาหลักสูตรนิติกร สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น  มาศึกษาดูงานนอกสถานที่ ที่ศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง “ โคกหนองนาบุญ 108 “ ในครั้งนี้  เพื่อเป็นการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ และ ประสบการณ์จากสถานที่จริง เพื่อให้สามารถนำไปปรับใช้ในการบริหารจัดการองค์กร และ งานในหน้าที่ของผู้เข้ารับการศึกษาอบรม หลักการทรงงาน เศรษฐกิจพอเพียง ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ทรงมอบให้กับคนไทย รับรู้และเข้าใจนำมาประยุกต์ใช้ให้เข้ายุคสมัยในปัจจุบัน  สำหรับนิติกรที่ปฏิบัติงานแต่ละพื้นที่บางครั้งในเรื่องข้อกฏหมายต้องนำไปใช้สร้างความเข้าใจให้กับคนในชุมชน  ซึ่งในบางครั้งชาวบ้านเคยทำมาแบบผิดๆถูกๆจะได้นำไปแนะนำให้กับชาวบ้านได้รับรู้ได้อย่างถูกต้องลดความขัดแย้งในพื้นที่และการกระทำที่ผิดกฏหมาย เช่นการบุกรุกในพื้นที่  การทำเกษตรกรรมแบบดั้งเดิมที่เสี่ยงต่อการกระทำผิดกฎหมาย เช่นการเผาตอซังข้าวหลังจากเก็บเกี่ยวแล้วจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิตชุมชนในปัจจุบัน อาจจะเกิดข้อพิพาทโต้แย้งกันในชุมชน นิติกรก็ต้องเข้าไปสร้างความเข้าใจ ไกล่เกลี่ยชี้แนะให้ความรู้กับประชาชน ถึงความถูกต้องในหลักข้อกฏหมาย

ข่าวที่น่าสนใจ

ด้านนายชูเกียรติ  บุญมี  นายกเทศมนตรีตำบลบางบาล กล่าวว่า ตนก็เคยศึกษาที่สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น แห่งนี้มาก่อน  การที่นักศึกษาหลักสูตรนิติกร ได้มีโอกาสมาศึกษาดูงานเรียนรู้จากสถานที่จริง จะได้รับรู้ถึงปัญหา และการแก้ปัญหา เวลาที่มีการตรวจรับงาน ว่าขั้นตอนการทำงานในบางครั้งต้องมีการปรับเปลี่ยน ประยุกต์ใช้ตามสถานการณ์ หากยึดตามหลักการอย่างเดียวก็จะเกิดความขัดแย้งกับประชาชนที่มีวิถีชีวิตในชุมชนในแต่ละชุมชนที่ไม่เหมือนกัน ตามยุคสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลง ระบบขั้นตอนการทำงานของหน่วยงานราชการ กับ การดำรงชีวิตของชาวบ้านไม่เหมือนกัน แต่ก็สามารถไปในทิศทางเดียวกันได้ อยู่ที่ความเข้าใจปัญหา การแก้ปัญหา เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้ง ตนในฐานะที่ดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีตำบลบางบาล ยาวนานมาหลายปี จึงรับรู้ถึงปัญหาของชุมชน และหาทางแก้ปัญหาความเป็นอยู่ของชุมชนเพื่อความเป็นอยู่ที่ดี มีความสุข ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงแบบยั่งยืน

ดร.บุญสมหญิง  พลเมืองดี ผู้อำนวยการศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง “ โคกหนองนาบุญ 108 “ กล่าวว่า ศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้ ถือเป็นโรงเรียนอีกแห่งหนึ่ง ที่นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ในหลวงรัชกาลที่ 9 มาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับสถานการณ์จริงในปัจจุบัน เป็นแหล่งเรียนรู้ในการประกอบอาชีพในชีวิตประจำวันที่มีแบบแผน หลักการ ในการสร้างรายได้ให้กับชุมชน ครอบครัว   อีกทั้งยังเป็นศูนย์ฝึกทักษะ เรียนรู้ทางวิชาการของนักศึกษาจากสถาบันต่างๆได้มาศึกษาเรียนรู้จากสถานที่จริงตามนโยบายของรัฐบาลที่ให้เรียนรู้จากการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ ที่เป็นโคก เป็นหนอง และนา ในการทำเกษตรแบบพอเพียงเพื่อสร้างรายได้เลี้ยงครอบครัว

ด้านนายชลัฏกิตติ์ เหมะธุลิน  ประธานคณะกรรมการนักศึกษา หลักสูตรพัฒนานักกฎหมายท้องถิ่น รุ่นที่ 22  กล่าวว่า ต้องขอขอบคุณเจ้าของสถานที่ศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  “โคกหนองนาบุญ 108”  ที่ได้ให้ความรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แก่นักศึกษาหลักสูตรพัฒนานักกฏหมายท้องถิ่น รุ่นที่ 22   เพื่อนำไปปรับใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ในองค์กรต่อไป

นายสิทธิ  อาษากิจ เลขานุการ รุ่น   กล่าวว่า ในการมาศึกษาดูงานในครั้งนี้ ได้แนวคิดที่จะนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน  ในเรื่องของความพอเพียงนั้นเราไม่ได้นำไปใช้ในแง่ของการเกษตรเพียงอย่างเดียวเท่านั้น  แต่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน การใช้จ่ายอย่างพอประมาณ อย่างเรื่องเงินถ้ามีเหลือก็เก็บไว้ใช้  ถ้ามีมากกว่านั้นก็ใช้ในการเก็บออม  ในเรื่องของปัจจัย 4 นำสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวมาใช้  ทั้งเรื่องหยูกยาก็ใช้พืชผักที่เป็นสมุนไพร  เสื้อผ้าเครื่องใช้ ก็ใช้ในสิ่งที่ทำมาจากวัสดุที่ทำมาจากธรรมชาติ การเดินทางก็ใช้พลังงานที่เป็นธรรมชาติมาประยุกต์ใช้ในการเดินทาง โดยรวมก็คือหลักของการพอเพียง พอประมาณ เป็นภูมิคุ้มกันตัวเองเพื่อที่จะได้ไม่ไปหลงกับเรื่องของการบริโภคนิยมจนเกินไป  ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงก็สามารถดำรงชีวิตตนเองอยู่ได้ และยังช่วยเหลือผู้อื่นได้อีกด้วย

เกียรติยศ  ศรีสกุล ผอ.ข่าว TOPNEWS ภาคกลาง

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

นิด้าโพล เปิดผลสำรวจ แม้ปชช.รับ ‘เงินหมื่น’ แต่ยังไม่แน่ใจ สมัยหน้าจะสนับสนุนรบ.หรือไม่
พรุ่งนี้ "นายกฯ" เข้าร่วมประชุมก.ตร. เคาะ "ผบ.ตร.คนใหม่" เปิดชื่อ 3 ตัวเต็ง ชิงเก้าอี้
"นายกฯ" เคลื่อนไหว แจงปมก้มหน้าอ่านไอแพด ประชุมผู้นำ ขอสังคมลดอคติลง
"หมอมามี" เล่าอีกมุมปมช่วยช้างแม่แตง ชี้การเข้าช่วยเหลือช้างประสบภัยติดข้อจำกัด
"กัญจนา" ขอมองข้ามดราม่า ปมช่วยเหลือช้างหนีน้ำท่วม ขอบคุณจิตอาสา ทีมแพทย์ กู้ภัยทุกหน่วย ร่วมใจทำภารกิจ
ทั่วไทยเจอมรสุม อีสานอากาศเย็น ลมหนาวเริ่มแล้ว 30 จังหวัดฝนถล่ม เสี่ยงท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก
ความมั่นคงที่ควรเอาใจใส่ : ปกรณ์ นิลประพันธ์
อยากเห็นจริง ๆ : ปกรณ์ นิลประพันธ์ 
"ศุภมาส" ห่วงน้ำท่วมภาคเหนือ มอบ ม.ราชมงคลทั่วประเทศ เปิดศูนย์ประสานงานส่วนหน้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม เชียงใหม่
“อนุทิน” น้ำตาคลอ หลังเห็นชาวเชียงใหม่น้ำท่วมหนัก แต่ยังยิ้มได้ ลั่นเรามาให้กำลังใจเขาแต่ได้กำลังใจกลับมา

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น