ย้อนประวัติศาสตร์ "เรือไททานิค" กับเหตุโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ พรากชีวิตกว่า 1,500 คน ที่โลกไม่มีวันลืม
ข่าวที่น่าสนใจ
กำเนิด “เรือไททานิค”
- เป็นเรือของบริษัท White Star Line ซึ่งทำธุรกิจเกี่ยวกับเรือเดินสมุทร โดยโครงการนี้ทำขึ้นเพื่อสร้างเรือสำราญขนาดใหญ่กว่าและดีกว่าบริษัท Cunard คู่แข่งในธุรกิจเรือเดินสมุทร ทำให้เรือ ไททานิค ในขณะนั้นเป็นเรือเดินสมุทรที่ใหญ่ที่สุด และหรูหรามากที่สุด
- และด้วยความหรูหราที่เกิดจากการสร้างสรรค์ด้วยเทคโนโลยีทางวิศวกรรมที่ดีที่สุดและทันสมัยที่สุดของยุค ประกอบกับขนาดของเรือที่สามารถบรรทุกผู้โดยสาร 2,223 คน จึงได้รับการขนานนามว่า เรือที่ไม่มีวันจม
- ส่วนการตกแต่งภายในเรือ ประดับประดาไปด้วยศิลปะและสถาปัตยกรรมสไตล์ Luxury พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ทั้งสระว่ายน้ำ สนามสควอช ยิม และเลาจน์ ที่ได้รับแรงบรรดาลใจมาจากพระราชวังแวร์ซายส์
- ผู้โดยสารบนเรือมีบรรดาบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในโลก เช่นเดียวกับผู้อพยพกว่าพันคนจากบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ สแกนดิเนเวีย เป็นต้น
- เรือไททานิค มีเริ่มออกจากท่าเรือในวันที่ 11 เมษายน ค.ศ.1912 จากเมือง Southampton ประเทศอังกฤษ สู่มหานครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ด้วยระยะทางกว่า 600 กิโลเมตร โดยจะผ่านน่านน้ำของฝรั่งเศส และไอร์แลนด์
สัญญาณเตือนก่อนเกิดเหตุโศกนาฏกรรม
- ก่อน “เรือไททานิค” จะออกเดินทาง เกิดเหตุไฟไหม้บริเวณส่วนเก็บถ่านหินที่ บล็อก 5 และ 6 และไฟยังไหม้ต่อเนื่องตลอดการเดินทาง ความเสียหายนั้นส่งผลให้ผนังกั้นนํ้าชั้นที่ 4 ก่อนถึงห้องเครื่อง
- ส่วนที่เก็บถ่านหินนั้นร้อนมาก อุณหภูมิไม่ตํ่ากว่า 1,500 ฟาเรนไฮต์ จนผนังกั้นนํ้าร้อนจนแดง และตัวเหล็กของผนังกั้นนํ้านั้นบิด งอ ลดการทนทานนํ้าไปกว่า 75% จนเพลิงสงบลงในวันที่ 4 ของการเดินทาง (14 เมษายน ค.ศ.1912)
- เมื่อเดินทางถึงเกาะ Newfoundland เรือหลายลำส่งสัญญาณเตือนว่ามีภูเขาน้ำแข็งขนาดใหญ่บริเวณนั้น แต่กัปตันเรือเอ็ดเดินหน้าเวิร์ด สมิธ ไม่ฟัง กลับสั่งเดินหน้าเต็มกำลัง
- เนื่องจาก ต้นหนของเรือ ผู้ทำหน้าที่แจ้งเตือนทิศและทางอันตรายไม่มีรายงานกลับมาที่ห้องบัญชาการ ประกอบกับความเชื่อมั่นว่าภูเขาน้ำแข็งไม่สามารถทำอันตรายเรือขนาดใหญ่อย่างไททานิคได้
การตัดสินใจที่ผิดพลาด นำมาซึ่งเหตุโศกนาฏกรรมสะเทือนหน้าประวัติศาสตร์
- ด้วยปัญหาทางด้านทัศนวิสัยในคืนเดือนมืด ทำให้ต้นหนมองเห็นภูเขาขนาดใหญ่ข้างหน้า จนกระทั่งเวลา 23.40 น. ต้นหนของเรือสังเกตเห็นภูเขาน้ำแข็งขนาดใหญ่ จึงรีบส่งสัญญาณไปที่ห้องบัญชาการทันที
- แต่ทุกอย่างก็สายเกินไป แม้รองกัปตันเรือจะพยายามหักพังงาเรือเต็มกำลัง เพราะขนาดของเรือและความเร็วก่อนหน้า ทำให้ไม่สามารถหักเลี่ยวเรือได้ทัน
- ประกอบกับผนังกั้นน้ำชั้น 4 ที่ได้รับความเสียหายจากเหตุไฟไหม้ห้องเก็บถ่านก่อนหน้านี้ ทำให้น้ำทะลักเข้ามาในตัวเรืออย่างรวดเร็ว
- กัปตันเรือสั่งอพยพผู้โดยสารทันที แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ จำนวนเรือชูชีพมีน้อยเกินไป สามารถรับคนได้ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้โดยสารและลูกเรือทั้งหมด
- ความเหลื่อมล้ำรุนแรงถึงขีดสุด เมื่อลูกเรือสนใจอพยพเฉพาะผู้โดยสารที่เป็นเด็กและผู้หญิงชั้น 1 เท่านั้น ปล่อยให้ผู้โดยสารชายจากชั้น 3 เผชิญความหายนะต่อไป ในขณะที่ผู้โดยสารชายจากชั้น 1 บางส่วนก็แสดงความเป็นสุภาพบุรุษ สละที่นั่งของตนเองให้กับเด็กและสตรี
- สุดท้าย เรือชูชีพสามารถช่วยชีวิตผู้โดยสารและลูกเรือได้เพียง 710 คนเท่านั้น
- เวลาประมาณ 02.20 น. “เรือไททานิค” แตกครึ่งลำ ค่อย ๆ จมสู่ก้นสมุทรอย่างช้า ๆ
- ผู้โดยสารและลูกเรืออีกกว่า 1,500 คนบนเรือเผชิญชะตากรรมที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
- ผู้ที่สวมชุดชูชีพ ลอยเคว้งอยู่ในทะเลด้วยอุณหภูมิ -2 องศาเซลเซียส หลายคนเสียชีวิตภายในไม่กี่นาทีจากภาวะตัวเย็นเกิน (hypothermia)
- เวลาประมาณ 04.10 น. ของวันที่ 15 เมษายน เรืออาร์เอ็มเอส คาร์พาเธีย (RMS Carpathia) เข้าช่วยเหลือผู้โดยสารและลูกเรือทั้งหมดจาก 2,200 คน พบผู้รอดชีวิตเพียง 710 คนเท่านั้น
เมื่อเหตุการณ์โศกนาฏกรรมดังกล่าวจบลง ผู้โดยสารผู้ชายที่รอดชีวิตมา โดนตราหน้าว่าไม่มีความเป็นสุภาพบุรุษ เนื่องจาก วัฒนธรรมในช่วงเวลานั้น นอกจากนี้ ยังสร้างความไม่พอใจให้กับประชาชนจากการสูญเสียครั้งใหญ่ และความล้มเหลวของกฎระเบียบและปฏิบัติการ จนนำไปสู่โศกนาฏกรรมโลกจารึก
จนเกิดการจัดตั้ง อนุสัญญาความปลอดภัยของชีวิตในทะเลระหว่างประเทศ (SOLAS) ใน ค.ศ. 1914 ควบคุมความปลอดภัยในทะเล ผู้รอดชีวิตหลายคนสูญเสียเงินและทรัพย์สินทั้งหมดและถูกทิ้งให้อดอยากหลายครอบครัว โดยเฉพาะลูกเรือจากเซาท์แทมป์ตัน สูญเสียเสาหลักของครอบครัวไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง