“สารสเตียรอยด์” 7 ภัยอันตรายที่ค่อนข้างสำคัญ ควรรู้อย่างยิ่ง

สารสเตียรอยด์

ตายไว ร่างกายพัง "สารสเตียรอยด์" อันตราย ยก 7 ข้อที่ค่อนข้างสำคัญและควรรู้อย่างยิ่ง เช็คด่วน เพราะอาจช็อกหมดสติ เสียชีวิต

TOP News ย้ำเตือนภัย “สารสเตียรอยด์” อันตราย แผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยก 7 ข้อที่ค่อนข้างสำคัญและควรรู้อย่างยิ่ง เช็คด่วน ๆ

ข่าวที่น่าสนใจ

สารสเตียรอยด์

7 ข้อภัยอันตรายจากสเตียรอยด์

ภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง

  • กดภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ภูมิคุ้มกันลดลง ทำให้ติดเชื้อง่าย เป็นแผลที่ผิวหนังตามร่างกาย แขน ขา นิ้วมือ ทำให้แผลหายช้า บางรายแผลลุกลามทั่วร่างกายจนเกิดการติดเชื้อเข้าในกระแสเลือด และบางทีสเตียรอยด์อาจปิดบังอาการแสดงของโรคติดเชื้อ กว่าจะตรวจพบเชื้อโรคก็ลุกลามรุนแรงมากจนทำให้เสียชีวิต

กระดูกพรุน

  • ทำให้กระดูกพรุน แตกหักง่าย ดังนั้น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคไขกระดูก ผู้อยู่ในวัยทอง ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ติดต่อกันเป็นเวลานาน ควรตรวจภาวะกระดูกพรุนหรือปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา

ระดับน้ำตาลในเลือดสูง

  • ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในช่วงปกติได้ จะมีระดับน้ำตาลสูง

กล้ามเนื้ออ่อนแรง

  • ทำให้อ่อนเพลีย กล้ามเนื้อบริเวณแขนและขาไม่มีแรง จึงปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ หัวใจเต้นผิดจังหวะหรืออาจหยุดเต้นได้

สารสเตียรอยด์

อารมณ์แปรปรวน

  • ทำให้อารมณ์แปรปรวนง่าย การใช้สเตียรอยด์ในขนาดสูง จะทำให้เกิดอารมณ์เป็นสุข จึงทำให้ผู้ใช้ชอบใช้จนติดยา แต่ใช้ไปนาน ๆ อาจพบอาการที่เป็นผลข้างเคียงจากยาตามมาได้ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร กระสับกระส่าย ปวดศีรษะ หงุดหงิด เป็นต้น

เลือดออกทางเดินอาหาร

  • ทำให้เยื่อบุในกระเพาะอาหารบางลงและยับยั้งการสร้างเนื้อเยื่อกระเพาะอาหารใหม่ อาจทำให้กระเพาะอาหารทะลุ หรือเลือดออกในกระเพาะอาหารโดยไม่มีอาการปวดท้องมาก่อน

อาจช็อกหมดสติ เสียชีวิต

  • เมื่อร่างกายได้รับ “สารสเตียรอยด์” เป็นเวลานานร่างกายจะหยุดสร้างสเตียรอยด์ตามธรรมชาติที่เคยสร้างเอง ดังนั้น เมื่อผู้ใช้หยุดใช้ยานี้อย่างกะทันหันจะทำให้ร่างกายขาดสเตียรอยด์อย่างฉับพลัน อาจเกิดภาวะช็อก หมดสติ และเสียชีวิตได้ หากนำส่งโรงพยาบาลไม่ทัน ดังนั้น หากสงสัยว่ากินสเตียรอยด์จากการซื้อมาเอง ไม่ใช่การรักษาโดยแพทย์ อย่าหยุดยาเอง ขอให้รีบไปปรึกษาแพทย์ให้เร็วเพื่อหาทางลดยา

ที่มา : แผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม

สารสเตียรอยด์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ตร.ภูธรภาค 3" ระดมกำลังพลกว่า 4,600 นาย ช่วยอำนวยความสะดวก-ดูแลความปลอดภัยให้ ปชช.ช่วงเทศกาลสงกรานต์
"นายกฯ" ยันแค่เลื่อนวาระร่างกม.เอ็นเตอร์เทนเมนต์ฯ "พิชิต" เดินหน้าชุมนุมรัฐสภา ลั่นรัฐบาลต้องหยุดกาสิโน
สวนนงนุชพัทยา เตรียมความพร้อมฉลองปีใหม่ไทย เทศกาลมหาสงกรานต์ โปรโมชั่นและกิจกรรมที่น่าสนใจรอตอนรับนักท่องเที่ยว
"พิสิษฐ์" นำแถลงค้านร่างพ.ร.บ.เอ็นเตอร์เทนเมนต์ฯ มั่นใจสว.เกิน 100 ไม่เอากาสิโน
กทม.อัปเดตยอดเสียชีวิต "ตึกสตง."ถล่ม พุ่ง 21 ราย จนท.เร่งปฏิบัติการค้นหาโซน B-C เพิ่มเติม
ทีมกู้ภัยเอกชนจีนร่วมช่วยเหลือผู้ประสบภัยเมียนมา
ครม.เวียดนามประชุม 3 รอบแล้ว ถกรับมือภาษีทรัมป์
“นายกฯ” ดึง 5 หน่วยงาน สั่งทำโมเดลจำลอง หาสาเหตุ "ตึกสตง." ถล่ม ตีเส้น 90 วัน ลั่นต้องมีผู้รับผิดชอบ
งานเข้าหนัก "นายกฯ" แจ้งความแล้ว ปม "ไฮโซเก๊" แอบอ้างแชทไลน์ปลอม
“บางจากฯ” เปิดคัดสวิงเยาวชนลุยญี่ปุ่น พร้อมเก็บคะแนนสะสมโลก

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น