ปรีดี พนมยงค์ ได้เขียนบันทึกจุดกำเนิดและภาระกิจของคณะราษฏร์เอาไว้ว่า… เมื่อปี ค.ศ. 1925 (พ.ศ. 2468) ร.ท. ประยูร ภมรมนตรี มาถึงปารีสและได้พบข้าพเจ้า และข้าพเจ้าได้สนทนากับ ร.ท. ประยูรฯ หลายครั้ง
ต่อมาจึงชวน ร.ท. แปลก, ร.ต. ทัศนัย ซึ่งย้ายจากบ้านพักเดิมไปอยู่ถิ่นเดียวกับข้าพเจ้าที่ Quartier-Latin จึงได้สนทนากันแทบทุกวันแล้วก็ได้ชวนเพื่อนอื่นๆ ให้ร่วมด้วย
การประชุมเป็นทางการครั้งแรกของคณะราษฎรเกิดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1927 ที่หอพักแห่งหนึ่ง ณ ‘Rue Du Sommerard’ ซึ่งเราเช่าห้องใหญ่ไว้เฉพาะการประชุมนั้น
ผู้ร่วมประชุมก่อตั้ง “คณะราษฎร” มี 7 คน คือ 1. ร.ท. ประยูร ภมรมนตรี, 2. ร.ท. แปลก ขีตตะสังคะ, 3. ร.ต. ทัศนัย มิตรภักดี, 4. นายตั้ว ลพานุกรม, 5. หลวงสิริราชไมตรี (จรูญ สิงหเสนี), 6. นายแนบ พหลโยธิน, และ 7. นายปรีดี พนมยงค์
ปรีดี พนมยงค์ กล่าวว่า “วัตถุประสงค์ของคณะราษฎร คือ… เปลี่ยนระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ… เปลี่ยนการปกครองของพระมหากษัตริย์ที่อยู่เหนือกฎหมายมาเป็นการปกครองที่มีกษัตริย์อยู่ใต้กฎหมาย และดำเนินการเพื่อให้สยามบรรลุหลัก 6 ประการ คือ
•1 รักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่น เอกราชทางการเมือง ในทางศาล ในทางเศรษฐกิจ ฯลฯ ของประเทศไว้ให้มั่นคง
•2 รักษาความปลอดภัยในประเทศให้การประทุษร้ายต่อกันลดลงให้มาก
•3 บำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะหางานให้ราษฎรทุกคนทำ จะวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก
•4 ให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกัน
•5 ให้ราษฎรมีเสรีภาพที่ไม่ขัดต่อหลัก 4 ประการดังกล่าวแล้ว
•6 ให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร
พลโทประยูร ภมรมนตรี 1 ใน 7 ของผู้ร่วมก่อตั้ง “คณะราษฎร” ที่กรุงปารีส, ได้บันทึกความทรงจำในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เอาไว้ว่า….
“การที่คิดเปลี่ยนแปลงการปกครองนี้ไม่ได้เป็นการกบฏ หรือล้มราชบัลลังก์ เพราะการมีรัฐธรรมนูญปกครองบ้านเมืองนั้นนับเป็นการแบ่งเบาภาระหน้าที่ของพระเจ้าอยู่หัว ความดีทั้งหลายก็เทิดทูนถวายส่งเสริมพระบารมี ฉะนั้นพระมหากษัตริย์ย่อมรุ่งโรจน์ตลอดไป…”
หลังจากปฏิวัติเปลี่ยนแปลงกรรปกครองสำเร็จ
ปรีดี พนมยงค์ ได้กล่าวในที่ประชุมรัฐสภา เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2489 ความตอนหนึ่งว่า…
“คณะราษฎรเพิ่งทราบเมื่อ 6 วันภายหลังที่ได้เปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว คือเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน…มีพระราชกระแสรับสั่งว่า จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ แต่เมื่อได้ทรงปรึกษาข้าราชการมีตำแหน่งสูงในขณะนั้น ก็ไม่เห็นพ้องกับพระองค์…