3 ดาบปมร้อนใหญ่รอฟัน “พิธา-ก้าวไกล”

ส่อง 3 คำร้องร้อนรอฟัน “พิธา-ก้าวไกล” ทั้งเรื่องคุณสมบัติ-ล้มล้างการปกครอง พร้อมเจาะลึกกระบวนการ กกต.-ส.ว.-เริ่มขับเคลื่อนขยับสอบสวนทุกข้อกล่าวหาอาจทำแคนดิเดตนายกฯก้าวไกลถึงฝั่งฝันหรือไม่

ยังเป็นปมร้อนที่ต้องติดตามภายหลังคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. ประกาศรับรองผล ส.ส.จำนวน 500 คนอย่างเป็นทางการ ทำให้กระบวนการทางการเมืองต่างเริ่มขยับตามวันเวลาทั้งในการเลือกตั้งประธานสภาฯ รวมถึงการเสนอชื่อนายกรัฐมนตรี ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเกี่ยวข้องกับนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ และพรรคก้าวไกลทั้งสิ้น แต่ดูเหมือนจะเป็นการยากยิ่งที่พรรคสีส้มจะก้าวผ่านกระบวนการเหล่านี้ไปได้อย่างง่าย เนื่องจากยังมีปมร้อนเกี่ยวการกระทำที่นายพิธา และพรรคก้าวไกลถูกร้องเรียน โดยเฉพาะ 3 ปมร้อนหลักที่อาจเป็นบ่วงรัดนายพิธา และพรรคก้าวไกลที่อาจทำให้ไม่ถึงฝั่งฝัน โดยประกอบไปด้วย

1.คำร้องของ “เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ” สมาชิกพรรคพลังประชารัฐ ส่งจดหมายทางไปรษณีย์ EMS ถึง กกต. ขอให้ส่งเรื่องกรณีสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของนายพิธาสิ้นสุดไปยังศาลรัฐธรรมนูญตามความในรัฐธรรมนูญ มาตรา 82 วรรคสี่ที่ระบุว่า ในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นว่าสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาคนใดคนหนึ่งมีเหตุสิ้นสุดลงตามวรรคหนึ่ง ให้ส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยตามวรรคหนึ่งได้ด้วย

ทั้งนี้คำร้องนายเรืองไกรอ้างถึงรัฐธรรมนูญ มาตราที่เกี่ยวข้อง คือ มาตรา 82 ที่ระบุว่า ส.ส.หรือ ส.ว. จำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบ ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา มีสิทธิเข้าชื่อร้องต่อประธานแห่งสภาที่ตนเป็นสมาชิก ว่าสมาชิกภาพของสมาชิกคนใดคนหนึ่งแห่งสภานั้นสิ้นสุดลงตามมาตรา 101 (3) (5) (6) (7) (8) (9) (10) หรือ (12) หรือมาตรา 111 (3) (4) (5) หรือ (7) แล้วแต่กรณี และให้ประธานแห่งสภาที่ได้รับคําร้อง ส่งคําร้องนั้นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าสมาชิกภาพของสมาชิกผู้นั้นสิ้นสุดลงหรือไม่

อย่างไรก็ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 82 วรรคสองยังระบุไว้ชัดเจนว่า เมื่อได้รับเรื่องไว้พิจารณาหากปรากฏเหตุอันควรสงสัยว่าสมาชิกผู้ถูกร้องมีกรณีตามที่ถูกร้อง ให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้สมาชิกผู้ถูกร้อง “หยุดปฏิบัติหน้าที่” จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคําวินิจฉัย และเมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคําวินิจฉัยแล้ว ให้ศาลรัฐธรรมนูญแจ้งคําวินิจฉัยนั้นไปยังประธานแห่งสภาที่ได้รับ คําร้องตามวรรคหนึ่ง
ยิ่งไปกวานั้นรัฐธรรมนูญมาตรา 82 วรรคสามระบุชัดเจนว่า กรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าสมาชิกภาพของสมาชิกผู้ถูกร้องสิ้นสุดลง ให้ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งนับแต่วันที่หยุดปฏิบัติหน้าที่ แต่ไม่กระทบต่อกิจการที่ผู้นั้นได้กระทำไปก่อนพ้นจากตำแหน่ง มิให้นับ ส.ส.หรือ ส.ว.ซึ่งหยุดปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคสอง เป็นจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภา

 

ข่าวที่น่าสนใจ

2. ปมร้อนกรณี กกต. มติรับสืบสวนกรณีการถือหุ้น บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) 42,000 หุ้นของนายพิธาผิดตามมาตรา 151 พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. หรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้กกต.มองว่า กรณีคำร้องเรื่องการถือหุ้นของนายพิธาที่ยื่นมาก่อนหน้านี้มีรายละเอียดเกี่ยวกับข้อเท็จจริงและพฤติการณ์และมีหลักฐานพอสมควร และมีข้อมูลเพียงพอที่จะสืบสวนไต่สวนต่อไปว่า นายพิธาเป็นบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งและรู้อยู่แล้วว่าตนไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเนื่องจากมีลักษณะต้องห้ามแต่ได้สมัครรับเลือกตั้ง อันเข้าข่ายเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนมาตรา 42(3) และมาตรา 151 แห่ง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. จึงเห็นควรพิจารณาสั่งให้ดำเนินการไต่สวนเป็นกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยหรือความปรากฏ

สำหรับตามมาตรา 151 ตาม พ.ร.ป.วเลือกตั้ง ส.ส. ที่ กกต. “ตั้งธง” สอบมีเนื้อหาดังต่อไปนี้

-ผู้ใดรู้อยู่แล้วว่า ตนไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเนื่องจากขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะ ต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็น สมาชิก ส.ส.ได้สมัครรับเลือกตั้งหรือทำหนังสือยินยอม ให้พรรคการเมืองเสนอรายชื่อเพื่อสมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่ 1-10 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000-200,000 บาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้นั้น มีกำหนด 20 ปี

ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นผู้ซึ่งได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้นั้นคืนเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่ได้รับมาเนื่องจากการดำรงตำแหน่งดังกล่าวให้แก่สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรด้วย”

วิเคราะห์ตามบทบัญญัติกฎหมายมาตรา 151 หากนายพิธาถูกชี้ว่ามีความผิดจะต้องรับโทษโทษจำคุกสูงสุด 1-10 ปี รวมถึงถูกตัดสิทธิเลือกตั้ง 20 ปี และยิ่งไปกว่านั้นยังขอให้ศาลเรียกคืน “เงินเดือน” จากการเป็นส.ส.ได้ทุกบาท ทุกสตางค์อีกด้วย

 

3.คำร้องกรณี “ธีรยุทธ สุวรรณเกษร” ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การกระทำของ “พิธา” และพรรคก้าวไกลกรณีเสนอร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ…. เพื่อยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 โดยใช้เป็นนโยบายในการหาเสียงเลือกตั้ง และยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่องนั้น เป็นการใช้สิทธิเพื่อล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 49 วรรคหนึ่งหรือไม่

สำหรับคำร้องดังกล่าวล่าสุดศาลรัฐธรรมนูญได้ส่งหนังสือสอบถามไปยังอัยการสูงสุดเกี่ยวกับความคืบหน้าหลังนายธีรยุทธ ระบุว่า ได้ยื่นคำร้องถึงอัยการสูงสุดเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคมแล้ว แต่อัยการสูงสุดไม่ได้ดำเนินการภายใน 15 วันตามกฎหมายกำหนด โดยหนังสือสอบถามของศาลรัฐธรรมนูญกำหนดให้อัยการสูงสุดชี้แจงภายใน 15 วันว่า มีคำสั่ง ‘รับ’ หรือ ‘ไม่รับ’ ตามที่ร้องขอ หากมีคำสั่งรับแล้วดำเนินการอย่างไร และผลการดำเนินการอย่างไร โดยให้แจ้งต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน 15 วัน

อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติหากอัยการสูงสุดได้รับหนังสือร้องขอของนายธีรยุทธและไม่ดำเนินการใด ๆ ภายใน 15 วัน ผู้ร้องสามารถยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยตรงเพื่อให้ศาลรัฐธรรมรับเรื่อง และเมื่อศาลรัฐธรรมนูญรับเรื่องเห็นว่าคำร้องดังกล่าวมีความข้อเท็จจริงทางกฎหมายก็จะรับคำร้องดังกล่าวเพื่อวินิฉัยตัดสินว่าการกระทำของนายพิธาและพรรคก้าวไกลกรณีมาตรา 112 เข้าข่ายล้มล้างการปครองหรือไม่ และที่สำคัญหากศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่ากระทำผิดก็จะวินิจฉัยว่านายพิธา และพรรคก้าวไกลกระทำการอันเป็นการล้มล้างการปกครอง

เกี่ยวกับปมร้อนคดีนายพิธานั้น มีรายงานว่า เมื่อวันที่ 27 มิ.ย. ที่ผ่านมาภายหลังการประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีการประชุมลับ โดยเป็นการประชุมเพื่อให้คณะกรรมการไต่สวนของสำนักงานกกต. ที่ดำเนินการสอบสวนคุณสมบัติของนายพิธา ตามมาตรา 151 รายงานความคืบหน้าของการสอบสวนหลังจากใกล้ครบกรอบเวลาทำงาน 20 วัน นับแต่วันที่ 9 มิ.ย.ที่ กกต.มีมติให้ตั้งคณะกรรมการไต่สวน

นอกจากนี้กกต.ยังได้รายงานกรณีมีคำร้องทั้งของนายเรืองไกร นายนพรุจ วรชิตวุฒิกุล อดีตแกนนำกลุ่มพิราบขาว ที่ขอให้ กกต.ดำเนินการตามรัฐธรรมนูญมาตรา 82 ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าสมาชิกภาพ ส.ส.ของนายพิธา สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 98 (3) หรือไม่ด้วย

ขณะเดียวกันเมื่อวันที่ 27 มิ.ย.ที่ผ่านมารัฐสภา นายนพรุจ วรชิตวุฒิกุล อดีตแกนนำพิราบขาว 2006 ยื่นหนังสือต่อนายสมชาย แสวงการ ส.ว. นายเสรี สุวรรณภานนท์ ส.ว. เพื่อขอให้ ส.ว. ร่วมกันลงชื่อร้องเรียน นายพิธากรณีถือหุ้นสื่อไอทีวี ซึ่งอาจขัดพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย ส.ส. มาตรา 42 (3) และกรณีโอนหุ้นให้กับบุคคลอื่นหลังวันเลือกตั้ง อาจเข้าลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 98 (3) หรือไม่

เกี่ยวกับ 3 ปมร้อนคำร้องที่กล่าวมาข้างต้น รวมถึงกระบวนการความเคลื่อนไหวของคณะกรรมการเลือกตั้ง สมาชิกวุฒิสภา และกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญส่งหนังสือสอบถามอัยการสูงสุดอาจเป็นสัญญาณที่เปรียบเสมือนดาบใหญ่ที่รอฟันมาที่นายพิธา และพรรคก้าวไกล สมกับความผิดที่ได้กระทำหรือไม่…?

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น