กลุ่มคนวัย 60-84 ปี จำนวน 21,315 คนในออสเตรเลีย เข้าร่วมการวิจัยแบบสุ่มที่ดำเนินการโดยกลุ่มสถาบันการวิจัยและมหาวิทยาลัยของออสเตรเลีย ระหว่างปี 2014-2020 ซึ่งในจำนวนนี้มีผู้เข้าร่วม 10,662 คน รับวิตามินดี 60,000 ไอยู (IU) จำนวน 1 แคปซูล ส่วนอีก 10,653 คนได้รับยาหลอกทุกต้นเดือนตลอดเวลา 5 ปี โดยผู้เข้าร่วมมากกว่าร้อยละ 80 รับประทานยาเม็ดที่ใช้ในการศึกษาอย่างน้อยร้อยละ 80
การวิจัยพบว่าผู้เข้าร่วมประสบอุบัติการณ์ชนิดรุนแรงจากสาเหตุโรคหัวใจและหลอดเลือด จำนวน 1,336 คน ซึ่งรวมถึง 699 คนจากกลุ่มรับยาหลอก และ 637 คนจากกลุ่มที่ได้รับวิตามินดี โดยอัตราการเกิดอุบัติการณ์นี้ในกลุ่มที่ได้รับวิตามินดี ต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอกราวร้อยละ 9
ขณะที่อัตราการเกิดอาการหัวใจวายลดลงร้อยละ 19 และอัตราการเปิดหลอดเลือดหัวใจที่อุดตัน (revascularization) ลดลงร้อยละ 11 ในกลุ่มที่ได้รับวิตามินดี ทว่าไม่มีความแตกต่างด้านอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดสมองระหว่างสองกลุ่ม
ทั้งนี้ ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าการเสริมวิตามินดีอาจลดความเสี่ยงของอุบัติการณ์ข้างต้น ซึ่งผลลัพธ์การป้องกันนี้อาจมีผลชัดเจนมากขึ้นในผู้ที่รับประทานยากลุ่มสแตตินหรือยารักษาโรคหัวใจและหลอดเลือดอื่นๆ ในการตรวจวัดขั้นต้น
เครดิต: ซินหัว