นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก “เอ็ดดี้ อัษฎางค์ ยมนาค” ระบุว่า “อาจารย์สอนกฎหมายมหาวิทยาลัยในภูมิภาคอันดับ 1 พูดเหมือนไม่เคยเรียนวิชากฎหมายมาเลย”
ก่อนอื่น ขอกราบประทานโทษไปถึงผู้ที่เกี่ยวข้องกับ มช.ตั้งแต่ท่านอธิการบดี คณบดี อาจารย์และนักศึกษานิติศาสตร์และนักศึกษาของ มช. ทุกท่าน เพราะมันพาลให้คิดกังวลไปถึงลูกศิษย์ นิติศาสตร์หรือ นศ. มช.ทุกคนที่เรียนวิชากฎหมายเป็นวิชาบังคับ จะมีคุณภาพแค่ไหนอย่างไร !
ย้อนไปเมื่อ 2 ปีเศษ เกิดคดีความเรื่องอาจารย์และนักศึกษามีเดียอาร์ต คณะวิจิตรศิลป์ ของมหาวิทยาลัย จัดกิจกรรมที่อ้างว่า เป็นกิจกรรมในหลักสูตรและเป็นกิจกรรมประกอบวิทยานิพนธ์ ทั้งที่ความจริง ในช่วงเวลาดังกล่าว สถาบันการศึกษาทุกแห่งทั่วประเทศ รวมทั้ง มช.งดการเรียนการสอนและกิจกรรมทุกประเภท โดยจัดให้มีการเรียนการสอนออนไลน์ เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด แต่อาจารย์และนักศึกษากลุ่มหนึ่งกลับฝ่าฝืนคำสั่งของมหาวิทยาลัย
นอกจากนี้ยังมีการบุกและงัดประตูหอศิลป์ เพื่อจะเข้าไปจัดกิจกรรม ที่อ้างว่าเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร ทั้งที่ภาพที่ปรากฎในข่าว เป็นการกิจกรรมทางด้านการเมือง เช่น มีการทำธงชาติที่ไม่มีสีน้ำเงิน อันหมายถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งถือว่าเป็นการทำผิดกฎหมายร้ายแรง ฯ
ผ่านมากว่า 2 ปี เรื่องบุกรุกหอศิลป์ ยังเป็นคดีความในศาล ล่าสุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ออกประกาศเรื่องการขออนุญาตจัดกิจกรรมการชุมนุมภายในมหาวิทยาลัย หนึ่งในเงื่อนไข “ห้ามพาดพิงสถาบันพระมหากษัตริย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม”
ทำให้ อ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเคยเป็นอดีตคณบดี ออกมาวิพาษวิจารณ์ว่า ประกาศของ มช.ขัดต่อรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ โดยย้ำลมหายใจของมหาวิทยาลัยคือเสรีภาพ ถ้ามหาวิทยาลัยไหนไม่มีเสรีภาพ ก็ไม่ต่างจากวัดเก่าๆ ที่ไม่มีคนเข้า
3 ก.ค. 2566 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ออกประกาศฉบับใหม่เรื่อง “การขออนุญาตใช้พื้นที่จัดกิจกรรมการชุมนุมตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ภายในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่” เพื่อยกเลิกประกาศฉบับเก่าเรื่อง “การจัดกิจกรรมทางการเมืองของนักศึกษา และบุคลากรของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ณ วันที่ 19 ส.ค. 2563”
โดยประกาศการขออนุญาตจัดกิจกรรมการชุมนุมฯ ฉบับใหม่ ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 35 และมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2551 และมติสภามหาวิทยาลัยในคราวประชุมครั้งที่ 10/2551 เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2551 ระบุเงื่อนไขในการจัดกิจกรรมชุมนุมโดยสรุปดังนี้
1. ชุมนุมโดยสันติ ปราศจากอาวุธ ไม่ใช้กำลัง และเป็นกิจกรรมที่ไม่มีความเสี่ยงต่อการนำไปสู่ความขัดแย้งหรือก่อให้เกิดความเดือดร้อนให้กับผู้อื่น และต้องไม่มีบุคคลภายนอกที่ไม่ใช่นักศึกษา นักเรียน และผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เข้าร่วมการชุมนุม กรณีเกิดการชำรุดเสียหายให้ผู้ทำการยื่นขอใช้พื้นที่เป็นผู้รับผิดชอบ
2. ไม่พาดพิงถึงสถานบันพระมหากษัตริย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม
3. ไม่เป็นการขัดขวางการใช้พื้นที่ของบุคคลอื่นเกินสมควร
4. ไม่ทำการบุกรุกหรือทำให้เสียหาย ทำลายทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
5. ให้ความร่วมมือแก่เจ้าหน้าที่ที่ดูแลการใช้พื้นที่จัดกิจกรรมชุมนุม
6. การแสดงออกของผู้ร่วมกิจกรรมการชุมนุม ต้องคำนึงถึงความเสี่ยงที่จะกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
7. การแสดงออกของผู้เข้าร่วมชุมนุมต้องอยู่ภายใต้กรอบกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทั้งนี้ การแสดงออกที่ขัดต่อกฎหมาย ถือเป็นความรับผิดชอบส่วนบุคคล
จากประกาศดังกล่าวทำให้ อ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเคยเป็นคณบดีนิติศาสตร์ กล่าวถึง ประเด็นเรื่องการห้ามพาดพิงสถาบันพระมหากษัตริย์ เอาไว้ว่า…