ทำความรู้จัก โรค "SLE" โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือโรคพุ่มพวง เช็ค 14 อาการบ่งชี้จากภูมิคุ้มกันผิดปกติ พร้อมแนะวิธีดูแลตัวเอง
ข่าวที่น่าสนใจ
โรค “SLE” (Systemic Lupus Erythematosus) คืออะไร
- เป็นโรคที่ก่อให้เกิดการอักเสบของอวัยวะทั่วร่างกาย และอวัยวะที่เกิดการอักเสบจะได้รับความเสียหาย
- ผู้ป่วยแต่ละคนอาจมีการอักเสบในแต่ละอวัยวะแตกต่างและมีอาการแสดงแตกต่างกัน แต่มักเกิดการอักเสบของหลายอวัยวะร่วมกัน
- เป็นโรคที่พบได้ไม่บ่อย และมีอัตราการเสียชีวิตตํ่า พบเพียงร้อยละ 0.1 (0.014 – 0.122) หรือคิดเป็นจํานวนผู้ป่วยในประเทศไทยราว 50,000 – 700,000 คน
- ส่วนใหญ่มักพบในเพศหญิงช่วงอายุราว 20 – 40 ปี
- ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่แน่ชัด แต่อาจเกี่ยวข้องกับ
- พันธุกรรม
- แสงแดด
- การติดเชื้อไวรัส
- การติดเชื้อแบคทีเรีย
- การได้วัคซีน
- การได้รับยาหรือสารเคมีบางชนิด
14 อาการที่พบได้บ่อยในผู้ป่วย
- มักจะมีอาการไข้ตํ่า
- ปวดข้อ ปวดเมื่อย
- เหนื่อยง่าย
- อ่อนเพลีย
- เบื่ออาหาร
- นํ้าหนักลด
- ผมร่วง
- มีผื่นที่หน้า ที่แก้ม คล้ายปีกผีเสื้อ
- ผื่นตามตัว แขน ขา
- ผื่นแพ้แสง
- แผลในปาก
- บวม
- ซีด
- มีจ้ำเลือดหรือจุดแดงคล้ายยุงกัดตามแขนขา
มักมีอาการมาก่อนเป็นสัปดาห์หรือหลายสัปดาห์
การตรวจวินิจฉัยโรค
- แพทย์จะทำการวินิจฉัยอาการดังกล่าวของผู้ป่วยร่วมกับการตรวจเลือดเพื่อหาอวัยวะที่มีการอักเสบ
- การตรวจปัสสาวะ และการตรวจทางภูมิคุ้มกัน (ANA , anti-dsDNA , anti Sm) โดยใช้เกณฑ์การวินิจฉัยจากสมาคมแพทย์โรคข้อของสหรัฐอเมริกาและยุโรป
- ผู้ป่วยโรค “SLE” จะต้องทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด โดยการใช้ยา ประกอบด้วย
- ยาต้านมาลาเรีย ร่วมกับยาสเตียรอยด์
- ยากดภูมิอื่น ๆ ซึ่งขนาดและวิธีการให้ยาจะขึ้นกับความรุนแรงของโรค
วิธีดูแลตัวเอง
- การดูแลความสะอาด
- รับประทานอาหารที่สะอาด
- ระวังการติดเชื้อโรค
- รับประทานยาให้ตรง
- ห้ามหยุดยาเอง
- หลีกเลี่ยงยาสมุนไพรหรือยาชุด อาหารเสริมนอกระบบ
- หลีกเลี่ยงแสงแดด
- ลดหรือหลีกเลี่ยงความเครียด
- การคุมกําเนิด หากจะตั้งครรภ์ควรปรึกษาแพทย์ที่ดูแล
สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการปวดท้อง
- อาจเกิดจากโรคกระเพาะอาหารอักเสบ
- กระเพาะอาหารเป็นแผล
- ลําไส้อักเสบ
- ไส้ติ่งอักเสบ เหมือนบุคคลทั่วไป
- แต่โรคนี้อาจมีการอักเสบของอวัยวะในช่องท้องหรือในระบบทางเดินอาหารเองได้
ทั้งนี้ การอักเสบของอวัยวะในช่องท้องหรือในระบบทางเดินอาหารจากโรค เป็นภาวะที่พบได้ค่อนข้างน้อย แต่มีความรีบด่วน
การวินิจฉัยและการรักษา
ประกอบด้วยเยื่อบุช่องท้องอักเสบ หลอดเลือดแดงในระบบทางเดินอาหารและลำไส้อักเสบ ตับอ่อนอักเสบ ซึ่งผู้ป่วยจะมาด้วยอาการ
- ปวดท้อง
- ท้องอืด
- คลื่นไส้
- อาเจียน
- อาจจะมีอาการถ่ายเหลว
- อาการปวดท้องมักเป็นค่อนข้างรุนแรงและมักจะมีอาการเป็นวันหรือหลายวัน
- การตรวจท้องจะพบท้องอืด กดเจ็บทั่วท้อง ลำไส้ทำงานลดลง
การวินิจฉัย
- จะอาศัยการตรวจเลือดประเมินการอักเสบ ประเมินค่าตับ ค่าการทำงานของไต
- ประเมินแร่ธาตุในเลือด และตรวจหาค่าเอนไซน์ amylase หรือ lipase เพื่อประเมินภาวะตับอ่อนอักสบ
- การส่งตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) ทางช่องท้องจะช่วยในการวินิจฉัย ตับอ่อนอักเสบซึ่งจะพบตับอ่อนบวมโต และหลอดเลือดลำไส้อักเสบซึ่งจะพบลักษณะจำเพาะคือพบลำไส้บวมหนา มีลักษณะคล้ายโดนัท
การรักษา
- การให้สารน้ำทางหลอดเลือด
- การให้ยาสเตียรอด์ขนาดสูง สำหรับภาวะหลอดเลือดลำไส้อักเสบ
ถ้าให้การรักษาล่าช้าอาจทำให้ลำไส้เน่าตายและเสียชีวิตได้ นอกจากภาวะหลอดเลือดแดงอักเสบแล้ว พบว่าลำไส้เน่าตาย อาจเกิดจากภาวะหลอดเลือดแดงอุดตันจากลิ่มเลือด เนื่องจากมีภูมิคุ้มกันกระตุ้นให้เลือดแข็งตัวง่ายกว่าปกติ ซึ่งเป็นภาวะที่พบได้น้อยกว่า
ผู้ป่วยมักไม่มีอาการอักเสบในระบบอื่น การวินิจฉัยโดยใช้เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ร่วมกับการฉีดสีจะพบจุดอุดตัน การรักษาจะใช้ยาละลายลิ่มเลือด อาการอื่น ๆ ที่พบได้น้อยมาก คือ มีภาวะหลอดเลือดแดงใหญ่อักเสบและมีการปริแตกที่ผนังหลอดเลือด ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องค่อนข้างรุนแรง และถ้ามีผนังหลอดเลือดแดงแตกมักเสียชีวิตค่อนข้างรวดเร็ว การวินิจฉัยค่อนข้างยากและการรักษาต้องอาศัยการผ่าตัดซ่อมแซมอย่างเร่งด่วนร่วมกับการให้ยาสเตียรอยด์ขนาดสูง
ข้อมูล : กรมการแพทย์
Apple Back to School โปรปังรับเปิดเทอม ลดสูงสุด 30%
Banana IT : ลดไม่ต้องรอโปรราคานักศึกษา สินค้า Apple และอุปกรณ์เสริม ลดสูงสุด 5,000.- สินค้าใหม่ ราคาดี ไม่ติดสัญญา ใครๆ ก็ได้ราคานี้ : คลิกที่นี่
ข่าวที่เกี่ยวข้อง