ดราม่าสุดๆ “ธาริต” ขนญาติแดงนปช. แถลงบีบน้ำตา ขอความเป็นธรรมศาลฎีกา โอ่ทำหน้าที่รักษากม. แต่โดนข้อหาแกล้งใส่ร้าย “อภิสิทธิ์-สุเทพ”

ดราม่าสุดๆ "ธาริต" ขนญาติแดงนปช. แถลงบีบน้ำตา ขอความเป็นธรรมศาลฎีกา โอ่ทำหน้าที่รักษากม. แต่โดนข้อหาแกล้งใส่ร้าย "อภิสิทธิ์-สุเทพ"

วันที่ 8 ก.ค. 66 นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อดีตอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษหรือ DSI พร้อมด้วยญาติผู้เสียชีวิต 99 ศพในเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช.ปี 2553 ร่วมแถลงเรียกร้องความยุติธรรม โดยก่อนการแถลงนายธาริต เปิดเผยว่า สาเหตุที่ออกมาแถลงในวันนี้ เพราะทราบว่าเวลาของตัวเองเหลือน้อย มีแนวโน้มว่าตัวเองจะเข้าไปอยู่ในเรือนจำ โดยมาเล่าเรื่องราวที่อยู่ในการรับรู้ของตนเอง ไม่เคยบอกเล่าต่อสาธารณชน เท่าที่ได้ยินมาจากหูตนเองว่าหากทำคดี 99 ศพ จะมีการปฏิวัติ ก็เกิดการปฎิวัติขึ้นจริงและย้ายอดีตอธิบดีดีเอสไอ ถึง 2 คน

นายธาริต ยอมรับว่าได้ขอเลื่อนฟังคำพิพากษาหลายครั้งจริงจากเหตุผล 4 กรณีคือการส่งหมายศาลไม่ถึงภูมิลำเนาของผู้เสียหาย เหตุผลจากสุขภาพเป็นโควิด 2 ครั้ง เส้นโลหิตตีบ ผ่าตัดไตทั้งสองข้าง , มีญาติผู้เสียหายขอเข้าเป็นคู่ความหลายครั้ง และล่าสุดเมื่อวานนี้ (7 ก.ค.66)ได้ยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และ 200 ในการปฏิบัติกรณีการชุมนุม และส่งให้ศาลฎีกาดำเนินการ ไม่ได้หลบเลี่ยงไม่ไปฟังพิพากษา ทั้งนี้ยังมีความกังวลในการอ่านคำพิพากษาที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 10 ก.ค.อีก 2 วัน ซึ่งตนประสงค์ขอศาลฎีกาคืนความเป็นธรรมให้ผู้เสียชีวิต 99 คน และตนในฐานะผู้ปฏิบัติตามกฎหมาย แต่ก็ไม่มั่นใจว่าศาลฎีกาจะส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่

 

นายธาริต ระบุ พร้อมติดคุก ยืนยันเป็นข้าราชการธรรมดา หากจะติดคุกเหมือนคดีโรงพักร้าง ก็จำเป็นต้องเคารพคำวินิจฉัย แต่ไม่อาจทำใจยอมรับใจ ซึ่งการชี้แจงวันนี้เป็นการใช้สิทธิครั้งสุดท้ายให้สาธารณชนได้เข้าใจเหตุการชุมนุม โดยก่อนหน้านี้ตนไม่เคยเปิดเผยหรือให้ข้อมูลต่อศาลโดยอ้างว่าประเทศและสถานการณ์การเมืองไม่เป็นปกติมาตลอด 9 ปี

ทั้งนี้มองว่าการตาย 99 ศพปี 53 เป็นสาเหตุของการปฏิวัติปี 57 มีการดำเนินคดี 3 คดีกับแกนนำคดีก่อการร้าย โดยส่วนตัวเห็นว่ากระบวนการยุติธรรมไม่ปกติ อัยการสูงสุดได้ฟ้องตามที่ดีเอสไอ ระบุว่ามีคนถูกดำเนินคดีในฐานะผู้ออกคำสั่งศอฉ. แต่ทั้ง 3 ศาลกลับไม่ได้พิจารณาเนื้อหานี้ แต่ไปพิจารณาในประเด็นการปฏิบัติหน้าที่ให้ส่งกลับมาทำการไต่สวนที่ ป.ป.ช. ยอมรับว่าเป็นข้อกังวล หลังศาลอุทธรณ์กลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้น อีกทั้งยังพบว่าประธานศาลฎีกา คนปัจจุบัน เคยร่วมชุมนุมกับ กปปส. จึงคาดการณ์ว่า คำวินิจฉัยนายสุเทพ อภิสิทธิ์น่าจะไม่มีความผิด และญาติผู้เสียชีวิตยุติการได้รับความช่วยเหลือ แม้จะเหลืออีก 2 วันก่อนศาลจะตัดสินคดี

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

นายธาริต กล่าวเพิ่มเติมว่านายทหารชั้นผู้ใหญ่และเกี่ยวข้องกับการปฏิวัติได้เรียกรถเข้าไปพบได้ขอให้ตนอย่าส่งฟ้องคดี 99 ศพ ไม่เช่นนั้นจะทำการปฏิวัติ และพวกตนจะถูกย้าย ตนยืนยันว่าจะต้องทำ เพราะศาลสั่งว่า เหตุการณ์เสียชีวิตเกิดจากการทำหน้าที่ของทหาร และหลังปฏิวัติไม่ถึง 24 ชม. พบว่า ตนและนายอรรถพล ใหญ่สว่าง ที่ดำเนินคดี 99 ศพ ถูกย้ายทันที

ทั้งนี้ นายธาริต ยืนยันว่าพร้อมติดคุก คิดว่าไม่สูญเปล่า แต่เป็นจุดแตกหักในการเกิดความยุติธรรม และให้กำลังใจข้าราชการยุคใหม่อย่างย่อท้อในการแสวงหาความยุติธรรม ส่วนกรณีที่ตนเองกลับคำสารภาพโดยมีเงื่อนไขในคำร้อง ว่าขอให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความข้อกฎหมายจะรับสารภาพ เพราะมั่นใจว่ามาตรา 157 และมาตรา 200 ในต่างประเทศไม่มีความชัดเจนแน่นอนเป็นหน้าตาที่มีลักษณะอย่างกระทบสิทธิ จนท.รัฐอย่างไม่เป็นธรรมเชื่อว่าเมื่อการเมืองที่เปลี่ยนตนจะได้รับความยุติธรรม พร้อมเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีคนใหม่ แต่งตั้งคณะกรรมการอิสระที่เป็น senior super boad แก้ไขข้อผิดพลาดคืนความยุติธรรมให้กับผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บ

ส่วนการยื่นศาล รธน.นั้นจะเป็นการประวิงเวลาคดีหรือไม่ นายธาริต เห็นว่าสถานการณ์ในช่วงนี้ถือว่าดีที่สุดที่จะต่อสู้เรียกร้องความยุติธรรมและเพื่อเป็นการแสวงหาความยุติธรรมให้กับญาติและผู้บาดเจ็บ

 

 

นายธาริต ยอมรับว่ามีความคาดหวังเรื่องกฎหมายนิรโทษกรรมในรัฐบาลชุดใหม่ เพราะมองว่าจะเกิดความสมานฉันท์ทั้งกลุ่มผู้ชุมนุมสีเหลืองและสีแดงที่ผ่านมาขออย่ามองว่าใครจะได้ประโยชน์มากกว่ากัน พร้อมกันนี้นายธาริตยืนยันว่าตนไม่ใช่คู่ขัดแย้งนายอภิสิทธิ์และนายสุเทพเป็นการส่วนตัวแต่เป็นการปกป้องสิทธิ์ในฐานะเจ้าหน้าที่รัฐเท่านั้นและไม่เกี่ยวข้องกับการที่นายอภิสิทธิ์จะถูกเสนอชื่อกลับมาเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์แต่อย่างใด

นายธาริต กล่าวว่า ตนไม่รู้สึกเครียดในการที่จะไปรับฟังคำพิพากษาของศาลในวันที่ 10 กรกฎาคมนี้ ได้เตรียมของใช้ส่วนตัวและยารักษาโรคเพราะเคยมีประสบการณ์ถูกจำคุกมาแล้ว

 

 

 

 

โดยก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 5 มี.ค. 63 ศาลอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกฯ ซึ่งเป็นอดีตผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) เป็นโจทก์ ฟ้องนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อดีตอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ), พ.ต.ท.วรรณพงษ์ คชรักษ์ ในฐานะอดีตหัวหน้าชุดคดีการเสียชีวิตของประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐจากเหตุรุนแรงทางการเมืองปี 53, พ.ต.ต.ยุทธนา แพรดำ และ ร.ต.อ.ปิยะ รักสกุล ในฐานะพนักงานสอบสวน เป็นจำเลยที่ 1-4 ในความผิดฐานร่วมกันเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต และเป็นเจ้าพนักงานสอบสวนกระทำการโดยมีเจตนากลั่นแกล้งให้ผู้อื่นได้รับโทษอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157, 200

คำฟ้องระบุว่า กรณีเมื่อเดือน ก.ค.54 – 13 ธ.ค. 55 ดีเอสไอ ได้สรุปสำนวนดำเนินคดีนายอภิสิทธิ์และนายสุเทพ ข้อหาก่อให้ผู้อื่นฆ่าและพยายามฆ่าโดยเจตนาและเล็งเห็นผล จากการออกคำสั่ง ศอฉ. ใช้กำลังเจ้าหน้าที่กระชับพื้นที่การชุมนุมกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เมื่อปี 53 ที่ชุมนุมเพื่อขับไล่นายอภิสิทธิ์ออกจากตำแหน่งนายกฯ ซึ่งโจทก์เห็นว่าการแจ้งข้อหาบิดเบือนจากข้อเท็จจริง โดย นปช.ก่อความไม่สงบ ก่อการร้าย โจทก์ได้มอบนโยบายชัดเจนว่าให้สลายการชุมนุมโดยหลีกเลี่ยงความสูญเสีย เพื่อระงับความเสียหายของบ้านเมือง โจทก์ไม่ต้องรับผิด เมื่อการชุมนุมยุติลง ดีเอสไอสอบสวนดำเนินคดีแกนนำและชายชุดดำข้อหาก่อการร้ายด้วย ต่อมานายธาริต จำเลยที่ 1 ยอมตกเป็นเครื่องมือของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย จำเลยทั้งสี่ร่วมกันแจ้งข้อหาสั่งฆ่าประชาชน กลั่นแกล้งโจทก์สนองความต้องการของรัฐบาล โดยดีเอสไอไม่มีอำนาจ เพราะโจทก์เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ต้องเป็นการวินิจฉัยของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาเมื่อวันที่ 25 ก.ย.61 ยกฟ้องจำเลยทั้งสี่

ศาลอุทธรณ์ตรวจสำนวนประชุมปรึกษาหารือเเล้วเห็นว่า ก่อนหน้าที่จะมีความเห็นควรเเจ้งข้อหาโจทก์ที่ 1-2 ในความผิดฐานฆ่าเล็งเห็นผลจากเหตุการสลายการชุมนุมปี 53 จำเลยทั้ง 4 เคยมีความเห็นว่าการชุมนุม นปช.เป็นความผิดกฎหมายจึงเเจ้งข้อหาก่อการร้าย แสดงว่าจำเลยที่ 1-4 เห็นว่าโจทก์ที่ 1-2 กระทำไปตามหน้าที่ เเม้ภายหลังการไต่สวนการตายของ นายพัน คำกอง ศาลอาญาจะชี้ว่ากระสุนมาจากฝั่งทหาร เเต่ไม่ได้ระบุว่าการกระทำโจทก์ทั้ง 2 เป็นความผิด จากการพิจารณาพฤติการณ์ประกอบกัน ฟังได้ว่าการที่จำเลยทั้ง 4 มีความเห็นต่างจากเดิม เชื่อว่าเป็นการกลั่นเเกล้งโจทก์ทั้งสองเพื่อเอาใจรัฐบาลเพื่อมีผลในการต่ออายุตำเเหน่งอธิบดีดีเอสไอ การที่จำเลยทั้ง 4 สืบสวนสอบสวนโจทก์ทั้ง 2 พร้อมเเจ้งข้อหาฆ่าคนตายโดยเล็งเห็นผลทั้งที่เป็นอำนาจ ป.ป.ช.การกระทำจึงเป็นความผิดตามฟ้อง

“ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทั้ง 4 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 เเละมาตรา 200 วรรค 2 การกระทำเป็นความผิดกรรมเดียวผิดกฎหมายหลักบทให้ลงโทษบทหนักสุดตามมาตรา 200 วรรค 2 จำคุกคนละ 3 ปี เเต่คำเบิกความเป็นประโยชน์ลดโทษ 1ใน 3 คงจำคุกจำเลยคนละ 2 ปี

ทั้งนี้ จำเลยทั้ง 4 อยู่ระหว่างการดำเนินการยื่นคำร้องและหลักทรัพย์ขอปล่อยตัวชั่วคราว

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น