รู้จัก Mizoram 1 ใน 13 “ตุ๊กแกบิน” สายพันธุ์ใหม่ในป่าของอินเดีย

ตุ๊กแกบิน, Gekko Mizoramensis, Mizoram, Salamandra, สัตว์เลื้อยคลาน, Ptychozoon lionotum

รู้จักสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ใหม่ "ตุ๊กแกบิน" Gekko Mizoramensis เจ้าของรูปลักษณ์แปลกตา ผิวหนัง-เท้าเป็นพังผืด ใช้คุมทิศทางเหมือนร่มชูชีพ

TOP News ชวนสำรวจโลก รู้จัก สิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ใหม่ “ตุ๊กแกบิน” Gekko Mizoramensis 1 ใน 13 สายพันธุ์ตุ๊ก แกบินได้ พบในป่าทางตอนเหนือของอินเดีย ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

นักวิจัยจาก Mizoram University และ Max Planck Institute for Biology Tubingen ค้นพบ “ตุ๊กแกบิน” สายพันธุ์ใหม่ในป่าทางตอนเหนือของอินเดีย ตีพิมพ์ในวารสาร Salamandra ฉบับล่าสุดของเยอรมนี เผยว่า ตุ๊กแกชนิดนี้

มีชื่อเต็ม ๆ ว่า Gekko Mizoramensis หรือ Mizoram (มิโซรัม) ตามชื่อรัฐที่ค้นพบในอินเดีย จุดเด่นของสายพันธุ์นี้อยู่ที่รูปลักษณ์ภายนอกที่มีผิวหนังและเท้าเป็นพังผืดร่วมกัน ทำให้สามารถควบคุมทิศทางระหว่างต้นไม้ได้

 

ตุ๊กแกบิน, Gekko Mizoramensis, Mizoram, Salamandra, สัตว์เลื้อยคลาน, Ptychozoon lionotum

 

โดยพังผืดเหล่านั้นจะสามารถต้านอากาศจะดันให้กางปีกออกเหมือนร่มชูชีพ นอกจากจะใช้ในการเคลื่อนที่ในอากาศแล้ว ลวดลายยังสามารถพรางตัวจากผู้ล่าได้อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม จริง ๆ แล้ว ตุ๊กแกชนิดนี้ เคยถูกพบในเมียนมาร์มาแล้วตั้งแต่ 20 ปีก่อน แต่ตอนนั้นนักวิจัยจัดให้อยู่ในสปีชีส์ที่มีชื่อว่า Ptychozoon lionotum เมื่อศึกษาให้ละเอียดมากขึ้น จึงพบให้เข้าใจว่าที่ผ่านมาเข้าใจผิดมาตลอด

 

ตุ๊กแกบิน, Gekko Mizoramensis, Mizoram, Salamandra, สัตว์เลื้อยคลาน, Ptychozoon lionotum

เพราะทั้ง 2 สายพันธุ์มีความแตกต่างทาง DNA มากถึง 21% ทำให้ Mizoram จัดเป็นสปีชีส์ใหม่นั่นเอง ส่วนลักษณะนิสัยของตุ๊กแกสายพันธุ์นี้ ก็เหมือนกับชนิดอื่น ๆ อาศัยอยู่ตามต้นไม้ หากินในเวลากลางคืน

โดย Zeeshan Mirza นักศึกษาระดับ ป.เอก ผู้ร่วมศึกษาตุ๊กแก Mizoram เผยว่า ที่ผ่านมางานวิจัยส่วนใหญ่มักเน้นไปที่สัตว์จำพวกนกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม แตกต่างจากสัตว์เลื้อยคลาน

 

ตุ๊กแกบิน, Gekko Mizoramensis, Mizoram, Salamandra, สัตว์เลื้อยคลาน, Ptychozoon lionotum

 

ซึ่งการสำรวจในครั้งนี้ ทำให้นักวิจัยพบสัตว์เลื้อยคลานสายพันธุ์ใหม่ ๆ รวมถึงงูพิษของซัลลาซาร์ (ตั้งชื่อตามตัวละครจากแฮร์รี่ พอตเตอร์) เชื่อว่าในอนาคตจะได้พบสัตว์เลื้อยคลานสายพันธุ์ใหม่ในแถบนี้มากขึ้น

ข้อมูล : hindustantimes

รูปภาพ : Lal Muansanga


Apple Back to School โปรปังรับเปิดเทอม ลดสูงสุด 30%

Banana IT : ลดไม่ต้องรอโปรราคานักศึกษา สินค้า Apple และอุปกรณ์เสริม ลดสูงสุด 5,000.- สินค้าใหม่ ราคาดี ไม่ติดสัญญา ใครๆ ก็ได้ราคานี้ : คลิกที่นี่

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ตร.เพชรบูรณ์ พบศพแรงงานชาวเมียนมา ถูกมีดเชือดคอ ถลกหนังหน้า หูหาย 1 ข้าง เร่งสอบล่าตัวมือฆ่า
เจอตัวแล้ว ผู้ต้องสงสัยโพสต์ขู่กราดยิงห้างขอนแก่น คุมสอบปากคำเข้ม เจ้าตัวยังปฏิเสธข้อกล่าวหา
สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์วัดหนองบอนนับ 100 ราย ยื่นหนังสือร้องผู้ว่าฯตราด
พุทธศาสนิกชนชาวอยุธยา สืบสานประเพณีตักบาตรเทโว วัดใหญ่ชัยมงคล
การรถไฟฯ ชวนร่วมเดินทางขบวนรถจักรไอน้ำประวัติศาสตร์ เที่ยวชมกรุงเก่า “อยุธยา” เนื่องในวันปิยมหาราช เริ่มจำหน่ายตั๋วพร้อมกันทั่วประเทศ 19 ต.ค. 67 นี้
ประมงสงขลา ประมงจันทบุรี และประมงเพชรบุรี พบปลาหมอคางดำแหล่งน้ำธรรมชาติหนาแน่นลดลง เดินหน้าเฝ้าระวังและกำจัดต่อเนื่อง เน้นขอความร่วมมือช่วยจัดการในบ่อร้าง
"บิ๊กเต่า" เผยเช็กมือถือ "บอสพอล" พบคลิปรีดไถ "นักร้อง-นักการเมือง" เพียบ จ่อเรียกสอบปากคำ
“ภูมิ​ธรรม​-​อนุทิน”​ ประสานเสียง ไม่หวั่น​กกต. รับคำร้อง​ยุบเพื่อไทย​ปม​ 6 พรรคร่วม ให้“ทักษิณ”ครอบงำ
เปิดตัวสุดปัง! Chester’s Flagship Store @Siam ชูคอนเซ็ปต์ 'Good Food Good Mood' เพิ่มสีสันให้แลนด์มาร์กคนรุ่นใหม่
รอลุ้น “ธีรภัทร” เผยพร้อมย้ายช้าง “พลายดอกแก้ว” พรุ่งนี้ หลังผลตรวจเลือดออก

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น