“อ.ชูชาติ” แจงข้อกม.ชื่อ “พิธา” โผล่สำนักพิมพ์ ลุ้นซ้ำรอย “ธนาธร” หรือไม่

"อ.ชูชาติ" แจงข้อกม.ชื่อ "พิธา" โผล่สำนักพิมพ์ ลุ้นซ้ำรอย "ธนาธร" หรือไม่

 

9 กรกฎาคม 2566 อ.ชูชาติ ศรีแสง อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก “Chuchart Srisaeng” ระบุว่า นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ เปิดเผยว่า หลังจากที่ส่งหนังสือขอให้ กกต. ตรวจสอบหนังสือ 4 เล่ม ของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ว่าสมาชิกภาพสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของนายพิธาสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 101(6) ประกอบมาตรา 98(3) หรือไม่ ไปแล้วนั้น

 

 

 

 

…..ปรากฏว่า มีหลายคนหลายฝ่ายแสดงความคิดเห็นผ่านทางโลกออนไลน์ไปต่าง ๆ นานา ซึ่งน่าจะมาจากความไม่มีความรู้ แต่อยากแสดงความเห็น จนอาจทำให้เนื้อหาในคำร้องถูกบิดเบือนไปจากข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย

…..ดังนั้น เพื่อให้คำร้องมีความชัดเจนขึ้น จึงได้ทำหนังสือขอให้ข้อมูลเพิ่มเติมต่อ กกต. ดังต่อไปนี้

 

ข้อ 1. พระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. 2550 บัญญัติไว้บางส่วนดังนี้
มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้

“หนังสือพิมพ์” หมายความว่า สิ่งพิมพ์ซึ่งมีชื่อจ่าหน้าเช่นเดียวกัน และออกหรือเจตนาจะออกตามลำดับเรื่อยไป มีกำหนดระยะเวลาหรือไม่ก็ตาม มีข้อความต่อเนื่องกันหรือไม่ก็ตาม ทั้งนี้ ให้หมายความรวมถึงนิตยสาร วารสาร สิ่งพิมพ์ที่เรียกชื่ออย่างอื่นทํานองเดียวกัน
“ผู้พิมพ์” หมายความว่า บุคคลซึ่งจัดการและรับผิดชอบในการพิมพ์
“เจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์” หมายความว่า บุคคลซึ่งเป็นเจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์”

ข่าวที่น่าสนใจ

ข้อ 2. พระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. 2550 ศาลรัฐธรรมนูญเคยนำมาใช้วินิจฉัยลักษณะต้องห้ามของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามความในรัฐธรรมนูญ มาตรา 98 (3) ด้วย เช่น คำวินิจฉัยที่ 14/2562 เป็นต้น

ข้อ 3. หนังสือทั้ง 4 เล่ม ของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ จึงอยู่ในความหมายของคำว่า “หนังสือพิมพ์” ซึ่งหมายความรวมถึงนิตยสาร วารสาร สิ่งพิมพ์ที่เรียกชื่ออย่างอื่นทํานองเดียวกัน

 

ข้อ 4. ดังนั้น การที่นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นผู้เขียนด้วยตัวเองหรือร่วมกับผู้เขียนอื่น รวมทั้งเป็นสำนักพิมพ์ด้วยนั้น ย่อมจะทำให้ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เข้าข่ายเป็น “เจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์” ตามความในพระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. 2550 มาตรา 4

 

 

 

ข้อ 5. ทั้งนี้ ได้แนบสำเนาเอกสารการสืบค้นข้อมูลจากหอสมุดแห่งชาติ เกี่ยวกับหนังสือของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ มาประกอบการตรวจสอบเพิ่มเติม ด้วยแล้ว

 

กรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยสั่งให้ยุบพรรคอนาคตใหม่ อันเนื่องมาจากเหตุที่นายธนาธร รุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคให้พรรคอนาคตใหม่กู้ยืมเงิน 191,200,000 บาท สาธารณชนทราบเพราะนายธนาธรไปพูดที่สโมสรผู้ข่าวต่างประเทศ หลังจากนั้นสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ได้ยื่นคำร้องต่อ กกต. และ กกต.ไต่สวนแล้วยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ พรรคอนาคตใหม่จึงถูกยุบเพราะการเปิดเผยของนายธนาธรเอง

 

 

 

กรณีของนายพิธาที่นายเรืองไกรไปร้องต่อ กกต. ในเรื่องนี้ถ้าหากกกต. ส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญและศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า สมาชิกภาพสภาผู้แทนราษฎรของนายพิธาสิ้นสุดลง ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 101(6) เพราะเป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตามมาตรา 98 (3) คือเป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใด ๆ

นายพิธาและผู้สนับสนุนนายพิธาก็ยอมรับว่า เหตุเกิดเพราะนายพิธาเปิดเผยชื่อหนังสือที่ตนเขียนและพิมพ์ที่โรงพิมพ์ของตนเองไปในบัญชีรายการทรัพย์สินที่ยื่นต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ทั้ง ๆ ไม่มีความจำเป็นต้องแจ้งรายละเอียดดังกล่าวเลย

ประวัติศาสตร์จะซ้ำรอยหรือไม่ ?

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น