ภาวะเครียดจัด “ซึมเศร้า” บอกได้จากกลิ่นเหงื่อ แม่นยำถึง 90%

ซึมเศร้า, ภาวะ โรค ซึม เศร้า, ปัญหา สุขภาพ จิต, ความเครียด, สารเคมี, กลิ่นเหงื่อ, สภาวะทางจิต

ล้ำหน้านักวิจัยจุฬาฯ พบสารเคมีในกลิ่นเหงื่อบ่งชี้ภาวะเครียดจัด-"ซึมเศร้า" คัดกรองสุขภาพจิตสำเร็จครั้งแรก ผลลัพธ์แม่นยำถึง 90%

ล้ำหน้าไปอีกขั้น ทีมนักวิจัยคณะแพทยฯ จุฬาฯ พบสารเคมีในกลิ่นเหงื่อบ่งชี้ภาวะเครียดจัดและ “ซึมเศร้า” ภาวะ โรค ซึม เศร้า ปัญหา สุขภาพ จิต นำร่องศึกษานักผจญเพลิงสำเร็จครั้งแรก ผลทดสอบแม่นยำถึง 90% เดินหน้าตรวจคัดกรองสุขภาพจิตในกลุ่มอาชีพเครียดจัดและเสี่ยงสูงอื่น ๆ หวังลดปัญหาสุขภาพจิตและความรุนแรงในสังคม ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

ความสำคัญของการพบสารเคมีความเครียดจากกลิ่นเหงื่อ

  • ที่ผ่านมา เราได้ยินข่าวผู้ก่อเหตุความรุนแรงคลั่งกราดยิงผู้คน โดยไม่มีเหตุความขัดแย้งรุนแรงมาก่อน หลายรายเป็นบุคคลที่มีอาชีพที่ต้องดูแลความปลอดภัยให้กับคนในสังคม
  • ในรายงานข่าวยังเผยด้วยว่ามูลเหตุของการก่อเหตุความรุนแรงมาจากภาวะความเครียดจากการทำงานและปัญหาสุขภาพจิตที่สะสมมายาวนาน
  • สอดคล้องกับสถิติล่าสุดจากกรมสุขภาพจิต ที่ระบุว่า คนไทยราว 1.5 ล้านคนมีปัญหาสุขภาพจิตและแนวโน้มดูจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

โดย 49.36% หรือครึ่งหนึ่งในจำนวนดังกล่าวมีภาวะเครียดและ “ซึมเศร้า” อันเกิดมาจากการทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

  • กลุ่มผู้มีอาชีพเสี่ยงสูง
  • ต้องรับผิดชอบความปลอดภัยของสาธารณะ
  • หรือต้องตัดสินใจภายใต้แรงกดดันและความเร่งด่วน เช่น ตำรวจ ทหาร นักผจญเพลิง ฯลฯ

 

ซึมเศร้า, ภาวะ โรค ซึม เศร้า, ปัญหา สุขภาพ จิต, ความเครียด, สารเคมี, กลิ่นเหงื่อ, สภาวะทางจิต

 

ปกติผู้ที่มีอาชีพที่ต้องรับผิดชอบต่อความปลอดภัยของสาธารณะจะได้รับการตรวจสุขภาพกายและจิตประจำปีอยู่แล้ว แต่การตรวจสุขภาพจิตปีละครั้งนั้นไม่น่าจะเพียงพอ เพราะ บางรายอาจมีอาการเครียดหรือซึม เศร้าระหว่างปี และการที่ทุกคนจะเข้าถึงและพบจิตแพทย์ก็ยาก เนื่องจาก ข้อจำกัดด้านจำนวนบุคลากรด้านจิตเวชในประเทศไทย

นอกจากนี้ แนวทางการตรวจคัดกรองและวินิจฉัยด้วยการสัมภาษณ์ยังขึ้นกับดุลยพินิจของจิตแพทย์และนักจิตวิทยา ทำให้ผลการวินิจฉัยอาจแตกต่างกันและไม่อาจสรุปได้อย่างแม่นยำ แพทย์หญิงภัทราวลัย ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวถึงข้อจำกัดในการดูแลสุขภาพจิตในกลุ่มผู้มีอาชีพเสี่ยงสูง

 

ซึมเศร้า, ภาวะ โรค ซึม เศร้า, ปัญหา สุขภาพ จิต, ความเครียด, สารเคมี, กลิ่นเหงื่อ, สภาวะทางจิต

 

เราจึงพยายามหาวิธีหรือนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ตอบโจทย์และมีประสิทธิภาพสูง ราคาไม่แพง เพื่อใช้ในการคัดกรองสภาวะทางจิตก่อนพบจิตแพทย์ ซึ่งเราพบว่าวิธีการตรวจหาสารเคมีจากกลิ่นเหงื่อเป็นวิธีที่น่าสนใจศึกษา เพราะเป็นวิธีที่ไม่จำเป็นต้องเจาะเลือดให้เจ็บตัว และสามารถวัดผลจากสิ่งที่จับต้องได้จริง ๆ มีความคลาดเคลื่อนน้อย”

นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นของโครงการความร่วมมือระหว่างภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ และภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ในการวิจัยหาสารเคมีความเครียดจากกลิ่นเหงื่อในกลุ่มอาชีพนักผจญเพลิงทั่วกรุงเทพมหานคร ภายใต้การสนับสนุนทุนวิจัยจากแพทยสภาและได้รับการสนับสนุนเครื่องมือจากบริษัทซายน์ สเปค จำกัด โดยมี ดร.ณัฐนี ตั้งกิจอนันต์สิน เป็นผู้ทำการทดลองวิเคราะห์สารเคมีในเหงื่อ

 

ซึมเศร้า, ภาวะ โรค ซึม เศร้า, ปัญหา สุขภาพ จิต, ความเครียด, สารเคมี, กลิ่นเหงื่อ, สภาวะทางจิต

 

กลิ่นเหงื่อเผยภาวะเครียด- “ซึมเศร้า”

  • ผศ.ดร.ชฎิล กล่าวว่าโครงการวิจัยนี้เป็นครั้งแรกที่มีการตรวจพบกลุ่มสารเคมีความเครียด (แบบระเหยง่าย) ในเหงื่อของคนกลุ่มใหญ่ที่ประกอบอาชีพเดียวกัน
  • และเป็นความเครียดสะสมที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติจากการทำงานและในชีวิตประจำวันจริง ๆ ไม่ได้เป็นความเครียดที่เกิดจากการควบคุมหรือจำลองสถานการณ์ขึ้นเหมือนการศึกษาอื่น ๆ ที่ผ่านมา

โดยหลักการ ผู้ที่เป็นโรคเดียวกันมักจะมีสารเคมีหรือกลุ่มสารเคมีที่เหมือนกันกันอยู่ คล้ายกันกับกรณีนี้ หากตรวจพบว่าใครที่มีสารเคมีกลุ่มนี้ในปริมาณที่เกินเกณฑ์หรือต่ำกว่าเกณฑ์ ทั้งหมดก็น่าจะสามารถระบุได้ว่าคน ๆ นั้นมีความเครียดสูงหรืออาจเป็นซึมเศร้าได้ โดยความแม่นยำในการระบุผลจากกลุ่มตัวอย่างที่ผ่านมาอยู่ที่ประมาณ 90%

วิธีการตรวจคัดกรองภาวะเครียดจัดและซึม เศร้าจากเหงื่อเป็นวิธีที่สะดวก รวดเร็ว สามารถตรวจได้ครั้งละหลาย ๆ คน และใช้เวลาไม่นาน

  • ผศ.ดร.ชฎิล อธิบายขั้นตอนการเก็บตัวอย่างเหงื่อว่า เราใช้ก้านสำลีที่สะอาดผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว 2 ก้าน เหน็บใต้รักแร้ซ้าย-ขวา ทิ้งไว้ 10-15 นาที แล้วนำก้านสำลีที่มีเหงื่อไปใส่ในขวดปลอดเชื้อที่มีฝาปิด
  • จากนั้น ส่งตัวอย่างมาห้องแล็บเพื่อตรวจด้วยเครื่องวิเคราะห์กลิ่นสารเคมี โดยฉีดอากาศในขวดเข้าไปในเครื่อง แล้วรอเครื่องวิเคราะห์ผลประมาณ 10-20 นาที ซึ่งผลจะแสดงออกมาในลักษณะบาร์โค้ดของสารเคมีในแต่ละตัวอย่าง

ซึมเศร้า, ภาวะ โรค ซึม เศร้า, ปัญหา สุขภาพ จิต, ความเครียด, สารเคมี, กลิ่นเหงื่อ, สภาวะทางจิต

ตรวจจับความเครียดก่อนเกิดปัญหา เข้ากระบวนการบำบัดทันท่วงที

  • โครงการศึกษาวิจัยกลุ่มนักผจญเพลิง 1,084 คนในกรุงเทพมหานครระหว่างกุมภาพันธ์ 2565 – ธันวาคม 2565 ผลการตรวจพบแนวโน้มสุขภาพจิต ว่ามีปัญหาความเครียด และการนอนหลับจำนวนมาก

พญ.ภัทราวลัย กล่าวว่า กลุ่มนักผจญเพลิงที่อยู่ในเกณฑ์มีความเสี่ยงปานกลาง-รุนแรงจะเข้าสู่กระบวนการยืนยันผลโดยอาจารย์จิตแพทย์อีกครั้ง โดยในโครงการวิจัยนี้ได้รับเกียรติจาก Professor Dr. Michael Maes, MD, Ph.D. และ อ.ดร.นายแพทย์ ชาวิท ตันวีระชัยสกุล จากภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เป็นที่ปรึกษาโครงการเพื่อตรวจวินิจฉัยยืนยันผลการศึกษารอบสุดท้าย

ผู้เข้าร่วมโครงการจะทราบผลตรวจของตัวเอง ซึ่งในรายที่มีความเครียดสูง ก็สามารถพบจิตแพทย์ของ รพ.จุฬาฯ ได้เลย โดยผลตรวจและข้อมูลการพบแพทย์ทุกอย่างจะถูกเก็บเป็นความลับ ทีมวิจัยจะไม่เปิดเผยข้อมูลหรือแจ้งผู้บังคับบัญชาเพื่อพิทักษ์จิตใจของคนที่ตรวจว่าอาจจะกระทบกับงาน นอกจากนี้ ทางทีมวิจัยจะได้สะท้อนผลโดยภาพรวมให้ผู้บริหารของหน่วยงานนั้น ๆ ทราบด้วยว่าพนักงานในหน่วยงานมีความเครียดจัดกี่ % เพื่อที่ว่าหน่วยงานจะได้ออกนโยบายหรือหาวิธีดำเนินการเพื่อลดความเครียดของพนักงานด้วย  

ซึมเศร้า, ภาวะ โรค ซึม เศร้า, ปัญหา สุขภาพ จิต, ความเครียด, สารเคมี, กลิ่นเหงื่อ, สภาวะทางจิต

 

พร้อมต่อยอดคัดกรองสุขภาพจิตกลุ่มอาชีพเครียดจัด

  • นักผจญเพลิงที่เข้าร่วมวิจัยในโครงการนี้กล่าวพ้องกันว่าโครงการนี้ดีและเป็นประโยชน์ ทำให้พวกเขาเข้าถึงการตรวจคัดกรองสุขภาพจิตและทราบสภาวะจิตใจของตัวเอง
  • บางคนให้ความเห็นว่าการตรวจสุขภาพจิตแบบที่พวกเขาเคยทำเป็นแบบทดสอบทางจิตวิทยาที่ดูรูปภาพและเขียนตอบตามความเข้าใจ ซึ่งเมื่อพวกเขาทำบ่อย ๆ ซ้ำ ๆ ก็จำได้ว่าควรต้องตอบอะไร หรือบางทีพวกเขาก็เข้าไปดูเฉลยในอินเทอร์เน็ต

แบบนี้ ผลทดสอบก็จะคลาดเคลื่อน ไม่สะท้อนความจริง ในขณะที่การวัดด้วยสารเคมีได้ผลเที่ยงตรงและแม่นยำกว่า

  • ถึงแม้การตรวจเหงื่อจะมีความคลาดเคลื่อนน้อยกว่า แต่ พญ.ภัทราวลัย ก็ย้ำว่าการตรวจวินิจฉัยสุขภาพจิตโดยบุคคลากรทางการแพทย์ก็ยังเป็นเรื่องจำเป็น

 

ซึมเศร้า, ภาวะ โรค ซึม เศร้า, ปัญหา สุขภาพ จิต, ความเครียด, สารเคมี, กลิ่นเหงื่อ, สภาวะทางจิต

 

จากความสำเร็จในการวิจัยกับกลุ่มนักผจญเพลิง ทีมวิจัยมีแผนที่จะขยายการตรวจคัดกรองกับกลุ่มพยาบาลทั่วประเทศ เบื้องต้นได้มีการเริ่มเก็บตัวอย่างเหงื่อจากโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยแล้ว โดยงานวิจัยนี้ ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)

ต่อไปเราจะขยายการตรวจคัดกรองความเครียดไปในกลุ่มอาชีพอื่น ๆ ที่ต้องทำงานภายใต้ความกดดันสูง มีความเสี่ยงต่อปัญหาภาวะสุขภาพจิต เพื่อเพิ่มการเข้าถึงการตรวจคัดกรองสุขภาพจิตให้รวดเร็ว ซึ่งจะทำให้ผู้ที่มีภาวะเครียดจัดหรืออาจมีอาการซึม เศร้า ได้รับการดูแลบำบัดทันท่วงที ผศ.ดร. ชฎิล กล่าวทิ้งท้าย

ข้อมูล : chula


Apple Back to School โปรปังรับเปิดเทอม ลดสูงสุด 30%

Banana IT : ลดไม่ต้องรอโปรราคานักศึกษา สินค้า Apple และอุปกรณ์เสริม ลดสูงสุด 5,000.- สินค้าใหม่ ราคาดี ไม่ติดสัญญา ใครๆ ก็ได้ราคานี้ : คลิกที่นี่

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ใส่ชุดนักโทษแล้ว ย้อนฟัง “พ่อบอสมิน” พูดเป็นลาง-อย่าใช้ชีวิตประมาท
ตุลาคมนี้!! ห้ามพลาด… ทริปสุดคุ้ม ชวนเที่ยวสไตล์แอดเวนเจอร์ กับขบวน KIHA 183 เติมเต็มความสุขอย่างที่เคย
"ไพบูลย์" ชง "บิ๊กป้อม "ออกคำสั่ง "สามารถ" พ้นรองโฆษกพปชร.มีผลวันนี้
ตร.ปคบ.คุมตัว "บอสพอล" ดิ ไอคอน ฝากขังศาลอาญา พร้อมคัดค้านประกันตัว
อย่าลืมคนนี้! “เคลวิน” แฟนบอสมิน เป็นแค่พรีเซ็นเตอร์ หรือขึ้นแท่นบอส
โจ๋ยกพวกถล่มผิดคน หนุ่มไรเดอร์ถูกยิงดับ ย่านรามอินทรา จนท.เร่งตามตัวดำเนินคดีตามกม.
แชร์สนั่นโซเชียล! จวกยับนักท่องเที่ยวต่างชาติ โยนขยะลงทะเลพัทยา
"ดร.อานนท์" เล่าเบื้องหลังตร.ทำคดี "ดิ ไอคอน" หลังได้เข้าไปช่วย "กองปราบ" วิเคราะห์รูปคดี
'ว.วชิรเมธี' เตือน 'หนุ่ม กรรชัย' อย่าทำตัวเป็นศาลเตี้ย ปล่อยให้คนใส่ร้ายป้ายสี โซเชียลเมนต์เพียบ ก่อนลบโพสต์ทิ้ง
อุตุฯ เตือน ฝนฟ้าคะนอง 31 จว.อ่วม ฝนถล่ม เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน กทม.เจอฝน 70%

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น