ตลก.ศาลปกครอง แถลงยกฟ้องรฟม.ออกทีโออาร์กีดกัน BTS ประมูลรถไฟฟ้าสีส้ม

ศาลปกครองกลางนัดอ่านคำพิพากษา 25 ก.ค.นี้ คดีบมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ ฟ้องคณะกรรมการคัดเลือกฯ ม. 36 และรฟม. ปมแก้ทีโออาร์ กีดกันการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) หลังพิจารณาคดีนัดแรก ตุลาการผู้แถลงคดี มีความเห็นศาลฯควรยกฟ้อง

 

วันนี้ (11 ก.ค.66) ศาลปกครองกลาง นัดนั่งพิจารณาคดีครั้งแรก ในคดีที่ผู้ฟ้องคดีบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ยื่นฟ้องคณะกรรมการคัดเลือก ตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) และ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) /กรณีการออกประกาศเชิญชวนการร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2565 (ครั้งที่ 2) /และออกเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน โดยเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติและหลักเกณฑ์คัดเลือกเอกชนให้แตกต่างจากหลักเกณฑ์เดิม ตามประกาศเชิญชวนฯ ฉบับเดือนกรกฎาคม 2563 ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ที่ชอบด้วยกฎหมายและมติคณะรัฐมนตรีแล้ว อันมีลักษณะเป็นการกีดกันการแข่งขันอย่างเป็นธรรม จึงนำคดีมาฟ้อง โดยตุลาการผู้แถลงคดีได้ใช้ระยะเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง

 

 

 

ตุลาการผู้แถลงคดี ได้แถลงสรุปโดยมีความเห็นว่า การออกประกาศเชิญชวนการร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2565 (ครั้งที่ 2) และออกเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน โดยเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติและหลักเกณฑ์คัดเลือกเอกชนให้แตกต่างจากหลักเกณฑ์เดิม ตามประกาศเชิญชวนฯ ฉบับเดือนกรกฎาคม 2563 เป็นการดำเนินการที่ชอบด้วยกฎหมาย และไม่ใช่การกระทำที่ละเมิดจึงไม่ต้องชดเชยค่าเสียหาย พร้อมมีความเห็นว่า ศาลควรพิพากษายกฟ้อง

 

โดยให้เหตุผลว่า คณะกรรมการคัดเลือกฯ มีอำนาจยกเลิกการคัดเลือกเอกชนตามประกาศคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน และพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539

ข่าวที่น่าสนใจ

 

สำหรับกรณีที่รฟม. ออกประกาศเชิญชวนร่วมลงทุนฯ รฟม.ไม่ได้มีการดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมายตามที่ บีทีเอสซี ยื่นฟ้องหรือไม่ ตุลาการผู้เแถลงคดีได้ให้ความคิดเห็นว่า หลัง รฟม. ได้ออกประกาศยกเลิกประกาศเชิญชวนเอกชนร่วมลงทุนลงวันที่ 3 กรกฎาคม 2563 พร้อมคืนซองเอกสารให้เอกชนทุกราย ก่อนที่ต่อมาทางด้านของคณะกรรมการ ม.36 และ รฟม. เปิดรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชน ในการจัดทำเอกสารร่างประกาศเชิญชวนเอกชนร่วมลงทุนอีก ซึ่งปรากฏหลักฐานตามเอกสารลงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2565 และ 9 มีนาคม 2565 ตามขั้นตอน ซึ่งมีบริษัทเอกชนได้เข้าร่วม 28 ราย เป็นบริษัททั้งในและต่างประเทศ และทางด้านของบีทีเอส ก็ได้เข้าร่วมและไม่ได้มีข้อโต้แย้งใด ทางด้าน รฟม. จึงได้จัดทำสรุปความคิดเห็นนำไปพิจารณาจัดทำร่างประกาศเชิญชวนคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนเสนอต่อ คณะกรรมการม.36 ได้พิจารณาตามอำนาจหน้าที่ และได้เห็นชอบจึงมีการประกาศเชิญชวนเอกชนร่วมลงทุนในวันที่ 24 พฤษภาคม 2564

ขณะเดียวกัน การดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม คณะรัฐมนตรี(ครม.) ได้มีมติให้ดำเนินการตามนโยบายของ คณะกรรมการม.36 ซึ่งการอนุมัติของครม. เป็นการอนุมัติหลักการเท่านั้น ส่วนร่างประกาศเชิญชวนต่างๆ เป็นรายละเอียด ที่ คณะกรรมการ ม.36 และรฟม. ต้องดำเนินการตามหน้าที่ระเบียบ หลักเกณฑ์

 

 

อีกทั้งทางด้านเลขาครม. ได้มีการตอบกลับไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ระบุว่า การดำเนินการเมื่อมีการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ จึงไม่ต้องเสนอครม. เพื่อพิจารณาตามที่บีทีเอส ได้กล่าวอ้าง และก่อนที่จะประกาศเชิญชวนรฟม. ทำถูกต้องตามรูปแบบที่เป็นสาระสำคัญถูกต้องตามกฎหมาย ข้ออ้างนี้จึงไม่อาจฟังได้

 

ส่วนกรณีที่มีการวินิจฉัยการกำหนดหลักเกณฑ์เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2565 เป็นไปด้วยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ตุลาการผู้แถลงคดี มีความเห็นว่า เลขาครม. ได้แจ้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมตามที่ขออนุมัติมีมติอนุมัติการดำเนินโครงการดังกล่าวตามข้อเสนอ

 

 

ทั้งนี้ในการดำเนินการทุกขั้นตอนให้กระทรวงคมนาคม สำนักงบประมาณ ดำเนินการให้ถูกต้องตามระเบียบอย่างเคร่งครัดโดยกระทรวงคมนาคมทำหนังสือหารือในการดำเนินการตามมติครม. ถือเป็นการอนุมัติหลักเกณฑ์ตามการดำเนินการเท่านั้น ส่วนรายละเอียดให้หน่วยงานไปพิจารณาซึ่งมติครม. มีผลผูกพันเฉพาะหลักการยกเว้นจะมีมติเฉพาะระบุไว้

 

จากข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นพิจารณาเห็นได้ว่า ประกาศเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2563 ได้ถูกยกเลิกตามที่คณะกรรมการ ม.36 ดังนั้น หลักการของประกาศไม่ว่าจะเป็นในเรื่องข้อเสนอทางเทคนิค ข้อเสนอซองที่ 2 ( เรื่องโยธา) ประกาศไม่ว่าจะข้อเสนอเทคนิคตามที่บีทีเอสอ้าง ต้องถูกยกเลิกตามคณะกรรมการม.36 และเราพร้อมหากทั้งสองจะประกาศยกเลิก ทั้งสองจะต้องทำให้เป็นไปตามระเบียบมติครม. อย่างเคร่งครัดและไม่ต้องเสนอครม. ดังนั้น ในการออกประกาศเชิญชวนจึงไม่ผูกพันกับประกาศเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2563 ไม่ว่าจะด้านใดก็ตาม

 

ส่วนกรณีกีดกันการเข้าร่วม โดยเฉพาะด้านเทคนิค ในข้อเสนอที่สอง จึงเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนของบีทีเอสเอง ดังที่กล่าวอ้าง รฟม. ได้ออกหลักเกณฑ์รายละเอียดให้แตกต่างจากครั้งแรกทำให้บีทีเอสและพันธมิตรไม่มีคุณสมบัติตามประกาศ และเป็นข้ออ้างไม่ใช่เหตุให้ศาลวินิจฉัยอีก

 

ทั้งนี้ตุลาการองค์คณะ จะกลับไปประชุมเพื่อทำผลคำพิพากษาและนัดอ่านผลคำพิพากษาของคดีอีกครั้ง ในวันที่ 25 ก.ค. 2565 ในเวลา 13.30 น. ณ ห้องพิจารณาคดีที่ 11

 

ขณะที่ทางด้านทนายความ ของบีทีเอสซี ไม่ได้ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชน โดยระบุสั้นๆ ว่า ว่า จะนำข้อมูลที่ได้วันนี้ (11 ก.ค.66) กลับไปประชุมหารือร่วมกันอีกครั้งว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป ก่อนที่ศาลปกครองกลางนัดอ่านคำพิพากษาคดีฯ วันที่ 25 ก.ค.นี้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

แม่ค้าขนมครกโอดยอมกัดฟันสู้ หลังราคาน้ำกะทิขึ้นเป็นกิโลกรัมละ 100 บาทแต่ยันขายขนมครกราคาเดิมกลัวลูกค้าหด
"นายกฯ" เผย ครม.อนุมัติ 2.5 พันล้าน ฟื้นฟูเกษตรกร หลังน้ำลด
หนุ่มขับรถกระบะไปส่งหมู หลับในขับรถพุ่งชนฟุตบาท พลิกคว่ำตีลังกาชนเสาไฟ ดับคารถพร้อมเพื่อนต่างด้าวที่นั่งมาด้วยกันเสียชีวิต 2 ศพ
ครม.ตั้ง “บิ๊กรอย” นั่งที่ปรึกษาภูมิธรรม “คารม-ศศิกานต์” เป็นรองโฆษกรบ.
พบแล้ว "สุสานหรู" ถูก "ซินแส" ใช้ลวงเหยื่อ ซื้อที่ดินต่อดวงชะตาชีวิต ก่อนสูญเงินกว่า 30 ล้านบาท
"นายกฯ" ลั่นไม่แทรกแซง หลังป.ป.ช.ขอเวชระเบียน "ทักษิณ"
ตร.แจ้งเอาผิด "พี่เลี้ยง"ทำร้ายเด็ก 5 ขวบ อ้างสั่งสอนเพราะดื้อ
เคาะวันแล้ว กกต. เปิดแผนงานเลือกตั้งนายก-สมาชิกอบจ.
"เคนโด้" นำ "กลุ่มผู้เสียหาย" ค้านประกันตัว "แม่ตั๊ก-ป๋าเบียร์" หวั่นคุกคามเหยื่อ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น