1.8 หมื่นคน HI ทิพย์ รพ.สิชล วัดใจ สปสช.จะกล้าจ่ายเงินหรือไม่?

TOPNEWS ลุยตรวจสอบต่อเนื่อง ผู้ป่วยโควิด HI ทิพย์ 18,920 คน เข้าระบบกับรพ.สิชล จะโทรศัพท์สอบถามอาการอย่างไรไหว คนละ 5 นาที ถ้าโทร 1 วัน ต้องใช้เจ้าหน้าที่โทรถึง 198 คน ทำงาน 8 ชม.ต่อเนื่อง แบบนี้ผิดเงื่อนไขแน่นอน 3 ผู้ป่วยร้องTOPNEWS ถูกเท วัดใจ สปสช.จะกล้าเอาเงินภาษีมาจ่ายให้ รพ.สิชล หรือไม่

หลังจากที่ สำนักข่าว TOP NEWS เปิดโปงข้อมูล ความไม่ชอบมาพากล จากกรณีที่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช. ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการจ่ายเงินให้กับสถานบริการที่รับตรวจคัดกรองโควิด และรับดูแลในระบบ Home Isolation หรือ HI หลังจากที่ประชาชน ลงทะเบียนไว้กับ สปสช. แล้วนั้น

เบื้องต้น จะมีค่าตรวจแบบ ATK จำนวน 450 บาท/เคส และ หน่วยพยาบาลที่รับดูแล HI วันละ 1,000 บาท 14 วัน รวม 14,000 บาท และจะมีค่าอุปกรณ์ปรอทวัดไข้ เครื่องวัดออกซิเจน และยาพื้นฐานที่จำเป็นอีก 1,100 บาท รวม 15,550 บาท ต่อผู้ป่วยโควิด ที่เข้าระบบ HI

และจากข้อมูลที่พบโรงพยาบาลที่ขึ้นทะเบียนกับ สปสช. หนึ่งนั้นคือ รพ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช รับผู้ป่วย HI 18,920 คน เป็นสถานพยาบาล ที่รับผู้ป่วยสูงที่สุดของประเทศไทย เมื่อเรานำตัวเลขที่ สปสช. ต้องจ่าย 15,550 บาท ต่อ 1 เคสผู้ป่วย จำนวนเงินกว่า 294,206,000 บาท

 

 

คำถามคือ สปสช. ได้จ่ายเงินจำนวนนี้หรือไม่ หรือจ่ายจริง จ่ายไปเท่าไหร่ ล้วนเป็นประเด็นที่สังคมอยากรู้ ขณะที่ คำถามที่หลายคนสงสัย คือ รพ.สิชล ที่มี นพ.อารักษ์ วงศ์วรชาติ เป็นผู้อำนวยการ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลทั่วไป ขนาดเล็ก (M1) อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ กว่า 700 กิโลเมตร ข้อมูลเมื่อปี 2561 มีบุคลากร แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ทั่วไป รวมถึง รปภ. ประมาณ 435 คน ซึ่งต้องรอรับรักษาประชาชน ในพื้นที่อำเภอสิชล ที่มีประชากรทั้งเด็ก จนถึงผู้สูงอายุ จำนวน 9 หมื่นคนเศษ ซึ่งก็แทบจะ ตึงมืออยู่แล้ว รับผู้ป่วยไป 18,920 คน ต้องส่งอาหารวันละ 3 มื้อ และเจ้าหน้าที่ ต้องโทรสอบถาม วันละครั้งเป็นอย่างต่ำ แล้วศักยภาพของโรงพยาบาลขนาดเล็ก อย่าง รพ.สิชล มีเจ้าหน้าที่ 435 คน ต้องคุยกับคนจำนวน 18,920 คน ถ้าต้องคุย คนละ 5 นาที ใน 8 ชั่วโมงต่อวัน รพ.สิชล จะต้องใช้บุคลากรในการโทรจำนวน 198 คน

 

ซึ่งข้อเท็จจริง มีชาวบ้านที่ร้องเรียน มายัง สำนักข่าวท็อปนิวส์ ว่า ได้ลงทะเบียน HI ไว้กับ สปสช. แต่ถูกส่งต่อให้กับ รพ.สิชล ดูแล แต่แล้วก็ถูกทิ้งขว้าง ไม่มีแพทย์โทรคุยสอบถามอาการ ไม่มีอาหาร 3 มื้อ หรืออะไรอื่นใด ตามที่ สปสช. แจ้งไว้ เลย อาทิ กรณีของ

1. ผู้ป่วยหญิง รายหนึ่ง อายุ 67 ปี บอกกับผู้สื่อข่าวว่า ตนติดโควิด จึงโทรไปที่ 1330 สายด่วน สปสช. เพื่อลงทะเบียนรักษาที่บ้าน ต่อมามีข้อความของ รพ.สิชล ส่งมาให้ลงทะเบียนเข้ารับการรักษา ตอนนั้น สงสัย ตนมีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ แต่ทำไม ชื่อถึงไปอยู่ที่ รพ. ในภาคใต้ แต่หลานชาย อยากให้รับการรักษาโดยเร็วที่สุด จึงได้ลงทะเบียนไป จากนั้น ก็มีข้อความจาก รพ. ให้ตอบแบบสอบถามประเมินอาการ แต่ก็ไม่เคยมีแพทย์ติดต่อมาอีกเลย ไม่มีการจัดชุดยา เครื่องวัดสัญญาณชีพ หรือ ส่งอาหารให้แม้แต่วันเดียว

2. หญิง อายุ 50 ปี เล่าว่า ขณะที่ติดเชื้อ เธออาการทรุด จึงเข้ารักษาที่ รพ.เอกชนแห่งหนึ่ง จนดีขึ้น ขณะกลับมากักตัวดูอาการที่บ้าน ก็มีข้อความส่งมาทางโทรศัพท์ ระบุว่าเธอได้สิทธิ์ เข้ารับการรักษา ในระบบ HI ที่ รพ.สิชล แต่ไม่ได้ตอบรับ และสงสัยทำไมจึงมีชื่อไปรักษาที่ รพ.ต่างจังหวัด ทั้งที่ ตัวเธอ อยู่ กทม. จากนั้น ก็มีทีมแพทย์ รพ.สิชล โทรมาสอบถามอาการ จึงถามกลับไปว่า ทำไมถึงเพิ่งโทรมาหา เพราะเธอรักษาจนหายกลับบ้านแล้ว และสงสัยด้วยว่า ทำไม สปสช. ถึงไม่ตัดชื่อเธอออกจากการรักษา ในระบบ HI

3. อีกรายหนึ่ง หญิงข้าราชการและสามี ติดโควิด โทรไปที่ สปสช. เพื่อเข้าระบบ HI เช่นกัน ต่อมาก็ได้รับข้อความจาก รพ.สิชล ว่าจะเป็นผู้ดูแล ตนก็ไม่เข้าใจว่า ทำไม รพ.ที่ดูแลถึงอยู่ไกลจาก กทม. และรพ.สิชล ก็ไม่เคยโทรมาสอบถามอาการ ไม่เคย Video Call ไม่เคยได้รับเครื่องมือตรวจวัดสัญญาณชีพ หรือ อะไรต่าง ๆ ต้องรักษาด้วยตัวเองจนหาย สุดท้าย ได้โทรไปร้องเรียนที่ 1330 จนในที่สุด รพ. ก็โทรมา คาดว่า เป็นเพราะเธอโทรไปร้องเรียนนั่นเอง

นี่…คือความจริงที่เกิดขึ้น ถ้า สปสช. ได้จ่ายเงินไปแล้ว หรือไม่ตรงตามความเป็นจริง จะเข้าข่ายการกระทำที่ผิดกฎหมายหรือไม่ เพราะ สปสช. ในงบประมาณจากเงินกู้ฉุกเฉิน ซึ่งก็คือ เงินของภาษีประชาชน

แต่ถึงอย่างไรก็ดี นพ.จเด็ด ธรรมธัชอารี เลขาธิ สปสช. ก็ยอมรับว่า เกิดปัญหาลักษณะนี้ขึ้นจริง ซึ่งก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้มีการตรวจสอบทุกข้อร้องเรียน

และสำหรับประเด็นที่กำลังมีคนสนใจ อย่าง รพ.สิชล มารับดูแลคนไข้ในกรุงเทพฯ จำนวน 18,920 คนนั้น จะได้รับเงินค่าตอบแทนต่อหัว ตามที่ สปสช. กำหนดนั้น ขอยืนยันว่า สปสช. มีมาตรฐานการตรวจสอบกับผู้ป่วยทุกคน โดยขณะนี้ มีคอลเซ็นเตอร์ กว่า 300 คู่สาย และจะทำการตรวจสอบกับผู้ป่วยทุกคนว่า ได้รับการบริการตามที่กำหนดหรือไม่ หากคนไข้ร้องเรียน หรือแจ้งว่า ไม่ได้รับบริการการจะมาเบิกรายหัวเต็มจำนวน ก็คงทำไม่ได้ ทุกอย่างจึงเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ฉาว "ชาวบ้าน" ยันเห็น "หลวงตา" ล็อคห้องอยู่กับสีกา สองต่อสอง อ้างชวนไปนับขวด ก่อนเผ่นหนีไปอยู่อีกวัด
5 วิลล่าที่ดีที่สุด บนเกาะสมุย สำหรับการพักผ่อนสุดหรู
ผุดไอเดีย สุดเจ๋ง ติดตั้งนวัตกรรมประดิษฐ์รั้วไฟฟ้าแรงต่ำ 12 โวลท์ ป้องกันภัยช้างป่า
ปราบปราม เด็กแว้นอันธพาลครองเมือง
จบด้วยดี!! ปัญหาเงินทอดกฐินกว่า 1 ล้านบาท ”วัดหนองนกเมืองคอน” จบชื่นมื่น
พบเด็กแฝดตาสีฟ้า แม่ยอมรับรู้สึกท้อ ลูกถูกล้อเลียน ซ้ำมิจฉาชีพนำรูปไปแอบอ้างเปิดรับบริจาค
"ทนายเดชา" เชื่อ "ทนายตั้ม" พร้อมสู้คดี เคยพูดคุยมีหลักฐานแชทสนทนา
ททท.โคราช ชวนสัมผัส “เทศกาลเที่ยวพิมาย 2567” ตื่นตาตื่นใจการแสดงแสง สี เสียงเทคนิคพิเศษสุดตระการตา
“ออยศรี” เข้าให้ข้อมูลคดีของทนายตั้ม เจ้าตัวเชื่อ “เจ๊อ้อย” ไม่ได้ให้เงินด้วยความเสน่หา
กล้าล้วงคองูเห่า!! แก๊งมิจฉาชีพอ้างชื่อผู้การฯเมืองคอนโทรหลอกนักข่าวใหญ่ขอความช่วยเหลือยืมเงิน 36,000 บาท

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น