“7 โรคจิตเวช” ที่พบบ่อย เช็คลิสต์ 7 สัญญาณเตือนที่ควรปรึกษาแพทย์

7 โรคจิตเวช

เช็คด่วน ๆ "7 โรคจิตเวช" ที่พบบ่อย อย่ามองข้าม 7 สัญญาณเตือน อาการป่วยทางจิต ให้สงสัยเลยว่าพฤติกรรมที่เป็นอาจไม่ใช่แค่อารมณ์แปรปรวน ควรปรึกษาแพทย์

TOP News ห่วงใยชวนเช็ค “7 โรคจิตเวช” ที่พบบ่อย อย่ามองข้าม 7 สัญญาณเตือน ป่วยทางจิต หากมีอาการ 1 ใน 7 ข้อนี้ หรือมีหลายอาการร่วมกัน ให้สงสัยเลยว่าพฤติกรรมที่เป็นอาจไม่ใช่แค่อารมณ์แปรปรวน ควรปรึกษาแพทย์ ด่วน

ข่าวที่น่าสนใจ

7 โรคจิตเวช

มีหลากหลายสาเหตุที่ส่งผลให้คนเราป่วยทางใจ และอาจมีผลกับทางกายด้วย อาทิ บางรายต้องพบกับความเสียใจหนัก ๆ เพิ่งผ่านการสูญเสียคนใกล้ชิด เครียดกับงานที่หาทางออกไม่ได้ ได้รับแรงกดดันสะสมจากความสัมพันธ์ที่ไม่เป็นอย่างที่คาดหวัง ไม่ว่าจะเพิ่งเริ่มมีอาการ หรือเป็นมานานแล้ว เราจะรู้ได้อย่างไรว่าอาการที่เป็นอยู่ เข้าข่ายกลายเป็นโรคทางจิตเวชหรือไม่

7 เช็คลิสต์สัญญาณของโรคทางจิตเวช

  • นอนไม่หลับ หรือนอนมากเกินไป หรือมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งติดต่อกันนานเกินสองสัปดาห์ หรือเป็นเดือนจนกระทบกับการใช้ชีวิต
  • อยากแยกตัว เก็บตัวอยู่คนเดียว อยู่ ๆ ก็ไม่อยากทำสิ่งที่เคยชอบทำ ไม่อยากออกไปใช้ชีวิตตามปกติ รวมถึงไม่ใส่ใจดูแลตัวเอง ไม่อยากทำแม้กระทั่งอาบน้ำ แปรงฟัน หรือแต่งตัว เกิดความรู้สึกไม่มีความสุขกับการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นในครอบครัว ในที่ทำงาน หรือแม้แต่ในโลก
  • มีอาการเจ็บป่วยทางกายแบบหาสาเหตุไม่ได้ เช่น
  1. ปวดหลัง ปวดหัวแบบไม่มีสาเหตุ
  2. ปวดท้อง ท้องอืด หรือเป็นโรคกระเพาะอาหารแบบเฉียบพลัน
  3. ร่างกายซูบผอม อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
  4. หัวใจเต้นเร็วขึ้น แน่นหน้าอก หายใจลำบาก
  5. หน้ามืด วิงเวียนศีรษะ
  • เบื่ออาหาร ไม่อยากกินอะไรเลยจนน้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว ซูบผอม หรือกินมากเกินปกติแบบต่อเนื่องจนน้ำหนักขึ้นอย่างรวดเร็ว และควบคุมพฤติกรรมการกินของตนเองไม่ได้
  • อยู่ ๆ ก็ไม่มีสมาธิ ไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งที่ต้องทำได้ตามปกติ ความสามารถในการคิดอ่านลดลง ตัดสินใจในเรื่องธรรมดา ๆ ก็ยังทำไม่ได้
  • มีพฤติกรรมหุนหันพลันแล่น มั่นใจในตัวเองมากเกินปกติ มีอารมณ์คึกครื้น ไม่อยากนอน มีพลังงานสูงมากเกินปกติ พูดเร็ว ทำเร็ว รวมถึงใช้จ่ายเงินฟุ่มเฟือย ใช้จ่ายเงินแบบไม่คิด
  • มีอารมณ์ซึมเศร้า และคิดว่าตนเองไร้ค่า สะเทือนใจง่าย ร้องไห้บ่อย คิดว่าตนเองเป็นภาระ ท้อแท้ตำหนิตัวเอง หมดความสนใจในสิ่งที่ชอบ มองเห็นแต่ข้อผิดพลาดของตัวเอง รู้สึกสิ้นหวัง หรืออาจมีความคิดไม่อยากมีชีวิต

7 โรคจิตเวช

แล้ว “7 โรคจิตเวช” ที่พบบ่อย มีอะไรบ้าง

โรคเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนใจ (Post-Traumatic Stress Disorder)

  • เป็นผลมาจากที่ผู้ป่วยผ่านเหตุการณ์เลวร้ายหรือรุนแรงที่ส่งผลกระทบต่อความรู้สึก ทำให้เกิดความกลัว และกลัวว่าจะเกิดขึ้นซ้ำจนมีอาการระแวง หวาดกลัว หรือตกใจง่าย หากปล่อยไว้อาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ ดังนั้น ควรรีบพบจิตแพทย์เพื่อรักษา

โรคกลัวแบบเฉพาะเจาะจง (Phobias)

  • อาการหวาดกลัวต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างรุนแรง หรือสถานการณ์บางอย่าง เช่น กลัวความสูง กลัวความมืด กลัวสัตว์บางชนิด กลัวเลือด ซึ่งอาการที่แสดงออกมาจะเป็นไปในทางหลีกเลี่ยง และหนีการพบเจอสิ่งนั้น ๆ อย่างทันทีทันใด ในรายที่รุนแรงอาจหวาดกลัวแม้เป็นเพียงการเอ่ยถึงหรือพบเจอสถานการณ์ที่ใกล้เคียงกัน

โรคจิตเภท (Schizophrenia)

  • ผู้ป่วยจะมีอาการหูแว่ว ประสาทหลอน โดยจะแสดงออกด้วยการพูดคนเดียว หัวเราะคนเดียว หลงผิดหรือหวาดระแวง หากมีอาการนานเกิน 6 เดือนแล้วไม่ได้รับการรักษา จะทำให้การรักษายากขึ้นและผลการรักษาไม่ดี เนื่องจากจิตเภทเป็นโรคเรื้อรัง ยิ่งรักษาช้าอาการจะยิ่งมากและรักษายากขึ้นเรื่อย ๆ

โรคแพนิก (Panic Disorder)

  • โรคตื่นตระหนกที่เกิดขึ้นจากระบบประสาทอัตโนมัติไวต่อสิ่งกระตุ้น จนเกิดอาการหายใจติดขัด หัวใจเต้นเร็ว เวียนศีรษะ จุกแน่น คล้ายจะเป็นลม หรือเหมือนกับจะถึงชีวิต ซึ่งการเกิดครั้งแรกมักจะอยู่ในสถานการณ์ที่มีเรื่องกดดันหรือถูกกระตุ้นให้ตื่นตัว และจะมีอาการอีกเรื่อย ๆ เมื่อเจอกับสถานการณ์เดิม ๆ โดยแต่ละครั้งจะมีอาการประมาณ 10 – 20 นาที และหายเป็นปกติ แต่หากมีอาการแพนิกเกิดขึ้นแล้วมีอาการอื่น ๆ ตามมา เช่น กังวลอยู่ตลอดเวลาว่าจะมีอาการแพนิกเกิดขึ้นอีก คุมตัวเองไม่ได้ หมกมุ่น พฤติกรรมเปลี่ยนอย่างชัดเจน ไม่กล้าไปไหนคนเดียว ควรรีบพบจิตแพทย์

โรคซึมเศร้า (Depression)

  • ผู้ป่วยจะมีอาการหดหู่ ท้อแท้ เบื่อหน่าย สะเทือนใจง่าย ร้องไห้บ่อย รู้สึกตัวเองไม่มีคุณค่าหรือเป็นภาระของผู้อื่น สมาธิแย่ลง หลงลืมง่าย เหม่อลอย นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร ปวดหัว บางรายอาจไม่รู้สึกเศร้า แต่จะเบื่อหน่ายทุกอย่างรอบตัวและไม่รู้จะอยู่ต่อไปเพื่ออะไร หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง มีความเสี่ยงต่อชีวิตสูง หากมีอาการดังกล่าวมากกว่า 2 สัปดาห์ ควรพบจิตแพทย์เพื่อประเมินอาการ

โรคสมองเสื่อม (Dementia)

  • ภาวะการทำงานของสมองแย่ลงจนส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน โดยจะไม่สามารถจดจำสิ่งที่เรียนรู้ใหม่ได้ หลงลืมง่าย หรือเล่าเรื่องในอดีตได้ แต่ไม่สามารถจำกิจกรรมที่เกิดขึ้นในแต่ละวันได้ พบมากในผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป มีทั้งแบบรักษาหายและไม่หายขาด โดยกลุ่มที่รักษาหายขาดได้ เช่น น้ำคั่งในโพรงสมอง เนื้องอก เลือดออกในสมอง โรคของต่อมไทรอยด์ ขาดวิตามินบี 12 ติดเชื้อซิฟิลิสในสมอง การเกิดภูมิคุ้มกันต่อตัวเอง หรือการใช้ยาบางชนิด นอกจากนี้ ในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าอาจมีอาการหลงลืมง่าย (Pseudodementia) ซึ่งสามารถหายได้เมื่อรักษาโรคซึมเศร้าหาย ส่วนในกลุ่มที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ โรคที่พบบ่อย คือ อัลซไฮเมอร์ หลอดเลือดสมองตีบ เป็นต้น

โรคไบโพลาร์ หรือ โรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar Disorder)

  • ความผิดปกติทางอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปมาระหว่าง ซึมเศร้า และ อารมณ์ดีเกินปกติ หรือ แมเนีย โดยในช่วงซึมเศร้าจะมีอาการหดหู่ ท้อแท้ สิ้นหวังเหมือนผู้ป่วยโรคซึมเศร้า เป็นแทบทุกวันและเป็นส่วนใหญ่ของวัน รวมถึงอาการจะคงอยู่นานหลายเดือนแล้วหายไปเหมือนคนปกติ ก่อนจะเข้าสู่ช่วงอารมณ์ดีเกินปกติ เช่น อารมณ์คึกคัก กระฉับกระเฉง อยากทำหลายอย่าง พลังงานเยอะ นอนน้อย ใจดี มนุษยสัมพันธ์ดี อารมณ์ดี แต่มีปัญหาในการควบคุมอารมณ์ เช่น อยากทำอะไรแล้วต้องได้ทำทันที หากมีคนขัดใจจะฉุนเฉียวมาก หงุดหงิดง่าย เป็นต้น

7 โรคจิตเวช

Samsung QN900C special price

  • Neo QLED 8K (QN900C) ราคาสุดพิเศษ ราคานี้ต้องรีบช้อป ช้อปเลย : คลิกที่นี่

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน
สถาปนาเขตพื้นที่คุ้มครองฯ ชาติพันธุ์ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น