“เบาหวาน” เสี่ยงเป็นปริทันต์ 4.2 เท่า กระตุ้นอีกโรครุนแรงกว่าเดิม

รู้หรือไม่ โรค "เบาหวาน" เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคปริทันต์อักเสบสูงถึง 4.2 เท่า ความรุนแรงของโรคหนึ่งส่งผลให้อีกโรครุนแรงตามไปด้วย

แพทย์เตือน โรค “เบาหวาน” แผล เบาหวาน ติด เชื้อ เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคปริทันต์อักเสบสูงถึง 4.2 เท่า กระตุ้นการทำลายและยับยั้งการซ่อมแซมของเนื้อเยื่อ เพิ่มความรุนแรงของโรค ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

นายแพทย์ไพโรจน์ สุรัตนวนิช รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวถึง โรค “เบาหวาน” กับโรคปริทันต์ มีความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องกัน โดยในร่างกายเราจะมีฮอร์โมนชื่อว่า อินซูลิน คอยทำหน้าที่จับน้ำตาลในกระแสเลือดไปเป็นพลังงานให้แก่เนื้อเยื่อต่าง ๆ ในร่างกาย ส่วนโรคปริทันต์อักเสบ สามารถกระตุ้นให้เกิดการอักเสบทั่วทั้งระบบ ซึ่งการอักเสบนั้นก็จะไปรบกวนขบวนการควบคุมระดับน้ำตาลดังกล่าว

ดังนั้น เมื่อผู้ป่วยเป็นโรคปริทันต์อักเสบรุนแรง จะมีผลให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการ ดื้ออินซูลินในคนปกติ และหากเป็นผู้ป่วยในกลุ่มของโรคเบา หวาน ก็จะส่งผลกระทบให้ผู้ป่วยควบคุมระดับน้ำตาลได้ยากขึ้น รวมถึงมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบา หวานได้มากขึ้นอีกด้วย

 

เบาหวาน, โรคเบาหวาน, แผล เบาหวาน ติด เชื้อ, โรคปริทันต์อักเสบ, อินซูลิน, น้ำตาลในเลือด, โรคเหงือก, โรครำมะนาด

 

ด้านทันตแพทย์หญิง ดร.สุมนา โพธิ์ศรีทอง ผู้อำนวยการสถาบันทันตกรรม กล่าวเพิ่มเติมว่า โรคเหงือกกับโรคเบา หวาน สัมพันธ์และมีผลต่อกัน เพราะ ในทางกลับกันภาวะน้ำตาลในเลือดสูงของผู้ป่วยเบา หวาน ก็ส่งผลต่อสภาวะโรคปริทันต์อักเสบได้เช่นกัน เนื่องจาก น้ำตาลในเลือดนั้น สามารถจับกับโปรตีนบางชนิดได้ถาวร ทำให้กระตุ้นการทำลายและยับยั้งการซ่อมแซมของเนื้อเยื่อ ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้โรคปริทันต์อักเสบมีความรุนแรงขึ้น

โดยผู้ป่วยที่เป็นโรคเบา หวานจะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคปริทันต์อักเสบถึง 4.2 เท่า หรืออาจกล่าวได้ว่า ความรุนแรงของโรคหนึ่งส่งผลให้อีกโรคหนึ่งรุนแรงตามไปด้วย ซึ่งควรใส่ใจดูแลสุขภาพร่างกายและสุขภาพช่องปากควบคู่กัน และเตรียมความพร้อมสำหรับการรักษาเป็นอย่างดี เพราะ สุขภาพช่องปากเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องใส่ใจดูแล และเป็นประตูนำไปสู่การมีสุขภาพร่างกายที่ดีด้วย

เบาหวาน, โรคเบาหวาน, แผล เบาหวาน ติด เชื้อ, โรคปริทันต์อักเสบ, อินซูลิน, น้ำตาลในเลือด, โรคเหงือก, โรครำมะนาด

โรคปริทันต์หรือโรครำมะนาด เกิดจากอะไร

  • เกิดจากเชื้อแบคทีเรียในคราบจุลินทรีย์ ผลิตสารทำลายเนื้อเยื่อและกระดูกที่รองรับฟัน
  • อีกทั้งแบคทีเรียเหล่านี้ยังก่อให้เกิดแผลในบริเวณพื้นผิวกว้างได้ถึง 5-20 ตารางเซนติเมตร
  • ซึ่งเป็นช่องทางให้แบคทีเรียและ สารอักเสบต่าง ๆ เข้าไปสู่กระแสเลือดได้ และอาจเป็นสาเหตุการกระตุ้นให้เกิดการอักเสบภายในร่างกาย
  • โดยการอักเสบเรื้อรังของโรคปริทันต์อักเสบ หรือโรคเหงือกนั้น อาจส่งผลกระทบต่ออวัยวะอื่น ๆ ในร่างกาย ซึ่งในทางกลับกันในโรค เช่น โรคเบา หวานก็สามารถส่งผลกระทบถึงสุขภาพช่องปากได้เช่นกัน

 

เบาหวาน, โรคเบาหวาน, แผล เบาหวาน ติด เชื้อ, โรคปริทันต์อักเสบ, อินซูลิน, น้ำตาลในเลือด, โรคเหงือก, โรครำมะนาด

 

ซึ่งในด้านการรักษาควรทำควบคู่กัน เพราะ ผู้ป่วยเบา หวาน ที่เป็นโรคปริทันต์อักเสบและได้รับการรักษาจะช่วยให้การใช้อินซูลินในการควบคุมระดับน้ำตาลลดลง และในผู้ป่วยเบา หวาน ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในปริมาณที่ดี ความเสียงต่อการเป็นโรคปริทันต์อักเสบของผู้ป่วยเบา หวานนั้นก็จะไม่แตกต่างจากบุคคลทั่วไปที่ไม่เป็นโรคเบา หวานเลยเช่นกัน

ทั้งนี้ ผู้ป่วยโรคเบา หวาน ควรได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก และติดตามผลการรักษาอย่างสม่ำเสมอ หรือทุก ๆ 3 เดือน ซึ่งจะส่งผลให้มีสุขภาพช่องปากและสุขภาพร่างกายที่ดีอย่างไปพร้อมกัน

 

ข้อมูล : กรมการแพทย์


FIRSTER : 8.8 FIRSTER SUPER MOM

ลดสูงสุด 12% No Min
ลดสูงสุด 18% Min 5,000.-

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน
สถาปนาเขตพื้นที่คุ้มครองฯ ชาติพันธุ์ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว
ผบ.ตร.สั่งสอบคลิปแก๊งต่างด้าว แสดงพฤติกรรมเย้ยกม. กำชับคุมเข้ม ใช้ยาแรง

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น